การแก้ไขข้อผิดพลาดทางบัญชี เพื่อสะท้อนสภาพที่แท้จริงของกิจการ

Main Article Content

นิตติกร สุวรรณศิลป์
พจนีย์ ดวงปัญญา
วิญชัย อุ่นอดิเรกกุล
สิทธิ์ชัย ลิมาพร
อรอนงค์ สัตยารักษ์

Abstract

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายการแก้ไขข้อผิดพลาดทางบัญชี ตามมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 8 (ปรับปรุง 2558) เรื่อง นโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีและข้อผิดพลาด เพื่อให้งบการเงิน สะท้อนสภาพที่แท้จริงของกิจการ โดยที่สาเหตุของข้อผิดพลาดนั้นอาจจะมาจากความซับซ้อนทางธุรกิจที่มีมากขึ้น มาตรฐานการบัญชีมีการเปลี่ยนแปลง หรือการจัดทำงบการเงินเพื่อวัตถุประสงค์ที่หลากหลาย โดยความผิดพลาด ที่เกิดขึ้นนั้นสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกหมวดบัญชีไม่ว่าจะเป็นสินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนของเจ้าของ รายได้และค่าใช้จ่าย แต่บทความนี้จะกล่าวเฉพาะการแก้ไขข้อผิดพลาดของหมวดบัญชีสินทรัพย์ โดยยกตัวอย่างรายการที่เกิดขึ้นจริง ที่เกี่ยวข้องกับหมวดบัญชีสินทรัพย์ที่มีโอกาสจะเกิดข้อผิดพลาดได้ ประกอบด้วยรายการ เงินสด ลูกหนี้การค้า ลูกหนี้เงินให้กู้ยืมกรรมการ สินค้าคงเหลือ และสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน สำหรับหมวดบัญชีหนี้สินและส่วนของ เจ้าของ จะมีการกล่าวถึงในบทความครั้งต่อไป ทั้งนี้ในปี 2559 กิจการมีความสนใจในการแก้ไขข้อผิดพลาดทาง บัญชีมากขึ้น เนื่องมาจากนโยบายมาตรการบัญชีชุดเดียวของกรมสรรพากร ที่ให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่กิจการ ที่เข้าร่วมโครงการนี้ แต่ต้องเป็นกิจการที่เข้าเงื่อนไขตามคุณสมบัติที่กำหนดไว้

 

Error Correction in Accounting to Reflect the True State of Business

This article aims to explain error correction in accounting according to TAS 8 (revised 2558) accounting policies, changes in accounting estimates and errors in order to make financial statements reflect the true state of business. The cause of the errors may result from a business that is too complex, accounting standards that change frequently, or the preparation of financial statements that has a variety of purposes. These errors can occur on all accounts covering assets, liability, equity, revenue, and expenses. This article discusses only the errors of the assets. It shows an example of actual transactions relating to the assets that are likely to be wrong as often consisting of cash, accounts receivable, current loans to shareholders, inventory and non-current asset. Other accounting categories will be discussed further in the next article. By 2016, businesses have more interest in accounting’s error correction since a “Single Account Policy” of the Revenue Department provides tax incentives to the businesses participated in this program; however, these businesses have to be qualified in the Revenue Department’s requirements.

Article Details

Section
บทความวิชาการ (Academic Article)