ผลการบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ ณ ร้านยาคุณภาพเขตจังหวัดมหาสารคาม และการส่งต่อคลินิกบ้านร่มเย็น โรงพยาบาลมหาสารคาม

Main Article Content

กิตฐิคุณ คชการ
ศิริวดี สุขมีศรี
กรกนก ฤทธิเดช
เฉลิมขวัญ วิไลแก้ว
พีรยา สมสะอาด
ธีระพงษ์ ศรีศิลป์

Abstract

บทคัดย่อ


บทนำ:โรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์เป็นโรคที่พบได้บ่อยในร้านยา รวมทั้งปัญหาโรคเอดส์ ยังเป็นปัญหาสำคัญในระบบสาธารณสุขไทยเภสัชกรร้านยาจึงมีบทบาทต่อชุมชนเพราะเป็นสถานบริการด่านหน้าในการให้บริการยา เป็นแหล่งให้คำปรึกษาด้านสุขภาพ และให้คำแนะนำเบื้องต้น วิธีวิจัย: ศึกษาผลการให้บริบาลทางเภสัชกรรมได้แก่ การให้ความรู้ การรักษาโรคและการติดตามผล การติดตามอาการไม่พึงประสงค์ ความร่วมมือในการใช้ยา การกลับเป็นซ้ำ และการปรับพฤติกรรม ในผู้ป่วยโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ในร้านยาคุณภาพเขตจังหวัดมหาสารคาม ได้แก่ ร้านยามหาวิทยาลัยสาขา 1 สาขา 2 สาขา 3 และร้านยาเภสัชกรชูศักดิ์ และการส่งต่อไปยังคลินิกบ้านร่มเย็น โรงพยาบาลมหาสารคามตามแนวทางการดูแลรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ พ.ศ.2553 โดยมีรูปแบบการวิจัยเป็น Quasi-Experimental study ระหว่างวันที่ 30 กันยายน ถึง 30 พฤศจิกายน 2554 ผลการศึกษา: มีผู้เข้าร่วมการศึกษา 39 คน และ 4 คนถูกส่งต่อไปยังโรงพยาบาลมหาสารคามพบว่าอาการเข้าได้กับโรคเชื้อราช่องคลอด 19 คน (ร้อยละ 48.7) โรคพยาธิช่องคลอด 8 คน (ร้อยละ 20.5) โรคแบคทีเรียช่องคลอด 7 คน (ร้อยละ 17.9) โรคหนองใน/หนองในเทียม 3 คน (ร้อยละ 7.7) และโรคหูดหงอนไก่และหูดข้าวสุกอย่างละ 1 คน (ร้อยละ 2.6) โดยผู้ป่วยที่ส่งต่อจำนวน 4 คน เป็นโรคหูดหงอนไก่และหูดข้าวสุกอย่างละ 1 ราย และอีก 2 รายต้องการตรวจเลือดเพิ่มเติม ในการติดตามครั้งที่ 1 (วันที่ 7) มีอัตราการรักษาหายร้อยละ 79.5 และครั้งที่ 2 (วันที่ 14 หรือ เดือนที่ 3) มีอัตราการรักษาหายร้อยละ 86.1 หลังการให้บริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วยมีคะแนนความรู้เกี่ยวกับโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (8.18±2.61 และ 14.23±1.06, p <0.001)  จากการติดตามมีการกลับเป็นซ้ำ 5 คน (ร้อยละ 13.9) และโรคเชื้อราในช่องคลอดมีการกลับเป็นซ้ำมากที่สุด (ร้อยละ 17.6) และพบว่าปัญหาพฤติกรรมที่ไม่ปลอดภัยและไม่รักษาคู่นอนลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <0.05) ผู้ป่วยมีความพึงพอใจมากที่สุดด้านบุคลิกภาพและมนุษยสัมพันธ์ของผู้ให้บริการ การรักษาและบริการที่ได้รับร้อยละ 48.7 สรุปผล: การให้บริบาลทางเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วยโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์สามารถเพิ่มความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับโรค การรักษา การปฏิบัติตัวเพื่อหลีกเลี่ยงการรับหรือแพร่เชื้อ รวมถึงสามารถลดพฤติกรรมเสี่ยงและการกลับเป็นซ้ำ และทำให้เกิดความพึงพอใจของผู้ที่มารับบริการในร้านยา

Article Details

Section
Appendix