การค้นคืนสารสนเทศการท่องเที่ยวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย โดยใช้ออนโทโลยี

Main Article Content

อิสรา ชื่นตา
จารี ทองคำ
จิรัฎฐา ภูบุญอบ

Abstract

การท่องเที่ยวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของ ประเทศไทยเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ทำให้เกิด รายได้มาสู่ภูมิภาคนี้มาก ซึ่งการพัฒนาเว็บการท่องเที่ยวใน ภูมิภาคนี้มีเป็นจำนวนมาก แต่ยังมีส่วนน้อยที่นำออนโทโลยี มาใช้ในการพัฒนาเว็บไซต์ ซึ่งการค้นคืนสารสนเทศโดยใช้ ออนโทโลยีเป็นงานวิจัยที่ท้าทาย ออนโทโลยีเป็นเทคโนโลยี ที่ใช้ในการจัดเก็บและนำเสนอเนื้อหาแบบมีโครงสร้าง เพื่อให้ได้ F-measure ที่ดีขึ้นในการสืบค้นเอกสาร และข้อมูล ทางหน้าเว็บที่มีเป็นจำนวนมากในปัจจุบัน ดังนั้นผู้วิจัยจึง ทำการพัฒนาออนโทโลยีต้นแบบการท่องเที่ยวในภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ โดยใช้หลักการพัฒนาออนโทโลยีด้วย วิธีจากบนลงล่าง (Top-Down) จากล่างขึ้นบน (Bottom-Up) และแบบผสม (Combination) จากผลการทดลองปรากฏว่า ผลของการค้นคืนด้วยการออกแบบออนโทโลยีแบบผสม ทำได้ดีที่สุดด้วยค่า F-measure ร้อยละ 82.26 

 

Information Retrieval In Thai Northeast Travel Utilizing Ontology

Issara Chuenta, Jaree Thongkam and Jiratta Phuboon-ob  

Northeast of Thailand Eco-tourism is a significant revenue to the region. Several website have been developed for advertising the tourism in this region. However, less ontology has been used for developing the tourism website. Therefore, developing the tourism ontology for retrieving the Information in the website is a challenging research task. Thus, ontology is a technology used to store and illustrate the structured-content of website. In order to achieve better F-measure, ontology plays an important role. This study is undertaker to develop web-ontology for Northeast tourism website, using three frameworks including Top-Down, Bottom-Up and Combination between Top-Down and Bottom-Up (called combination) of developing ontologies are employed. The experimental results shows that information retrieved using the Combination framework has the highest F-measure about 82.26%. 

Article Details

Section
บทความวิจัย