การสำรวจกลุ่มความสามารถทางปัญญาและการใช้เครื่องมือในการเรียนรู้แบบออนไลน์

Main Article Content

ศักดิ์ชาย ตั้งวรรณวิทย์
นิดาพรรณ สุรีรัตนันท์
มนต์ชัย เทียนทอง

Abstract

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)สำรวจความสามารถทางพหุปัญญาของนักศึกษาที่เรียนสาขาคอมพิวเตอร์ในมหาวิทยาลัย 2) เพื่อสำรวจการใช้เครื่องมือออนไลน์ของนักศึกษาที่เรียนสาขาคอมพิวเตอร์ในมหาวิทยาลัย และ 3) เพื่อสำรวจความสัมพันธ์ของกลุ่มทางพหุปัญญาและเครื่องมือในการเรียนรูปแบบออนไลน์ของนักศึกษาที่เรียนสาขาคอมพิวเตอร์ในมหาวิทยาลัย โดยการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีเฉพาะเจาะจง (Purposive Selection) จำนวน 100 คนที่ศึกษาสาขาคอมพิวเตอร์จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีและมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา โดยใช้แบบสอบถามทางพหุปัญญาพบว่านักศึกษามีพหุปัญญากลุ่มวิเคราะห์ที่ประกอบด้วยความสามารถทางปัญญาด้านตรรกะ ความสามารถทางปัญญาด้านดนตรี และความสามารถทางปัญญาด้านธรรมชาติมีจำนวนมากที่สุดร้อยละ 50 มีพหุปัญญากลุ่มพินิจพิจารณาที่ประกอบด้วยความสามารถทางปัญญาด้านภายในตนเอง ความสามารถทางปัญญาด้านมิติ และความสามารถทางปัญญาด้านอัตถภวนิยมร้อยละ 36 และมีพหุปัญญากลุ่มปฏิสัมพันธ์ที่ประกอบด้วยความสามารถทางปัญญาด้านภาษา ความสามารถทางปัญญาด้านปฏิสัมพันธ์ และความสามารถทางปัญญาด้านร่างกายการเคลื่อนไหวร้อยละ 35 เครื่องมือออนไลน์สำหรับการเรียนการสอนนั้นพบว่าโปรแกรมการสนทนา (Chat) เป็นเครื่องมือที่นักศึกษานิยมใช้มากที่สุดร้อยละ55 โปรแกรมการสำรวจค้นหา (search engine) ใช้ร้อยละ30 จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) ใช้ร้อยละ 27 โปรแกรมกระดานสาธารณะ (web board) ใช้ร้อยละ 14 และการสร้างเว็บส่วนตัว และสะสมงาน (web portfolio) มีน้อยที่สุด ร้อยละ 2 ยังพบว่านักศึกษาใช้โปรแกรมการสนทนามากที่สุดในทุกกลุ่มทางพหุปัญญา และมีการใช้กระดานสาธารณะน้อยที่สุดในทุกกลุ่มทางพหุปัญญา

Article Details

Section
บทความวิจัย