ความคับแคบของนิยามและการแบ่งประเภทของวรรณกรรมไทยที่มีต่อวรรณกรรมภาษาชนกลุ่มน้อย

Main Article Content

ทัศน์ธนิต ทองแดง

Abstract

บทความนี้ มุ่งวิเคราะห์ถึงปัญหา และสาเหตุ ของความคับแคบในการนิยาม และการแบ่งประเภทของวรรณกรรม ไทย ที่มีต่อวรรณกรรมของภาษาชนกลุ่มน้อยในไทย ตลอดจนค้นหาความเป็นไปได้ ในการขยายขอบเขตการให้ นิยาม และการแบ่งประเภท เพื่อสะท้อนถึงความเป็นสังคมพหุวัฒนธรรม พหุชาติพันธุ์ ตามความเป็นจริงของ สังคมไทย จากการศึกษาพบว่า 1) ปัญหาเริ่มต้นจากการแบ่งแยกกันเองในพื้นที่งานประพันธ์ภาษาไทย โดยการใช้ คุณค่าความแต่งดี ซึ่งมีลักษณะนามธรรมและเป็นอัตภาววิสัย มาเป็นตัวแบ่งแยก งานประพันธ์ที่แต่งดีถือเป็น วรรณคดี ส่วนวรรณกรรมทั่วไปถือว่าเป็นเพียงวรรณกรรม 2) ภาษาชนกลุ่มน้อยในไทย ยังไม่เคยได้รับการพิจารณา ใช้เป็นเกณฑ์การแบ่งประเภทของวรรณกรรมไทย แม้ว่าภาษานั้นจะใช้สื่อสารโดยกลุ่มคนต่าง ๆ ในสังคมไทยมา อย่างยาวนาน 3) นโยบายเชื้อชาตินิยมของรัฐไทยในอดีต ที่เน้นยกย่องชนชาติไทยและวัฒนธรรมหลวง ขึ้นเป็น วัฒนธรรมประจำชาติ และใช้ภาษาไทยเป็นตัวกำหนดความเป็นชาติไทย นับเป็นสาเหตุสำคัญ ที่ผลักวรรณกรรม ภาษาชนกลุ่มน้อย ออกจากกรอบนิยามและการแบ่งประเภทของวรรณกรรมไทย ในขณะเดียวกัน ก็ทำให้การ สร้างสรรค์วรรณกรรมภาษาชนกลุ่มน้อยได้รับผลกระทบไปด้วย แต่เนื่องจากอิทธิพลของชนชาติที่ใช้ภาษาร่วม กับชนกลุ่มน้อยในไทย โดยเฉพาะชนชาติจีน ทวีความสำคัญขึ้นต่อประเทศไทย ทำให้เกิดแนวโน้มการรวม วรรณกรรมภาษาชนกลุ่มน้อยให้เป็นส่วนหนึ่งของวรรณกรรมไทย โดยเรียกวรรณกรรมประเภทนี้ว่า วรรณกรรม ไทยพากย์จีนหรือวรรณกรรมไทยพากย์ภาษาอื่น ๆ

 

A Narrowness of Definition and Classifying of Thai Literature toward Minority Languages Literature

This study aimed to analyze problems and causes of narrowness of definition and classification of Thai literature toward minority language literatures in Thailand as well as sought possibility to expand its definition and classification in order to represent multi-culture, multi-ethnic society of Thailand. The study found that 1) the problem occurred within Thai language literatures classified by “well-composing” as an abstract and subjectivity of the works. The well-composing literature works were called “Wannakadee” and the common literature works “Wannakam”. 2) Never been considered for the classification, the minority language works have been regularly communicated among Thai society for ages. 3) Former racism policy of Thai government promoting Thainess based on Thai race, royal culture, as well as Thai language was the main cause not only pushing minority language literatures out of the definition and classification, but affecting their literacy creation. However, ethnics using co-languages with of minorities, especially Chinese, rapidly growing up in Thailand, have brought a tendency to compile the minorities’ literatures as part of Thai literatures called “Thai literature in Chinese” or Thai literature in other languages.

Article Details

Section
บทความวิชาการ (Academic Article)