บทบาทคณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัดและนโยบายการใช้ยาสามัญทดแทนยาต้นแบบในโรงพยาบาลร้อยเอ็ด

Main Article Content

ณัฐนิชา อาจแก้ว
ทุ่งฝน ทับสมบัติ
พรนภา นาราษฎร์
มณีรัตน์ เปี่ยมสติ

Abstract

บทคัดย่อ


บทนำ: การศึกษาบทบาทคณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัด (PTC) และนโยบายการใช้ยาสามัญทดแทนยาต้นแบบในโรงพยาบาลร้อยเอ็ด มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความคิดเห็นของบุคลากรทางการแพทย์ต่อบทบาท PTC ความคิดเห็นต่อนโยบายการใช้ยาสามัญทดแทนยาต้นแบบ และรวบรวมแนวทางในมุมมองบุคลากรทางการแพทย์ในการพัฒนานโยบายการใช้ยาสามัญทดแทนยาต้นแบบ


วิธีการทดลอง: การศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (cross-sectional descriptive study) เก็บข้อมูล 7 เดือน ระหว่างสิงหาคม 2554 ถึง กุมภาพันธ์ 2555 โดยใช้แบบสอบถามสำรวจความคิดเห็นและสัมภาษณ์เชิงลึกของบุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาลร้อยเอ็ด ทั้งหมด 113 คน และ 27 คน ตามลำดับ โดยมีอัตราตอบกลับร้อยละ 91.13


ผลการศึกษา: บุคลากรทางการแพทย์ร้อยละ 63.71 รู้จัก PTC ร้อยละ 56.60 รับรู้ว่า PTC มีบทบาทในการคัดเลือกยาและการจัดการด้านยา และร้อยละ 57.50 คิดเห็นว่า PTC มีหน้าที่ในการควบคุมให้มียาใช้อย่างเพียงพอและเกิดการใช้ยาอย่างสมเหตุผล จากการสัมภาษณ์พบว่า PTC ของโรงพยาบาลร้อยเอ็ดมีจุดแข็ง เช่น มีบุคลากรทางการแพทย์ทุกสาขาเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการ PTC ความคิดเห็นต่อนโยบายการใช้ยาสามัญทดแทนยาต้นแบบพบว่า ร้อยละ 97.35 เห็นด้วยกับนโยบาย โดยร้อยละ 76.10 ต้องการข้อมูลเชิงประจักษ์ว่ายาสามัญให้ผลการรักษาเท่าเทียมกับยาต้นแบบ โดยให้คะแนนประโยชน์ของการสั่งใช้ยาด้วยชื่อสามัญทางยา เฉลี่ย 78.06±12.60 คะแนน (เต็ม 100 คะแนน) แม้จะมีความคิดเห็นเชิงบวกต่อนโยบายการใช้ยาสามัญทดแทนยาต้นแบบ ยาต้านจุลชีพและยากันชักเป็นยาที่บุคลากรทางการแพทย์เสนอควรพิจารณาก่อนทดแทนยาต้นแบบด้วยยาชื่อสามัญ และแนวทางในการพัฒนานโยบายการใช้ยาสามัญทดแทนยาต้นแบบที่เห็นว่าเหมาะสม คือ การรณรงค์และส่งเสริมให้เขียนชื่อยาเป็นชื่อสามัญในใบสั่งยา ร้อยละ 61.90


สรุปผล: PTC ของโรงพยาบาลร้อยเอ็ด บทบาทและหน้าที่ในมุมมองของบุคลากรทางการแพทย์ ส่วนใหญ่เห็นด้วยต่อนโยบายการใช้ยาสามัญทดแทนยาต้นแบบภายใต้การมีข้อมูลเชิงประจักษ์ผลการรักษาเทียบเท่าที่ชัดเจนและได้เสนอแนวทางการพัฒนานโยบายของ PTC ที่เหมาะสมกับโรงพยาบาล

Article Details

Section
Appendix