กรอบคิดงอกงามของครูในการพัฒนาผู้เรียน: การศึกษาเชิงปรากฏการณ์วิทยา การศึกษาเชิงปรากฏการณ์วิทยา

Main Article Content

กุสุมา ยกชู
พาสนา จุลรัตน์
นฤมล พระใหญ่
ภิญญาพันธ์ เพียซ้าย

Abstract

This research had two objectives: 1) to study the meaning and background of teachers’ growth mindset for learners’ development in a Thai social context and 2) to study teachers’ characteristics. Three different groups of people who are involved with the educational field were targeted: 1) teachers with formal education, 2) teachers with informal education, and 3) teacher trainers. The data was collected from 10 key informants by the use of in-depth interviews and analyzed along with content analysis and triangulation techniques. The research revealed the meaning and seven characteristics as follows: 1) the belief that a teacher’s intelligence and competency can be developed, 2) self-understanding and self-acceptance, 3) problem-solving with creativity, 4) a teacher’s personality, 5) identifying learner-based goals 6) the belief that a leaner’s intelligence and competency can be developed, and 7) the belief in human value.


บทคัดย่อ


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ข้อ คือ 1) เพื่อศึกษาคำจำกัดความและที่มาของกรอบคิดงอกงามในการพัฒนาผู้เรียนในบริบทสังคมไทย และ 2) เพื่อศึกษาคุณลักษณะของครูที่มีกรอบคิดงอกงามในการพัฒนาผู้เรียน ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพเป็นหลัก และใช้กระบวนการศึกษาแบบปรากฏการณ์วิทยา กลุ่มเป้าหมาย คือ บุคคลที่เกี่ยวข้องกับวงการการศึกษา 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มครูที่จัดการศึกษาในระบบ 2) กลุ่มครูที่จัดการศึกษานอกระบบ และ 3) กลุ่มผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการผลิตและพัฒนาครู โดยเก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 10 คน ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกและมีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาจากการสัมภาษณ์ และใช้การตรวจสอบแบบสามเส้า ผลการวิจัยแสดงให้เห็นถึงความหมายและคุณลักษณะของครูผู้มีกรอบคิดงอกงามในการพัฒนาผู้เรียนในบริบทสังคมไทย 7 คุณลักษณะ ได้แก่ 1) ความเชื่อในศักยภาพทางปัญญาและความสามารถของครูว่าพัฒนาได้ 2) การเข้าใจและยอมรับในตนเอง 3) การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ 4) บุคลิกภาพความเป็นครู 5) การกำหนดเป้าหมายเพื่อผู้เรียน 6) ความเชื่อในศักยภาพทางปัญญาและความสามารถของผู้เรียนว่าพัฒนาได้ และ 7) ความเชื่อในคุณค่าของมนุษย์

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)

References

ชาย โพสิตา. (2554). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

ธนา นิลชัยโกวิทย์, และ อดิสร จันทรสุข. (2559). ศิลปะกระบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง: คู่มือกระบวนกรจิตปัญญาศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2). นครปฐม: โครงการผู้นำแห่งอนาคต คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ธนดี สุริยะจันทร์หอม. (2561). ผลการใช้รูปแบบ SPASA เพื่อเสริมสร้างโกรว์ธ มายด์เซต สำหรับนักศึกษาหลักสูตรวิชาชีพครู. วารสารราชพฤกษ์, 16(3), 56-63.

พัชรา พุ่มพชาติ. (2552). การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์แก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.

มิลินทรา กวินกมลโรจน์. (2557). การวิจัยและพัฒนากระบวนการชี้แนะที่อิงทฤษฎีการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงเพื่อปรับชุดความคิดด้านการจัดการเรียนการสอนของครูประถมศึกษา (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

เรืองวิทย์ นนทภา. (2559). คุณลักษณะที่ผู้เรียนประทับใจ: ต้นแบบของครูดี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น, 10(2), 142-153.

วิเชียร ไชยบัง. (2561). จิตศึกษาพัฒนาปัญญาภายใน (พิมพ์ครั้งที่ 5). บุรีรัมย์: โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา.

สุขวสา ยอดกมล. (2551). เกี่ยวกับสิ่งที่ครูควรรู้. กรุงเทพฯ: ภาควิชาหลักสูตรและการสอน สาขาการมัธยมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สุชีรา วิบูลย์สุข, และ นิตยาภรณ์ บุญสวัสดิ์. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนักศึกษาแพทย์ระดับชั้นปรีคลินิก. เวชบันทึกศิริราช, 8(2), 70-76.

สุรวิทย์ อัสสพันธุ์. (2556). ผลของโครงสร้างเป้าหมาย ความเชื่อเกี่ยวกับความฉลาด และความมั่นใจในความฉลาดของตนเองที่มีต่อเป้าหมายเชิงสัมฤทธิ์และความมุ่งมั่นในการเรียนรู้เชิงพฤติกรรมของนิสิตนักศึกษาในระดับปริญญาตรีสาขาครุศาสตร์ศึกษาศาสตร์ (ปริญญานิพนธ์วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

เอื้อมพร หลินเจริญ. (2554). การวิเคราะห์และนำเสนอผลในงานวิจัยเชิงคุณภาพ. จาก http://www.edu.tsu.ac.th/major/eva/files/journal/DataAnalysis.pdf

Diekelman, N., Allen, D., & Taner, C. (1989). The NLN’s criteria for appraisal of baccalaureate programs: A critical bermeneulic analysis. New York: National League for Nursing.

Dweck, C. S. (1999). Self-theories: Their role in motivation, personality, and development. New York: Psychology Press.

__________ (2006). Mindset: The new psychology of success. New York: RandomHouse.

Gutshall, C. A. (2013). Teachers’ mindsets for students with and without disabilities. Psychology in the Schools, 50(10), 1073-1083.

Isaksen, S. G., & Treffinger, D. J. (2004). Celebrating 50 years of reflection practice: Versions of Creative problem solving. Journal of Creative Behavior, 38(2), 75-101.

Mercer, S., & Ryan, S. (2009). A mindset for EFL: Learners’ beliefs about the role of natural talent. ELT Journal, 64(4), 436–444.

Mezirow, J. (2000). Learning to think like an adult: Core concepts of transformation theory. In J. Mezirow & Associates (Eds.), Learning as transformation (pp. 3-33). San Francisco, CA: Jossey-Bass.

Rheinberg, F. (2001, April). Teachers reference-norm orientation and student motivation for learning. In AERA Conference. Michigan State University, Seattle.