ระบบจัดลำดับความสำคัญในการให้บริการสารสนเทศ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

Main Article Content

รุจิโรจน์ กังเจริญสัมพันธ์
นลินภัสร์ ปรวัฒน์ปรียกร

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบจัดลำดับ ความสำคัญในการให้บริการสารสนเทศของมหาวิทยาลัย ราชภัฏสวนสุนันทา เพื่อช่วยทำให้การให้บริการสารสนเทศ มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยใช้เทคนิคฐานกฎ (Rule Based) ซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้กำหนดกฎพร้อมทั้งให้ค่าคะแนน ความสำคัญในแต่ละปัจจัย และใช้แบบสอบถามในการเก็บ รวบรวมเพื่อกำหนดค่าน้ำหนักของแต่ละปัจจัย (Factor Weighting) ซึ่งผลการประเมินประสิทธิภาพของระบบ โดย เปรียบเทียบจากระยะเวลาการรอรับบริการระหว่างก่อนและ หลังการนำระบบจัดลำดับความสำคัญในการให้บริการ สารสนเทศเข้ามาใช้ พบว่าอัตราการรอรับบริการโดยเฉลี่ย ลดลง 71 เปอร์เซ็นต์ อีกทั้งใช้แบบจำลองการยอมรับ เทคโนโลยีสารสนเทศ (Technology Acceptance Model) มา ประเมินความพึงพอใจของผู้เชี่ยวชาญและผู้ใช้ที่มีต่อระบบ โดยภาพรวมจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คนอยู่ในระดับดี (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.24 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.42) และภาพรวมจากผู้ใช้งานจำนวน 30 คนอยู่ในระดับดี เช่นกัน (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.11 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.49) ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าระบบจัดลำดับความสำคัญ ในการให้บริการสารสนเทศได้รับการยอมรับและสามารถใช้ งานได้เป็นอย่างดี 

 

The System for Rule-Based Prioritization of Information ServiceProvided at Suan Sunandha Rajabhat University

Rujirote Kangcharoensampan and Nalinpat Porrawatpreyakorn

This paper proposes a system for rule-based prioritization of information services provided at Suan Sunandha Rajabhat University. This system is aimed at providing information services through better performance. To build a rule based model, service experts had to identify core factors with their priorities; while factor weighting was performed by using questionnaires for data collection from users. To evaluate the system’s performance, the ratio of service waiting times between before and after introducing the system was calculated. The result reveals that service waiting times were reduced by 71%. To evaluate service experts’ and users’ satisfaction, questionnaires based on Technology Acceptance Model were performed to gather data from 5 service experts and 30 users. The result reveals that service experts (the mean value of 4.24 and S.D. value of 0.42) and users (the mean value of 4.11 and S.D. value of 0.49) were satisfied with the system. This shows that the system can be effectively used.

Article Details

Section
บทความวิจัย