การอบสมุนไพร: ทางเลือกในการดูแลสุขภาพของประชาชน

Main Article Content

เจนจิรา คิดกล้า
โสภารัตน์ พุทธรักษ์
อริยะ วัฒนชัยสิทธิ์
น้องเล็ก คุณวราดิศัย
อนุวัฒน์ วัฒนพิชญากูล

Abstract

บทคัดย่อ


บทนำ: ปัจจุบันมีประชาชนมาอบสมุนไพรมากขึ้น แต่สังคมยังมีความสบสนถึงประโยชน์ของการอบสมุนไพร การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมและประโยชน์ของการอบสมุนไพรในมุมมองของผู้ใช้บริการและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการอบสมุนไพร  วิธีการศึกษา: เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์แบบสอบถามกับผู้มาใช้มาบริการอบสมุนไพรที่วัดผาสุการาม วัดหนองปลาปาก วัดบ้านนาควาย และบ้านอบสมุนไพร จ.อุบลราชธานี จำนวน 300 คน และการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้จัดการของสถานที่อบแต่ละแห่งและผู้มาใช้มาบริการ 30 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และ Chi square tests  ข้อมูลเชิงคุณภาพทำการจัดหมวดหมู่ตามคำถามการวิจัย  ผลการศึกษา: พบว่าผู้ใช้บริการส่วนใหญ่ร้อยละ 58.3 จะใช้บริการอบสมุนไพรสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง ร้อยละ 68.0 จะอบ 2-5 รอบ ร้อยละ 33.5 มีจุดมุ่งหมายเพื่อดูแลร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ ร้อยละ 20.4 เพื่อการบำบัดโรคที่เป็นอยู่ ร้อยละ 88.0 เห็นว่าการอบสมุนไพรช่วยทำงานได้มากขึ้น ร้อยละ 86.3 ช่วยให้นอนหลับดี ร้อยละ 84.7 ช่วยให้เบาตัวคล่องตัว ร้อยละ 81.3 ช่วยให้หายใจคล่องขึ้น ร้อยละ80.0 ช่วยบรรเทาปวดคลายเส้น สำหรับผู้ที่มีอาการปวดข้อปวดเข่า ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อและปวดหลังปวดเอวร้อยละ 90.5 82.3 82.2 ตามลำดับระบุว่ามีอาการทุเลามากกว่า 50 % อาการไม่พึงประสงค์จากการอบสมุนไพรร้อยละ 62.7 ระบุว่ามีอาการคอแห้งกระหายน้ำ ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการมาใช้บริการอบสมุนไพรมากคือ อายุ การมีโรคประจำตัว ระดับการศึกษา อาชีพและลักษณะงาน โดยผู้สูงอายุ มีโรคประจำตัว การศึกษาประถมศึกษา ว่างงาน และลักษณะงานกลางแจ้งมีแนวโน้มการมาใช้บริการอบสมุนไพรมากกว่ากลุ่มอื่นๆอย่างนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น (p < 0.05)  เหตุจูงใจของการมาใช้บริการอบสมุนไพร ร้อยละ 78.3 อยู่ใกล้บ้าน ร้อยละ 59.3 สถานที่สะอาด ร้อยละ 43.9 สถานที่สงบ ร้อยละ 41.1 มีความร้อนและตัวยาสมุนไพรแรง สรุปผลการศึกษา: การอบสมุนไพรเป็นทางเลือกในการดูแลสุขภาพของประชาชนทั้งในแง่การบำบัด การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคแก่ผู้ที่ไม่มีโรคและผู้ที่มีโรคประจำตัวโดยเฉพาะผู้มีรายได้น้อย คนว่างงาน นักเรียน ผู้สูงอายุ และผู้ที่อยู่ใกล้สถานที่อบ ข้อเสนอแนะคือ ควรส่งเสริมให้การอบสมุนไพรเป็นทางเลือกของการดูแลสุขภาพตนเองของประชาชนที่รักสุขภาพและผู้ที่มีปัญหาสุขภาพต่างๆ โดยสนับสนุนให้วัดและชุมชนมีบทบาทในด้านการให้บริการอบสมุนไพรแก่ประชาชนตามชุมชนต่างๆ มากขึ้น

Article Details

Section
Appendix