การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการป่าชุมชน: กรณีศึกษาป่าชุมชน โคกกระโหล่งโป่งแดง ตำบลหนองเรือ อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม

Main Article Content

ธีรวงศ์ เหล่าสุวรรณ
ญาณวุฒิ อุทรักษ์
ธนัทเดช โรจนกุศล
ณัชชา เหล่าสุวรรณ
สิริธร ดำรงสุกิจ
กนกอร พัดทะอำพัน

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพป่า ระบบนิเวศของป่า ความหลากหลายทางชีวภาพของป่า ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับป่า และการใช้ประโยชน์จากป่า และ 2) พัฒนาแนวทางการจัดการป่าโดยการมีส่วนร่วม ของชุมชนท้องถิ่น การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและวิธีการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research: PAR) ในพื้นที่ศึกษาป่าชุมชนโคกกระโหล่งโป่งแดง อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม วิธีการ วิจัยประกอบด้วยการสัมภาษณ์ การสำรวจ การสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสนทนากลุ่ม และการจัดเวทีชุมชน รวมถึง การสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพของพืชและสัตว์ โดยกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมในการวิจัยประกอบด้วยกลุ่ม ผู้นำชุมชน ทั้งผู้นำทางการและผู้นำทางธรรมชาติ เจ้าหน้าที่สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (สปก.) คณะกรรมการป่าชุมชน ราษฎรทั่วไป ผู้ใช้ประโยชน์จากป่าชุมชน ครูและนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองปอ ผลการ ศึกษาพบว่า 1) ชุมชนโดยรอบมีการพึ่งพิงใช้ประโยชน์จากป่าชุมชนทั้งทางตรงและทางอ้อม ได้แก่ ใช้เป็นแหล่ง อาหาร สมุนไพร ไม้ใช้สอยสำหรับก่อสร้าง แหล่งพลังงาน และประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อ อีกทั้งยังเป็นแหล่ง เรียนรู้ทางธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ 2) องค์ความรู้การจัดการป่าชุมชนโคกกระโหล่งโป่งแดงเกิด ขึ้นจากจิตสำนึกของคนในชุมชนที่ต้องเผชิญปัญหาและได้ร่วมกันแก้ไข จึงทำให้เกิดความร่วมมือร่วมใจในการ รักษาป่าและแสวงหาแนวทางฟื้นฟูดูแลทรัพยากรป่าไม้ ประกอบกับมีการสนับสนุนจากภาครัฐทั้งด้านวิชาการและ งบประมาณ ทำให้เกิดกระบวนการเรียนรู้และการมีส่วนร่วมในการจัดการป่าชุมชน

 

Public Participation in the Management of Community Forests: A Case Study on Community Forests at Koke Kralong Pong Dang, Nong Reua, Na Chuak, Maha Sarakham

The research objectives are of the followings: 1) to study the ecological system of the forest, forest diversity, relationships between people and the forest, and the utilization of the forest; 2) to develop the forest management guidelines, conservation, and reforestation with involvement of the communities. The researchers adopted Participatory Action Research: the PAR technique in a selected study area located in Kok Kalong Pong Dang Community Forest, Na-Chuak District, Mahasarakham Province. The research tools used are composed of the survey technique with participation of the community, group discussions and community meetings. Researchers also conducted a field study of the diversity of plants and animals. The stakeholders of this research are comprised of local community leaders, including formal and informal leaders; personnel of Land Reformation for Agriculture of Thailand; the Community Forest Committee; villagers; beneficiaries from the forests; and 50 teachers and students from Nong Por School. The study provided these facts: 1) surrounding communities directly or indirectly benefited from the community forest; for example, as a food sources, sources of traditional medicine, for construction, for energy resources and for practicing of traditional beliefs. In addition, the community forest is also an “open classroom” for nature studies and bio-diversity; 2) holistic knowledge management has risen up from consciousness of the community members at a time that they are confronted with the problems and a need to find successful solutions. These solutions are driven to find a way to work hand in hand to tackle problems of forest conservation and to find solutions for forest and natural resources restoration. In addition, with support from government offices in terms of knowledge and budget, knowledge learning has started and thus brings about the people’s involvement in the management of community forests.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)