การจัดกระบวนการเรียนรู้แบบโฮมสคูล: กรณีศึกษาครอบครัวในภาคใต้

Main Article Content

รุจนี เอ้งฉ้วน
เอกรินทร์ สังข์ทอง
ธีร หฤทัยธนาสันติ์

Abstract

การวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดกระบวนการเรียนรู้ของผู้จัดการศึกษาโดยครอบครัว จาก 4 กรณีศึกษาในภาคใต้ของประเทศไทย ผู้เข้าร่วมงานวิจัย คือ ครอบครัวที่จัดการศึกษาโดยครอบครัวระดับ ประถมศึกษา จำนวน 4 ครอบครัว ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง ส่วนผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือ ผู้ปกครอง ผู้เรียน และครูผู้สอน จำนวน 24 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยในการจัดกระบวนการเรียนรู้ พบว่า หลักสูตรที่ครอบครัวเลือกใช้แบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และหลักสูตรโฮมสคูลของต่างประเทศ เป็นการปรับใช้แบบบูรณาการให้สอดคล้องกับความสนใจของผู้เรียน รวมถึงแนวคิดและวิถีชีวิตของครอบครัว ส่วนรูปแบบการจัดการเรียนการสอนสามารถแบ่งออกได้ 2 แบบ ได้แก่ การจัดการศึกษาตามกลุ่มสาระร่วมกับแบบกลุ่มประสบการณ์และการจัดการศึกษาแบบกลุ่มประสบการณ์ ทุก ครอบครัวมีการจัดการศึกษาแบบกลุ่มประสบการณ์ร่วมด้วย ต่างกันที่เทคนิคและสัดส่วนในการจัดการศึกษาของ แต่ละครอบครัว รวมถึงการที่ครอบครัวต้องเรียนรู้ไปพร้อมกับผู้เรียนอยู่เสมอ และแต่ละขั้นตอนสามารถปรับ เปลี่ยนได้อย่างยืดหยุ่น นอกจากนี้ ครอบครัวใช้สื่อและแหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกบ้านอย่างคุ้มค่า เหมาะ กับวัยและความต้องการของผู้เรียน โดยพ่อและแม่ถือเป็นสื่อที่สำคัญที่สุดในทุกครอบครัว ส่วนการประเมินผลการ เรียนรู้ ครอบครัวเน้นการประเมินตามสภาพจริงบนพื้นฐานความเข้าใจที่ตรงกันของครอบครัวและผู้มีส่วน เกี่ยวข้องทุกฝ่าย

 

Home Schooling’s Learning Process Management: A Case Study of Families in the South

The objective of this qualitative research was to investigate home schooling’s learning process management organized by home schooling families in the South. Participants were four home schooling families at a basic education recruited by using the purposive sampling. Twenty-four key informants of this study were guardians, homeschoolers and teachers. The data were analyzed by using content analysis. The findings revealed that the families chose 2 types of curriculum; the Basic Education Curriculum 2001 and international curriculum of home schooling corresponding students’ interest and families’ concept and lifestyle. Next, Families showed 2 types of learning and instructional method; mixed method of eight subjects group and experience based learning, and experienced based learning. Four Home Schooling families similarly applied the experience based learning but slightly different in techniques and proportion in educational management of each family. In addition, the family must be an active learner with the students at the same time and each learning process can flexibly be adapted. Families worthily used both internal and external media and leaning resources based on student’s age and needs. Parents were counted as the most important learning resource in all families. Lastly, the families emphasized authentic assessment based on mutual understanding of family members and all parties in charge.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)