ผลของการสร้างกระบวนการเรียนรู้ต่อการพัฒนาการดำเนินงานด้านอนามัย สิ่งแวดล้อมขององค์การบริหารส่วนตำบล

Main Article Content

โสมศิริ เดชารัตน์

Abstract

การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลการดำเนินงานด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม และวัดผลของการสร้างกระบวนการเรียนรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม ต่อความรู้ของบุคลากร และ ผู้ที่รับผิดชอบงานด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม ที่ทำงานในองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) โดยใช้แบบสอบถาม ซึ่งผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงของเนื้อหา และปรับปรุงเนื้อหาที่แนะนำโดยผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้อง ในกลุ่มเป้าหมายที่รับผิดชอบงานด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม จำนวน 129 คน จาก อบต. จำนวน 43 แห่ง ข้อมูลถูกรวบรวมระหว่างเดือน ตุลาคม พ.ศ. 2555 - กันยายน พ.ศ. 2556 ผลการวิจัย พบว่า การให้ความรู้ด้านงานอนามัยสิ่งแวดล้อม ส่งผลให้การดำเนินงานอนามัยสิ่งแวดล้อม หลัง การสร้างกระบวนการเรียนรู้ของบุคลากรที่รับผิดชอบงานอนามัยสิ่งแวดล้อมของ อบต. มีการเปลี่ยนแปลงไป ในทิศทางที่พัฒนาขึ้น ได้แก่ การผลิตน้ำประปาเพื่อใช้ในการอุปโภค-บริโภค และด้านการควบคุม-แมลงพาหะ นำโรค โดยพัฒนาจากระดับเหมาะสมน้อย เป็นระดับเหมาะสมปานกลาง และพบว่า หลังเข้าร่วมกระบวนการ เรียนรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมของบุคลากรจำนวน 129 คน มีคะแนนเฉลี่ย 32.2 ± 3.2 สูงกว่าคะแนนก่อนเข้าร่วม กระบวนการเรียนรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมเฉลี่ย 22.1± 2.9 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05)

 

The Effects of the Learning Process Initiation on the Improvement of Environmental Health Works at the Tambon Administrative Organization 

This quasi-experimental research was aimed at studying the effects of the performance of the Tambon Administrative Organization (TAO) on environmental health aspects and to evaluate the outcome of the learning processes of the knowledge of personnel who work at TAO. Questionnaires were used as data gathering tool. The questionnaires were sent to 129 officers from 43 TAO offices. The data was collected from October 2012 to September 2013. Results showed that the knowledge of the environmental health of TAO employees, after the development of learning process, was found to increase in certain aspects including the production of the water supply and the control of disease vector insects. After the implementation of the learning processes the improvement of knowledge on environmental health aspects of participants was significantly higher than those in the pre-programe implementation. The average scores significantly increased from 22.1± 2.9 to 32.2 ± 3.2 (p < 0.05).

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)