การศึกษาฤทธิ์ต้านสารอนุมูลอิสระและปริมาณสารฟีนอลิกของผักสดห้าชนิดก่อนและหลังผ่านระบบน้ำย่อยจำลองในหลอดทดลอง

Main Article Content

จุฑามาศ บุญวิทย์

Abstract

บทคัดย่อ


บทนำ : ผักอีสาน 5 ชนิด ได้แก่ผักแพว ชะอม ผักชีลาว ชะพลู สะระแหน่เป็นผักที่ใช้ในการปรุงอาหารเป็นอย่างมาก และนอกจากนี้พืชเหล่านี้มีการนำไปศึกษาหาฤทธิ์ต้านสารอนุมูลอิสระและพบว่ามีในปริมาณสูง ดังนั้นการศึกษานี้จึงมีการนำพืชเหล่านั้นมาศึกษาเพื่อให้ทราบว่าฤทธิ์ต้านสารอนุมูลอิสระและสารฟีนอลิกยังคงหลงเหลืออยู่หลังจากผ่านกระบวนการย่อยแล้ว จุดประสงค์ : เพื่อศึกษาฤทธิ์ต้านสารอนุมูลอิสระและปริมาณสารฟีนอลิกในสารสกัดจากผักสดห้าชนิดก่อนและหลังผ่านระบบน้ำย่อยจำลองในหลอดทดลอง  และเปรียบเทียบความแตกต่างของปริมาณสารฟีนอลิกในผักห้าชนิดวิธีการทดลอง : ผักห้าชนิดที่ใช้ในการศึกษานำมาผ่านกระบวนการโดยวิธีการซอยเพื่อย่อยขนาดหลังจากนั้นนำไปผ่านกระบวนการ freeze driedจึงสามารถนำมาใช้ในการทดลองได้ ผงแห้งผักนำมาผ่านขั้นตอนการสกัดโดยใช้เมทานอลและกรดซัลฟิวริก นำสารสกัดที่ได้ผ่านน้ำย่อยจำลองในหลอดทดลองโดยใช้วิธีการที่เรียกว่า FRAP เพื่อหาฤทธิ์ต้านสารอนุมูลอิสระและปริมาณสารฟีนอลิกโดยประมาณโดยเปรียบเทียบกับกรดกาลลิค ผลการทดลอง : จากการทดลองพบว่าผักแพวมีฤทธิ์ต้านสารอนุมูลอิสระที่มากกว่าพืชชนิดอื่นๆ ทั้งก่อนและหลังผ่านน้ำย่อย โดยเปรียบเทียบกับ trolox (TEAC ก่อนย่อย 109.7622, TEAC หลังย่อย 36.7784 ) และชะอมมีฤทธิ์ต้านสารอนุมูลอิสระน้อยที่สุดก่อนผ่านระบบน้ำย่อยจำลอง(TEAC ก่อนย่อย12.8893, TEAC หลังย่อย 26.0401) และเมื่อผ่านระบบน้ำย่อยจำลองทำให้ผักชีลาวมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระน้อยที่สุด(TEAC หลังย่อย12.5423)  ปริมาณสารฟีนอลิกโดยประมาณของผักแพวมีปริมาณสูงสุดทั้งก่อนและหลังการผ่านน้ำย่อยจำลอง(ก่อนย่อย 218.0004 mg GAEg-1 หลังย่อย 56.5653 mg GAEg-1) และพบว่าสะระแหน่มีปริมาณฟีนอลิกก่อนผ่านน้ำย่อยน้อยที่สุด(ก่อนย่อย 53.3929 mg GAEg-1 หลังย่อย 22.9143 mg GAEg-1) และผักชีลาวมีปริมาณฟีนอกลิกโดยประมาณหลังผ่านน้ำย่อยมีปริมาณน้อยที่สุด(ก่อนย่อย 69.8943 mg GAEg-1 หลังย่อย 12.4153 mg GAEg-1สรุปผลการทดลอง : ฤทธิ์การต้านสารอนุมูลอิสระและปริมาณสารฟีนอลิกโดยประมาณลดลงหลังจากผ่านระบบน้ำย่อยจำลอง  แต่ในผักบางชนิดฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระมีการเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย  ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลการทดลองนี้ได้แก่ น้ำย่อย หรือสภาพแวดล้อมในการทำการทดลอง

Article Details

Section
Appendix