การมีส่วนร่วมของชุมชนที่มีต่อการขุดลอกร่องน้ำเพื่อการจัดทำแผนแม่บทสำหรับการฟื้นฟูทะเลสาบสงขลาตอนล่าง จังหวัดสงขลา

Main Article Content

ประมาณ เทพสงเคราะห์

Abstract

 


This research aimed (1) to study the needs for dredging of watercourses, (2) to determine the routes, and (3) to prioritize the dredging operation and pattern.   The approach of the research was qualitative. Data collection took place in five districts, Singha Nakhon, Khuan Niang, Hatyai, Bangklam and Muang Songkhla. Several focus group discussions were organized at both district and provincial levels and were a tool for data collection. At the district level, there were fifteen focus group discussions. Not less than fifty representatives of the five areas participated in each discussion.  At the provincial level, there were six focus group discussions with 100 participants, including fishermen, officials from the public and private sectors, and experts on watercourse dredging.  Photographs were taken and live radio broadcasts of the meetings were carried out.  The instrument used in the study included focus group meeting notes. The results of the study were as follows: 1) All the communities needed to dredge the watercourse around the shorelines in each district with a distance of 200-500 meters off the coasts. 2) There were four routes of watercourses to be dredged: that in the middle of Songkhla Lake, the upper and lower watercourse
in the lake, and the watercourse around Koh Yor Island, purposely used for water drainage, fishery, marine transportation and tourism. 3) Dredging operations should be carried out in the following order: the watercourse in the middle of Songkhla Lake, the upper watercourse in the lake, the lower watercourse in the lake and that around Koh Yor Island, respectively. 4) The pattern of the watercourses to be dredged: The watercourse in the middle of the lake must be larger, deeper and wider than the others. The excavated muddy sediments and deposits from the dredging should be for public use with good management of sea and land waste.


 


บทคัดย่อ


การวิจัยเรื่อง “การมีส่วนร่วมของชุมชนที่มีต่อการขุดลอกร่องน้ำเพื่อการจัดทำแผนแม่บทสำหรับการฟื้นฟูทะเลสาบสงขลาตอนล่าง จังหวัดสงขลา” มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความต้องการการขุดลอกร่องน้ำ การกำหนดเส้นทางขุดลอกร่องน้ำ การจัดลำดับการขุดลอกร่องน้ำ และรูปแบบร่องน้ำของการขุดลอกในทะเลสาบสงขลาตอนล่างร่วมกับชุมชน การดำเนินการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ สิงหนคร ควนเนียง หาดใหญ่ บางกล่ำ และเมืองสงขลา ใช้วิธีการจัดเวทีเสวนาประชุมกลุ่มชุมชนระดับอำเภอ อำเภอละ 3 ครั้ง รวม 15 ครั้ง จำนวนไม่น้อยกว่าครั้งละ 50 คน และประชุมระดับจังหวัดทั้ง 5 อำเภอ จำนวน 6 ครั้ง ประกอบด้วย ผู้มีส่วนร่วมอาชีพประมง เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน และผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องกับการขุดลอกร่องน้ำ ครั้งละไม่น้อยกว่า 100 คน มีการถ่ายภาพประกอบ การถ่ายทอดสดทางสถานีวิทยุ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบบันทึกการประชุมกลุ่ม ผลการศึกษามีดังนี้ 1) ชุมชนมีความต้องการขุดลอกร่องน้ำให้อยู่บริเวณชายฝั่งของแต่ละอำเภอ มีระยะห่างจากชายฝั่งประมาณ 200 - 500 เมตร 2) การกำหนดเส้นทางขุดลอกร่องน้ำมีจำนวน 4 ร่องน้ำ ได้แก่ ร่องน้ำกลางทะเลสาบสงขลา ร่องน้ำรอบทะเลสาบสงขลาร่องบน ร่องน้ำรอบทะเลสาบสงขลาร่องล่าง และร่องน้ำรอบเกาะยอ เพื่อการใช้ประโยชน์ในการระบายน้ำ การประมง การสัญจรทางน้ำ และการท่องเที่ยว 3) การจัดลำดับการขุดลอกร่องน้ำตามลำดับ ได้แก่ ร่องน้ำกลางทะเลสาบสงขลา ร่องน้ำรอบทะเลสาบสงขลาร่องบน ร่องน้ำรอบทะเลสาบสงขลาร่องล่าง และร่องน้ำรอบเกาะยอ 4) รูปแบบร่องน้ำของการขุดลอกโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนให้มีร่องน้ำกลางทะเลสาบสงขลามีความกว้าง ความยาว ความลึก และปริมาณดินที่ขุดลอกมากกว่าร่องน้ำอื่นโดยให้นำตะกอนดินจากการขุดลอกร่องน้ำไปใช้ประโยชน์สาธารณะ รวมทั้งการหาพื้นที่ทิ้งตะกอนดินที่เหมาะสมทั้งบนบกและในทะเล

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)

References

กัญรยาณีย์ กาฬภักดี. (2557). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนชุมชนบ้านไม้รูด ตำบลไม้รูด อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

ไกรสร เพ็งสกุล. (2551). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ: ศึกษากรณีลุ่มน้ำสาขาคลองปะเหลียน จังหวัดตรัง. กรุงเทพ ฯ: กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.

