ความรู้ความสามารถของครอบครัวในการดูแลผู้สูงอายุหลังผ่าตัดต้อกระจก

Main Article Content

จิรัชยา เจียวก๊ก
สุภาวี หมัดอะด้ำ
เขมริฐศา เข็มมะลวน

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ เพื่อศึกษาระดับความรู้ ความสามารถของครอบครัวในการดูแลผู้สูงอายุหลัง ผ่าตัดต้อกระจก กลุ่มตัวอย่างเป็น ผู้ดูแลผู้สูงอายุของครอบครัวที่บรรลุนิติภาวะของครอบครัวผู้สูงอายุ ทั้งหญิง และชาย ที่ได้รับการผ่าตัดต้อกระจก ที่รับการรักษา ณ หอผู้ป่วยตา โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ จำนวน 62 คน ในช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามความรู้ ความสามารถของครอบครัว ในการดูแลผู้สูงอายุหลังผ่าตัดต้อกระจก ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน วิเคราะห์ ความเที่ยงโดยสูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคมีค่าเท่ากับ .746 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติหาค่าร้อยละ

ผลการวิจัย พบว่า ผู้ดูแลผู้สูงอายุหลังผ่าตัดต้อกระจก ณ หอผู้ป่วยตา โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ มี ความรู้ ในการดูแลผู้สูงอายุหลังผ่าตัดต้อกระจก อย่างถูกต้อง ร้อยละ 97.14 ซึ่งเข้าใจว่า มองเห็นภาพบิดเบี้ยวหรือ เหมือนมีอะไรบางอย่างลอยไปมาในตา เป็นอาการปกติสามารถรอพบแพทย์ให้ถึงวันนัดได้ ร้อยละ 12.90 รองลง มา เข้าใจว่า หากไม่มีอาการผิดปกติ ไม่จำเป็นต้องมาพบแพทย์ทุกครั้งที่แพทย์นัด ร้อยละ 9.68 และมีความสามารถ ในการดูแลผู้สูงอายุหลังผ่าตัดต้อกระจกอยู่ในระดับดีมาก ร้อยละ 76.88 ดังนั้น พยาบาลวิชาชีพควรให้ญาติเรียนรู้ ผ่านสื่อวิดีโอประกอบการสาธิตโดยพยาบาลวิชาชีพที่เตียง พร้อมทั้งแจกเอกสาร ให้สาธิตย้อนกลับ ทำให้ผู้ป่วย และญาติมีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติดูแลผู้สูงอายุหลังผ่าตัดต้อกระจกได้ถูกต้อง

 

Family Competency in Postoperative Care of Senile Cataracts Patients

This study is a survey research aimed at investigating family competency in post-operative care of senile cataract patients who were treated in the Eyes Unit at Songklanagarind Hospital. The sample used in this study was 62 patients’ family representatives. The tool was questionnaire inquiring about the awareness of and competency to care for senile cataracts patients. Validity was evaluated by trace exports. The Cronbach’s alpha coefficient of the content validity was .746. The collected data were statistically analyzed in terms of averaging percentages.

The results of this studying reveals; firstly, 97.14% of familial caregivers they correctly knew how to care for elderly patients who received cataract surgery. Secondly, 12.90% of them understood that visible distortion or something like floating in the eye was normal which they are able to wait for a treatment appointment. Thirdly, 9.68% knew that if there was no post-operative issues, there was no need to see the doctor even when an appointment was already made. Finally, 76.88% of them have a very good-level ability to take care of the elderly patients after cataract surgery. Therefore, the caregivers of elderly patients after cataract surgery should learn through demonstration videos by nurses at hospital bed. Moreover, brochures or other educational documents on how to care properly care for patients should be distributed. This will give patients and relatives the capability to perform well to help assist the elderly patients.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)