ศิลาจารึกตำรายาวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร

Main Article Content

คณัฐวุฒิ หลวงเทพ
ดนัย วงศ์มีฤทธิ์
ศุภชัย ติยวรนันท์

Abstract

บทคัดย่อ


บทนำ :ศิลาจารึกตำรายาวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร เป็นมรดกที่แสดงถึงภูมิปัญญาของแพทย์แผนโบราณในสมัยรัชกาลที ๒ – ๓  ที่จารึกยาขนานต่างๆ ลักษณะของแผ่นศิลาจารึกเป็นหินอ่อนสีเทา สี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาดกว้างด้านละ ๓๓ เซนติเมตร จัดเรียงบรรทัดในมุมแหลม จำนวน ๑๗ บรรทัด เหมือนกันทุกแผ่น ติดตามผนังด้านนอกของระเบียงพระวิหารพระพุทธไสยาสน์ ๔๒ แผ่น และผนังศาลารายหน้าพระอุโบสถวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร ๘ แผ่น เชื่อว่าในอดีตมีแผ่นศิลาจารึก ๙๒ แผ่น แต่ปัจจุบันเหลือเพียง ๕๐ แผ่น วัตถุประสงค์: การศึกษานี้เป็นการศึกษาแผ่นศิลาจารึกแผ่นที่ ๕-๘ (ตามลำดับผังของกรมศิลปากร) ในศาลารายหน้าพระอุโบสถด้านขวา วิธีการทดลอง:โดยการเปรียบเทียบศิลาจารึกที่ผ่านเทคโนโลยีการถ่ายภาพแมโครและนำภาพมาต่อกัน ทำการลอกลายโดยเทคนิคทางคอมพิวเตอร์ พร้อมคำจารึกที่ถอดอักษรภาษาไทยปัจจุบัน และคำอ่าน เทียบกับสำเนาที่มีผู้เคยศึกษามาก่อนคือ ฉบับที่คัดลอกโดยศาสตราจารย์พิเศษ ดร. วิเชียร จีรวงส์ (พ.ศ. ๒๕๑๒) โดยการคัดลอกจากการลอกลายโดยใช้กระดาษไขทาบแล้วใช้ดินสอขูดจนเป็นรอยตัวอักษรบนกระดาษไข และ ฉบับกรมศิลปากร (พ.ศ. ๒๕๔๕) โดยการปริวรรตอักษร สรุปผลการศึกษา: จากการเปรียบเทียบพบว่า ศิลาจารึกบริเวณผนังศาลารายหน้าพระอุโบสถวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร ๔ มีแผ่น ด้านขวาการติดสลับตำแหน่งไปจากเมื่อคราวที่กรมศิลปากรคัดลอก จากการศึกษาที่มีมาก่อนหน้าพบความคลาดเคลื่อนของเนื้อหาเมื่อเทียบกับแผ่นศิลา ได้แก่ ชื่อโรค อาการของโรค ชื่อเวลาของการเกิดโรคที่แตกต่างกัน ชื่อเครื่องยา เครื่องยาบางชนิดหายไปจากตำรับ ขนาดของเครื่องยาที่ใช้ นอกจากนี้ยังพบข้อความ รายละเอียดภายในแผ่นศิลาจารึกที่เลือนหายไปเนื่องจากการชำรุดไปตามกาลเวลา การปฏิสังขรณ์ การเก็บรักษา การปฏิสังขรณ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละครั้งก็มีส่วนในการที่ทำให้ศิลามีความเสียหายที่ส่งผลต่อความสมบูรณ์ของเนื้อหา

Article Details

Section
Appendix