กระทรวงคมนาคม. (2555). รายงานการประชาสัมพันธ์และการมีส่วนร่วมของประชาชนจากการดำเนินงานประชุมสัมมนา ครั้งที่ 1 วันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2555 ในงานศึกษาเพื่อจัดทำแผนแม่บทการขุดลอกร่องน้ำเพื่อพัฒนาและฟื้นฟูทะเลสาบสงขลาตอนล่าง. กรุงเทพฯ: กระทรวงคมนาคม.

กระทรวงคมนาคม. (2556ก). ร่างรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการขุดลอกร่องน้ำทะเลสาบสงขลาตอนล่าง. กรุงเทพฯ: กระทรวงคมนาคม.

กระทรวงคมนาคม. (2556ข). รายงานการประชาสัมพันธ์และการมีส่วนร่วมของประชาชนจากการดำเนินงานประชุมสัมมนา ครั้งที่ 2 วันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 ในงานศึกษาเพื่อจัดทำแผนแม่บทการขุดลอกร่องน้ำเพื่อพัฒนาและฟื้นฟูทะเลสาบสงขลาตอนล่าง. กรุงเทพฯ: กระทรวงคมนาคม.

กระทรวงคมนาคม. (2556ค). รายงานการประชาสัมพันธ์และการมีส่วนร่วมของประชาชนจากการดำเนินงานประชุมสัมมนา ครั้งที่ 3 วันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2556 ในงานศึกษาเพื่อจัดทำแผนแม่บทการขุดลอกร่องน้ำเพื่อพัฒนาและฟื้นฟูทะเลสาบสงขลาตอนล่าง. กรุงเทพฯ: กระทรวงคมนาคม.

กระทรวงคมนาคม. (2557ก). รายงานการประชาสัมพันธ์และการมีส่วนร่วมของประชาชนจากการดำเนินงานประชุมสัมมนา ครั้งที่ 4 วันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2557 ในงานศึกษาเพื่อจัดทำแผนแม่บทการขุดลอกร่องน้ำเพื่อพัฒนาและฟื้นฟูทะเลสาบสงขลาตอนล่าง. กรุงเทพฯ: กระทรวงคมนาคม.

กระทรวงคมนาคม. (2557ข). รายงานการประชาสัมพันธ์และการมีส่วนร่วมของประชาชนจากการดำเนินงานประชุมสัมมนา ครั้งที่ 5 วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2557 ในงานศึกษาเพื่อจัดทำแผนแม่บทการขุดลอกร่องน้ำเพื่อพัฒนาและฟื้นฟูทะเลสาบสงขลาตอนล่าง. กรุงเทพฯ: กระทรวงคมนาคม.

กระทรวงคมนาคม. (2558). รายงานการประชาสัมพันธ์และการมีส่วนร่วมของประชาชนจากการดำเนินงานประชุมสัมมนา ครั้งที่ 6 วันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2557 ในงานศึกษาเพื่อจัดทำแผนแม่บทการขุดลอกร่องน้ำเพื่อพัฒนาและฟื้นฟูทะเลสาบสงขลาตอนล่าง. กรุงเทพฯ: กระทรวงคมนาคม.

จรูญ หยูทอง. (2559). กระบวนการมีส่วนร่วม. จาก https://m.mgronline.com/ south/detail/9590000124208

ฐิติอลีนา ใจเพียร. (2558). การมีส่วนร่วมของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลเหมืองง่า อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน: ภายใต้กระบวนการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเนชั่น, ลำพูน.

ศิริชัย กุมารจันทร์, กรกฎ ทองขะโชค, ธานินทร์ เงินถาวร, เอกราช สุวรรณรัตน์. (2558). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการทรัพยากรประมงในลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา (รายงานการวิจัย). สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ.

สานิตย์ บุญชู. (2527). การพัฒนาชุมชน: การส่วนร่วมของประชาชน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร(องค์การมหาชน). (2555). การดำเนินงานด้านการวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลโครงการพัฒนาระบบคลังข้อมูล 25 ลุ่มน้ำและแบบจำลองน้ำท่วมน้ำแล้ง. กรุงเทพฯ: แอสดีคอน คอร์ปอเรชั่น.

อรพินท์ สพโชคชัย. (2550). การสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันวิจัย เพื่อการพัฒนาประเทศไทย.

Cohen, J. M., & Uphoff, N. T. (1981). Rural development participation: Concept and measure for project design implementation and evaluation. New York: Cornell University Press.