การถ่ายทอดความรู้ในบริบท การบูรณาการระบบสารสนเทศ: การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ

Main Article Content

ศักดิ์ชาย ตั้งประเสริฐ
นลินภัสร์ ปรวัฒน์ปรียกร

Abstract

ในปัจจุบันองค์กรต่างมุ่งแข่งขันเพื่อความสำเร็จของ องค์กร ซึ่งส่วนสำคัญหนึ่งของความสำเร็จมาจากการพัฒนา คุณภาพของบุคลากร กระบวนการถ่ายทอดความรู้จึงมี บทบาทสำคัญที่ช่วยพัฒนาความรู้ของบุคลากรเพื่อทำความเข้าใจสถานการณ์ของการถ่ายทอดความรู้ในอดีต จนถึงปัจจุบัน งานวิจัยฉบับนี้จึงนำเสนอผลการทบทวน วรรณกรรมอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับการถ่ายทอดความรู้ โดย มุ่งเน้นไปที่บริบทการบูรณาการระบบสารสนเทศ ซึ่งพบว่า การถ่ายทอดความรู้ในบริบทดังกล่าวมีข้อจำกัดส่วนใหญ่ มาจากสถานการณ์ที่ไม่เอื้ออำนวย โดยมุ่งให้ความสำคัญกับ การปรับปรุงกระบวนการถ่ายทอดความรู้เป็นหลัก มีการใช้ เทคโนโลยีสืบค้นข้อมูลและเทคโนโลยีการสื่อสารเป็น เครื่องมือที่ช่วยให้การถ่ายทอดความรู้มีประสิทธิภาพ อีกทั้ง การประเมินผลความสำเร็จในการถ่ายทอดความรู้ มัก ประเมินจากความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ได้รวดเร็วขึ้น ผลการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบในครั้งนี้ นำมาใช้ เป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนากรอบแนวคิดการถ่ายทอด ความรู้โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและ ประสิทธิผลในการถ่ายทอดความรู้ให้มีมากยิ่งขึ้น

 

Knowledge Transfer in the Context of Information Systems Integration: A Systematic Literature Review

Sakchai Tangprasert and Nalinpat Porrawatpreyakorn

Nowadays, organizations are competing to achieve their success. One of key success factors is high-quality staff development. A knowledge transfer process thus plays an important role in developing staff knowledge.In this paper, a systematic literature review is performed in order to understand situations of knowledge transfer in organizations in the context of information systems integration. The result reveals that problems or limitations mainly occurred due to unfavorable or unsuitable situations for effective knowledge transfer. Most studies played attention to the improvement of a knowledge transfer process, used search technologies and communication technologies as tools for knowledge transfer effectiveness, and defined ability to transfer knowledge quickly and effectively as one of key indicators for evaluation. In order to deal with some challenges, a conceptual knowledge transfer framework which aims at increasing knowledge transfer efficiency and effectiveness is then presented based on the result. 

Article Details

Section
บทความวิชาการ