การศึกษาเปรียบเทียบการเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยงของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) กับตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) และความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยงกับต้นทุนหนี้สิน

Main Article Content

นิตติกร สุวรรณศิลป์
ธนัชพร แก้วทอง
นวลอนงค์ แก้วสายทอง
นันทวดี ลดาพรหมทอง
สุภาพร เกาะเต้น
มัทนชัย สุทธิพันธุ์

Abstract

 


The objectives of this study were (1) to investigate the extent and level of risk disclosures and (2) to test the relationship between risk disclosures and cost of debt of 77 companies listed on the Stock Exchange of Thailand (SET) and 89 companies listed on the Market for Alternative Investment (mai).   Among the samples, only 107 companies used the Big Four audit firms. A checklist was employed to quantify the risk disclosures in the 2016 annual reports. Descriptive analysis, a t-test, and multiple regression were used to analyze the data. This study found that the overall level of risk disclosures is low. The average overall risk disclosure by those listed on the SET was statistically significantly higher than those on mai. The differences in the level of risk disclosures were prominent in operational, information processing and technology, and strategic risk disclosures, but were not found in financial, empowerment, and integrity risk disclosures. Moreover, the average overall risk disclosure by those using Big 4 audit firms was statistically significantly higher than those that did not. This study found that the overall level of risk disclosures is low. The average overall risk disclosure by those listed on the SET was statistically significantly higher than those on mai. The differences in the level of risk disclosures were prominent in operational, information processing and technology, and strategic risk disclosures, but were not found in financial, empowerment, and integrity risk disclosures. Moreover, the average overall risk disclosure by those using Big 4 audit firms was statistically significantly higher than those that did not.  In addition, the study found a significant positive relationship between empowerment, financial risk disclosures, and the cost of debt. No relationship was found between operational, information processing and technology, strategic and integrity risk disclosures, and cost of debt. 


 


บทคัดย่อ


งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลักในการศึกษา คือ (1) เพื่อศึกษาขอบเขตและระดับการเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยง และ (2) เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยงกับต้นทุนหนี้สินของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) จำนวน 77 บริษัท และบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) จำนวน 89 บริษัท ในกลุ่มนี้มี 107 บริษัทใช้บริการผู้สอบบัญชีในกลุ่ม Big4 ส่วน 59 บริษัทใช้บริการผู้สอบบัญชีนอกกลุ่ม Big4 การศึกษาใช้แบบประเมินผลในการเก็บข้อมูลการเปิดเผยความเสี่ยงในรายงานประจำปี พ.ศ. 2559 การวิเคราะห์ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัย คือ การวิเคราะห์เชิงพรรณนา การทดสอบที และการวิเคราะห์การถดถอยพหุ ผลการศึกษาพบระดับการเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยงในภาพรวมอยู่ในระดับต่ำ โดยบริษัทใน SET มีการเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยงรวมโดยเฉลี่ยสูงกว่าบริษัทใน mai อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีการเปิดเผยความเสี่ยงต่างกันในด้านการดำเนินงาน ด้านการประมวลผลข้อมูลและเทคโนโลยี และด้านกลยุทธ์ แต่ไม่พบความแตกต่างกันในด้านการเงิน ด้านการมอบอำนาจ และด้านความซื่อสัตย์ และยังพบว่าบริษัทที่ใช้บริการผู้สอบบัญชีในกลุ่ม Big4 มีการเปิดเผยความเสี่ยงโดยรวมมากกว่าบริษัทที่ใช้บริการผู้สอบบัญชีนอกกลุ่ม Big4 นอกจากนี้ ยังพบความสัมพันธ์เชิงบวกระหว่างการเปิดเผยความเสี่ยงด้านการมอบอำนาจและด้านการเงินกับต้นทุนหนี้สินอย่างมีนัยสำคัญ แต่ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดเผยความเสี่ยงด้านการดำเนินงาน ด้านการประมวลผลข้อมูลและเทคโนโลยี ด้านกลยุทธ์ และด้านความซื่อสัตย์ กับต้นทุนหนี้สินอย่างมีนัยสำคัญ

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)

References

กานดา แตะกระโทก. (2548). การเปิดเผยข้อมูลในงบการเงินตามมาตรฐานบัญชี ฉบับที่ 35 ของบริษัทที่มีการจัดการดีเด่นประจำปี 2545-2546 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, กรุงเทพฯ.

โชติญาณ์ หิตะพงศ์. (2549). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะของบริษัท กับระดับของการเปิดเผยข้อมูลใน “บทรายงานและการวิเคราะห์ของฝ่ายบริหาร” ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2555). หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี สำหรับบริษัทจดทะเบียน ปี 2555. จาก https://www.set.or.th/sustainable_dev/th/cg/files/2013/CGPrinciple2012Thai-Eng.pdf

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2561). ความแตกต่างระหว่างตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(SET)และตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ(mai). จาก https://www.set.or.th/th/faqs/listing_p1.html

ณัฐวรรณ ศิริธานันท์, และ จินดา ขันทอง. (2550). ปัจจัยที่มีผลต่อระดับการเปิดเผยข้อมูลของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารเกษตรศาสตร์ธุรกิจประยุกต์, 1(1), 9-16.

