การศึกษาค่าความเชื่อมั่นของคะแนนแบบทดสอบอัตนัยวิชาคณิตศาสตร์ของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีจำนวนผู้ตรวจและรูปแบบการตรวจให้คะแนน ต่างกัน โดยใช้ทฤษฎีการสรุปอ้างอิง

Main Article Content

จิรายุ เถาว์โท
อนุ เจริญวงศ์ระยับ
ปัณณวิชญ์ ใบกุหลาบ

Abstract

การวิจัยในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาขนาดขององค์ประกอบความแปรปรวนและเปรียบเทียบค่าความ
เชื่อมั่นของคะแนนแบบทดสอบอัตนัยวิชาคณิตศาสตร์ที่มีจำนวนผู้ตรวจต่างกัน คือ 4 คน 3 คน และ 2 คน และมี รูปแบบการตรวจให้คะแนน 3 รูปแบบ คือ ตรวจข้อสอบทุกข้อของผู้สอบทุกคน ตรวจข้อสอบทุกข้อของผู้สอบบางคน และตรวจข้อสอบบางข้อของผู้สอบทุกคน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสลกบาตรวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 41 จำนวน 60 คน ซึ่งได้จากการสุ่ม แบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบทดสอบอัตนัยวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ ตามหลักสูตร การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 จำนวน 12 ข้อ ผลการวิจัยสรุปได้ว่า
1. ค่าความแปรปรวนในทุกเงื่อนไขจำนวนผู้ตรวจและรูปแบบการตรวจให้คะแนน
ความแปรปรวนของ ผู้สอบมีค่ามากที่สุด รองลงมาคือ ความแปรปรวนของข้อสอบ และความแปรปรวนของผู้ตรวจมีค่าน้อยที่สุด
2. ค่าความเชื่อมั่นที่มีจำนวนผู้ตรวจให้คะแนนต่างกัน เมื่อรูปแบบการตรวจให้คะแนนเหมือนกัน
มีค่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ยกเว้น การตรวจข้อสอบทุกข้อของผู้สอบบางคน
และตรวจข้อสอบบางข้อของผู้สอบทุกคน เมื่อใช้จำนวนผู้ตรวจ 3 คน กับ 2 คน มีค่าความเชื่อมั่นไม่ต่างกัน
3. ค่าความเชื่อมั่นที่มีรูปแบบการตรวจให้คะแนนต่างกันเมื่อจำนวนผู้ตรวจเท่ากันมีค่าความเชื่อมั่น
แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

 

A Study of the Reliability of Mathematics Essay Test Score for Matayomsuksa 2 Students: the Different Number of Raters and Scoring Patterns Using Generalizability Theory

The purpose of this research was to study the size of the variance components and compare the reliability of Mathematics essay test scores from different numbers of raters (4, 3, and 2 raters) by the use of
three scoring patterns. The scoring patterns were done by the raters’ rating of: 1) all items of all students, 2) all items of some students, and 3) some items of all students. The samples, chosen by a multi–stage random
sampling, were 60 Mattayomsuksa 2 Students of Salokbatvitaya school administered by the office of Secondary Education Area 41. The research tool was 12-items of Mathematics essay test whose key contents about ratios and percentage were based on the 2008 basic education curriculum.
The results of the study were as follows:
1) the maximum value of the variance in all conditions, different numbers of raters and scoring patterns, was in the examinees, the items, and the raters respectively.
2) different numbers of the raters, 2 and 3, had a significant difference to the reliability value at 0.01 level with the same scoring patterns used by the raters. However, different scoring patterns, rating all test items
of some students of rating some test items of all students, showed no significance.
3) The reliability, with different scoring patterns and the same numbers of  raters, was significantly different at 0.01 level.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)