การพัฒนาตัวบ่งชี้คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของครูภาษาอังกฤษระดับมัธยมศึกษาในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 16

Main Article Content

วรรณี อมตเวทย์
สุเทพ สันติวรานนท์
นวลพรรณ วรรณสุธี

Abstract

The objectives of this study were: 1) to develop indicators for desirable characteristics of English secondary teachers under the Secondary Educational Service Area, Office 16, for the development of English learning quality, and; 2) to examine the quality of the indicators. Five-point rating scale questionnaires of which overall internal reliability =.996 were administered to 304 secondary English teachers, the target group of the study. Teachers’ personal information and exploratory factors and confirmatory factors were analyzed. The finding, in accordance with the first objective of the study, was ninety-nine indicators were developed.

Analysis of five main exploratory factors showed sub-features, and the indicators were classified as follows: The factor for designing and developing curriculum comprised four sub-features and twenty-two indicators, namely: curriculum analysis skill, identifying curriculum objectives and curriculum content selection, curriculum evaluation, and background information analysis skill for curriculum design. Each of the sub-features consisted of seven, six, five, and four indicators, respectively. The factor for learning design abilities comprised six sub-features and thirty-two indicators, namely: learning activities and lesson plan design; providing learners with opportunities to participate in learning design and self-assess meant; knowing, understanding and realizing how to identify learning outcomes; identifying learning outcomes focusing on language analysis and language use; using suitable learning design; and identifying learning outcomes in a response to individual learner’s needs. Each of the sub-features consisted of twelve, five, four, six, and two indicators, respectively. The factor for child-centered learning management comprised four sub-features and twenty-six indicators, namely: using psychology for learning management and for the development of learners’ desirable characteristics; using a wide variety of teaching techniques in a response to English learning policy and individual learner needs to use English in a real situation; using a wide variety of teaching techniques and coordinating with learning networks; and designing data and information base for learning design. Each of the sub-features consisted of nine, seven, seven, and three indicators, respectively. The factor for using and developing learning media, innovation and technology for learning management comprised two sub-features, namely: designing and using learning resources to meet individual learner’s needs, and seeking and providing learners with learning media and resources. Each of the sub-features consisted of six and three indicators, with a consequence. The factor for learning outcome measurement and evaluation comprised three sub-features, namely: designing methods of measurement and evaluation, designing and using measurement and evaluation instruments, and using measurement and evaluation results for learning development. Each of the sub-features consisted of four, three, and three indicators. The results of the second objective derived from the qualitative indicators showed that the factors of a desired attribute indicator of the English teachers are consistent with the empirical data at the significance level of 0.05. These factors were created and developed after the model adjustment.

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาตัวบ่งชี้คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของครูภาษาอังกฤษระดับมัธยมศึกษาในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 16 ในการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษ และ 2) ตรวจสอบคุณภาพของตัวบ่งชี้คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของครูภาษาอังกฤษระดับมัธยมศึกษาในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 16 ในการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษ ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณ ค่า 5 ระดับ โดยมีค่าความเชื่อมั่นรายด้านตั้งแต่ .961 - .989 และมีค่า ความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .996 กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ครูภาษาอังกฤษระดับมัธยมศึกษาในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 16 ปี การศึกษา 2558 ในจังหวัดสงขลาและสตูล จำนวน 304 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานกับกลุ่มตัวอย่าง วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจและวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน

ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์การวิจัยข้อที่ 1 พบว่า การพัฒนาตัวบ่งชี้คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของครูภาษาองั กฤษระดบั มธั ยมศึกษาในสถานศึกษา สังกดั สำนักงานเขตพื้นทีก่ ารศึกษามธั ยมศกึ ษาเขต 16 ในการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษได้ตัวบ่งชี้ทั้งหมด 99 ตัว จากการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจทั้ง 5 องค์ประกอบหลักสามารถกำหนดองค์ประกอบย่อยและจัดกลุ่มตัวบ่งชี้ได้ดังนี้ 1) องค์ประกอบหลักด้านการสร้างและการพัฒนาหลักสูตร มี 4 องค์ประกอบย่อย 22 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ องค์ประกอบย่อยด้านการมีความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์หลักสูตร มี 7 ตัวบ่งชี้องค์ประกอบย่อยด้านการกำหนดจุดมุ่งหมายและคัดเลือกเนื้อหาสาระของหลักสูตร มี 6 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบย่อยด้านการประเมินการใช้หลักสูตร มี 5 ตัวบ่งชี้ และองค์ประกอบย่อยด้านการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานในการจัดทำหลักสูตรมี 4 ตัวบ่งชี้ 2) องค์ประกอบหลักด้านความรู้ความสามารถในการออกแบบการเรียนรู้ มี 6 องค์ประกอบย่อย 32 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ องค์ประกอบย่อยด้านการออกแบบกิจกรรมและการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้มี 12 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบยอ่ ยด้านการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนรว่ มในการออกแบบการเรียนรู้และประเมินตนเอง มี 5 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบย่อยด้านการมีความรู้ความเข้าใจ และตระหนักในการออกแบบการเรียนรู้ มี 4 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบย่อยด้านการกำหนดผลการเรียนรู้โดยเน้นการวิเคราะห์ภาษาและการนำภาษาไปใช้ มี 6 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบย่อยด้านการนำผลการออกแบบการเรียนรู้ไปใช้อย่างเหมาะสม มี 3 ตัวบ่งชี้ และองค์ประกอบย่อยด้านการกำหนดผลการเรียนรู้ที่สนองตอบต่อผู้เรียนเป็นรายบุคคลมี 2 ตัวบ่งชี้ 3) องค์ประกอบหลักด้านการจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญมี 4 องค์ประกอบย่อย 26 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ องค์ประกอบย่อยด้านการใช้จิตวิทยาในการจัดการเรียนรู้และการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน มี 9 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบย่อยด้านการใช้เทคนิคการเรียนการสอนอย่างหลากหลายที่สนองตอบต่อนโยบายและสภาพผู้เรียนโดยมุ่งเน้นที่การสื่อสารในสถานการณ์จริง มี 7 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบย่อยด้านการใช้เทคนิควิธีการสอนที่หลากหลายและประสานสัมพันธ์กับเครือข่ายการเรียนรู้ มี 7 ตัวบ่งชี้และองค์ประกอบย่อยด้านการจัดทำฐานข้อมูลเพื่อออกแบบการเรียนรู้มี 3 ตัวบ่งชี้ 4) องค์ประกอบหลักด้านการใช้และพัฒนาสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการจัดการเรียนรู้ มี 2 องค์ประกอบย่อย 9 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ องค์ประกอบย่อยด้านการพัฒนาและใช้สื่อที่สอดคล้องกับสภาพผู้เรียน มี 6 ตัวบ่งชี้ และองค์ประกอบย่อยด้านการจัดหาสื่อและแหล่งเรียนรู้มี 3 ตัวบ่งชี้ และ 5) องคป์ ระกอบหลักด้านการวัดและประเมนิ ผลการเรียนรู้มี 10 ตัวบ่งชี้ มี 3 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ องค์ประกอบย่อยด้านการออกแบบวิธีการวัดและประเมินผล มี 4 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบย่อยด้านการสร้างและนำเครื่องมือวัดและประเมินผลไปใช้ มี 3 ตัวบ่งชี้ และองค์ประกอบย่อยด้านการนำผลการประเมินการเรียนรู้ไปใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ มี 3 ตัวบ่งชี้ สำหรับผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 ผลการตรวจสอบคุณภาพของตัวบ่งชี้ พบว่า องค์ประกอบของตัวบ่งชี้คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของครูภาษาอังกฤษที่สร้างและพัฒนาขึ้นหลังปรับโมเดลมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)