การวิเคราะห์รายงานการประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษาอาชีวศึกษาด้วยการทำเหมืองข้อมูล

Main Article Content

จันทิมา เอกวงษ์
ศจีมาจ ณ วิเชียร
ชูชาติ หฤไชยะศักดิ์

Abstract

การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อวิเคราะห์รายงานการประเมินคุณภาพภายนอก รอบที่สอง (ปี พ.ศ. 2549-2553) ของสถานศึกษาอาชีวศึกษา จำนวน 674 แห่ง การดำเนินการวิจัยมี 4 ขั้นตอน ดังนี้ (1) สร้างแบบจำลองเพื่อจัดหมวดหมู่ข้อความที่ไร้โครงสร้าง คือจุดเด่น จำนวน 5,086 ข้อ และจุดที่ควรพัฒนา จำนวน 5,623 ข้อ (2) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะของสถานศึกษากับผลการประเมินคุณภาพภายนอก (3) วิเคราะห์ความเหมาะสมของตัวบ่งชี้ (4) ออกแบบและพัฒนาระบบวิเคราะห์รายงานการประเมินคุณภาพภายนอก ผลการวิจัยพบว่า (1) การจัดหมวดหมู่ด้วยแบบจำลอง Two Level Classification Model มีประสิทธิภาพมาก โดยค่าประสิทธิภาพโดยรวมของการจัดหมวดหมู่จุดเด่นเท่ากับ 84.30% และจุดที่ควรพัฒนา เท่ากับ 89.30% (2) การวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบกฎความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะของสถานศึกษากับผลการประเมินคุณภาพภายนอกแบบรับรองมาตรฐานคุณภาพ จำนวน 185 กฎ และแบบไม่รับรองมาตรฐานคุณภาพ จำนวน 1 กฎ (3) ตัวบ่งชี้ที่มีความเหมาะสมในการประเมินคุณภาพภายนอกมากที่สุด คือ ตัวบ่งชี้เกี่ยวกับการให้บริการทางวิชาการต่อชุมชนสังคมและการประกันคุณภาพภายใน (4) ระบบที่พัฒนาขึ้นสามารถจัดหมวดหมู่จุดเด่นและจุดที่ควรพัฒนาได้โดยอัตโนมัติและถูกต้อง กรองข้อมูลสำคัญและวิเคราะห์ข้อมูลได้ตามความต้องการของผู้ใช้งาน

 

Analysis of External Quality Assessment Reports in Vocational Education Institute with Data Mining

Chantima Akewong, Sageemas Na Wichian and Choochart Haruechaiyasak

This research aimed to analyze the external quality assessment reports in vocational educational institute. The data was gathered from 674 institutes’ assessment reports assessed in the second round (during B.E. 2006-2010). There are four steps in the research: (1) Constructing a model to classify unstructured data; there are 5,086 strengths 5,623 weaknesses. (2) Analyzing the relation of attributes in vocational education institutes and external quality assessment with association rule mining. (3) Analyzing investigating an appropriateness of indicators in external assessment. (4) Designing and developing the Analysis System of External Quality Assessment Reports.

The results showed that: (1) The classification via the Two Level Classification Model yielded high performance. The F-measure of the classification of strength and weakness are 84.30% and 89.30%, respectively. (2) The analysis showed that the association rules between attributes in vocational education institutes and external quality assessment is one hundred and eighty five rules for certification of the standards and one rule for non certification of the standards. (3) The most appropriateness indicators for the external quality assessment were academic services for the social community and internal quality assurance. (4) The developed Analysis System of External Quality Assessment Reports is able to classify the strengths and weaknesses automatically and accurately. The system could be used as the filters of the important data and analyze the data based on users’ requirements.

Article Details

Section
บทความวิจัย