ธนเกียรติ พรพิพัฒน์พงศ์. (2549). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพการเปิดเผยความเสี่ยงของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2555). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS (พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพฯ: บิสซิเนสอาร์ แอนด์ ดี.

บุญหลาย จัตุรัส. (2556). การศึกษาหลักเกณฑ์ในการพิจารณาสินเชื่อและความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่วิเคราะห์สินเชื่อเพื่อธุรกิจ SMEs ของธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) และธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล. วารสารวิชาการและวิจัย มทร.พระนคร ฉบับพิเศษ. การประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ครั้งที่ 5, (หน้า 91-99).

ปิยะมาศ ม่วงเปลี่ยน, และ ชนงกรณ์ กุณฑลบุตร (2558). การบริหารความเสี่ยงด้านสินเชื่อเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของธนาคารออมสิน ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารวิชาการ RMUTT Global Business and Economics Review, 10(2), 153-170.

สายสุนีย์ อโนมาศ. (2554). การเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยงในรายงานประจำปีของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกลุ่ม SET-100 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

Abdel-Azim, M. H., & Abdelmoniem, Z. (2015). Risk management and disclosure and their impact on firm value: The case of Egypt. International Journal of Business, Accounting, and Finance, 9(1), 1-14.

Abraham, S., & Cox, P. (2007). Analysing the determinants of narrative risk information in UK FTSE 100 annual reports. The British Accounting Review, 39(3), 227-248.

Adamu, M. U. (2013). Risk reporting: A study of risk disclosures in the annual reports of listed companies in Nigeria. Research Journal of Finance and Accounting, 4(16), 140-147.

Ali, & Taylor. (2014). Content analysis of corporate risk disclosure in Malaysia. 4th Annual International Conference on Accounting and Finance. Thailand.

Azeddin, T. T. A. (2017). The effect of financial risk on the cost of capital. International Journal of Management and Commerce Innovations, 5(1), 532-543.

Botosan, C. (1997). Disclosure level and the cost of equity capital. Accounting Review, 72(3), 323-349.

Botosan, C., & Plumlee, M. A. (2002). A re-examination of disclosure level and expected cost of equity capital. Journal of Accounting Research, 40(1), 21-40.

Bozec, Y., & Bozec, R. (2011). Corporate governance quality and the cost of capital. International Journal of Corporate Governance, 2(3/4), 217-236.

Cabedo, S. D., & Tirado, B. M. (2014). Risk disclosure and cost of equity: The Spanish case. Contaduría y administración (Accounting and Management), 59(4), 105-135.

DeFond, M. L., & Jiambalvo, J. (1991). Incidence and circumstances of accounting errors. The Accounting Review, 66(3), 643-655.

Diamond, D. W., & Verrecchia, R. E. (1991). Disclosure, liquidity, and the cost of capital. The Journal of Finance, 46(4), 1325-1359.

Fama, E. F., & French, K. R. (1992). The cross-section of expected stock returns. The Journal of Finance, 47(2), 427-468.

Francis, J., Khurana, I. K., & Pereira, R. (2005). Disclosure incentives and effects on cost of capital around the world. The Accounting Review, 80(4), 1125-1162.

Freeman, R. E. (1984). Strategic management: A stakeholder approach. MA: Pitman.

Gietzmann, M., & Trombetta, M. (2003). Disclosure interactions: Accounting policy choice and voluntary disclosure effects on the cost of raising capital. Accounting and Business Research, 33(3), 187-205.

Guo, H. (2003). Quantitative market risk disclosure, bond default risk and the cost of debt: Why value at risk? Working Paper, Baruch College.

Limpabandh, P., & Issarawornrawanich, P. (2016). The association of board’s characteristics in terms of audit committee to cost of capital: Empirical evidence from Thailand. Journal of Accounting Profession, 12(33), 64-80.

Linsley, P. M., & Shrives, P. J. (2006). Risk reporting: A study of risk disclosure in the annual report of UK companies. The British Accounting Review, 38(4), 387-404.

Mohobbot, A. M. (2005). Corporate risk reporting practices in annual reports of Japanese companies. Journal of Japanese Association for International Accounting Studies. 113-133.

Nahar, S., & Azim, M. (2016). Risk disclosure, cost of capital and bank performance. International Journal of Accounting & Information Management, 24(4), 476-494.

Richardson, A., & Welker, M. (2001). Social disclosures, financial disclosures and the cost of equity capital. Accounting, Organizations and Society, 26(7 & 8), 597-616.

Sengupta, P. (1998). Corporate disclosure quality and the cost of debt. Accounting review, 73(4), 459-474.