การศึกษามูลค่ายาและการมีส่วนร่วมของชุมชนในการหาสาเหตุพร้อมทั้งแนวทางแก้ปัญหายาเหลือใช้ในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง : กรณีศึกษา ชุมชนบ้าน

Main Article Content

กนกพร พาพิทักษ์
ธาสินี อภิญญพานิชย์
พรหมพร บุญญะวัติพงศ์
พีรยุทธ วิพัฒน์เกษมสุข
ชนัตถา พลอยเลื่อมแสง
ธนพงศ์ ภูผาลี

Abstract

บทคัดย่อ


บทนำ: ยาเหลือใช้เป็นปัญหาสำคัญที่พบมากขึ้นในผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงส่งผลต่อเศรษฐกิจและอันตรายต่อผู้ใช้ยา การศึกษานี้จึงต้องเพื่อหาสาเหตุ มูลค่า และแนวทางการแก้ปัญหายาเหลือใช้


วิธีวิจัย: มี 2 ระยะ 1) วิจัยเชิงสำรวจมูลค่าและปัญหายาเหลือใช้ในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง 62 คน 2) การมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อค้นหาสาเหตุและแนวทางการแก้ปัญหายาเหลือใช้ จากการมีส่วนร่วมในชุมชนจำนวน 18 คน ดำเนินวิจัยทั้ง 2 ระยะเป็นเวลา 1 เดือนในชุมชนบ้านมะกอก มหาสารคาม


ผลการศึกษา: พบผู้ป่วยมียาเหลือใช้ 17 คน (ร้อยละ 27.4) ยาเหลือใช้ที่พบมากที่สุดคือ Metformin 500 mg โดยมูลค่ายาเหลือใช้ในระยะเวลา 1 เดือนเป็น 3,005.30 บาท  การประเมินความรู้เรื่องยาเหลือใช้ พบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่มีความรู้ระดับดี ผู้ป่วยร้อยละ 67.7  คิดว่าตนเองไม่มีปัญหาเรื่องยาเหลือใช้  ผู้ป่วยคิดว่าสาเหตุยาเหลือใช้มาจากการรับประทานไม่ครบตามแพทย์สั่ง ผลการมีส่วนร่วมของชุมชนพบว่าสาเหตุของยาเหลือใช้ในระดับบุคคล เช่น การลืมรับประทาน และสาเหตุของยาเหลือใช้จากระดับหน่วยงาน เช่นสถานพยาบาลจ่ายยาให้ผู้ป่วยเกินวันนัด แนวทางการจัดการยาเหลือใช้ระดับบุคคลคือ ผู้ป่วยควรส่งคืนยาเหลือใช้ให้สถานพยาบาล รับประทานยาเดิมให้หมด ก่อนใช้ยานัดครั้งใหม่ และเพื่อเพิ่มความร่วมมือในการใช้ยา ผู้ป่วยเสนอให้เขียนป้ายเตือนตนเองว่า “อย่าลืมกินยา” ติดที่เห็นชัดเจนเช่น บนฝากระติ๊บข้าว วิธีการจัดการยาเหลือใช้ระดับหน่วยงาน คือ บุคลากรทางการแพทย์ควรรับยาเหลือใช้มาพิจารณาแยกคุณภาพของยา  กรณีที่ยายังมีคุณภาพควรนำไปใช้กับผู้ป่วยที่จำเป็นต่อไป


สรุปผลการศึกษา : สาเหตุของยาเหลือใช้หลัก มาจากรับประทานยาไม่ครบตามแพทย์สั่ง แนวทางการแก้ปัญหายาเหลือใช้ที่ชุมชนเลือกคือ เขียนป้ายเตือนตนเองว่า “อย่าลืมกินยา”

Article Details

Section
Appendix