การออกแบบที่นั่งสำหรับอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท จังหวัดอุดรธานี

Main Article Content

ก้องภพ ประทุมชาติ
ธีระยุทธ์ เพ็งชัย

บทคัดย่อ

โครงการวิจัยเรื่องนี้เป็นการศึกษาแนวทางการออกแบบที่นั่งสำหรับอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท จังหวัดอุดรธานี โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาเอกลักษณ์ศิลปะและวัฒนธรรมอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท 2) เพื่อออกแบบพัฒนาที่นั่งสำหรับอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะและเหมาะสมในการใช้งาน 3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของกลุ่มเป้าหมายที่มีต่อผลงานออกแบบที่พัฒนาขึ้นมาใหม่          
                     เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลได้แก่ แบบสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลเกี่ยวอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท จังหวัดอุดรธานี จำนวน 1 ท่าน และนักออกแบบจำนวน 1 ท่านแบบสอบถามความคิดเห็นที่ต่อผลิตภัณฑ์ของกลุ่มผู้ใช้งานได้แก่ นักท่องเที่ยวที่มาเยี่ยมชมที่อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท จังหวัดอุดรธานี จำนวน 100 คน โดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละและค่าเบี่ยงมาตรฐาน  ผลการวิจัยพบว่าว่าการศึกษาเพื่อการออกแบบที่นั่งสำหรับอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท จังหวัดอุดรธานี 1) บริเวณโซนทำการของอุทยาน มีที่นั่งสำหรับอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาทที่ชำรุด และไม่สามารถรองรับนักท่องเที่ยวที่มาเยี่ยมชม จากการศึกษาควรมีที่นั่งพักที่มีขนาดพอเหมาะกับอุทยาน เพื่อไว้รองรับนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวชมที่อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาทไม่ว่าจะเป็นชาวไทยและชาวต่างชาติ 2) รูปแบบผลิตภัณฑ์ ที่นั่งสำหรับอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท จังหวัดอุดรธานี แนวความคิดในการนำเอารูปร่างรูปทรงของ หอนางอุสา ที่มีลักษณะเป็นหินทรายสองชั้นวางทับกันคล้ายกับเห็ด มีความคงทน ปลอดภัยและสวยงาม ตัวที่นั่งทำจากปูนที่ขึ้นโครงด้วยโครงเหล็ก เพื่อเสริมความแข็งแรง ตัวฐานของที่นั่งมีลายแตกให้อารมณ์เหมือนหินที่เรียงตัวกัน แล้วพ่นสีน้ำตาลเข้ม และอ่อน ที่สามารถกลมกลืนกับอุทยานฯภูพระบาท 3) ผลการสอบถามความคิดเห็นของกลุ่มผู้ใช้งานที่มีต่อผลิตภัณฑ์โดยสามารถสรุปได้ดังนี้ ด้านความเหมาะสมด้านประโยชน์ใช้สอย มีความเหมาะสมในระดับมาก (=4.28) ด้านความเหมาะสมในการออกแบบด้านความสวยงาม มีความเหมาะสมในระดับมาก (=4.29) ด้านความปลอดภัยและการบำรุงรักษา มีความเหมาะสมในระดับมาก (=4.16) ด้านกระบวนการผลิตโดยใช้วัสดุในการออกแบบ มีความเหมาะสมในระดับมาก (=4.30) ความพึงพอใจโดยรวมทุกด้านที่มีต่อที่นั่งภายนอกบริเวณโซนทำการของอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท จังหวัดอุดรธานี ออกแบบพัฒนาขึ้นมาใหม่ มีความเหมาะสมในระดับมาก (=4.27)


คำสำคัญ : ที่นั่ง, อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท, หอนางอุสา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

อรุณศักดิ์ กิ่งมณี. 2543. ความเป็นมาและความหมายของชื่อบ้านในเขตอำเภอบ้านผืออุดรธานี. อุดรธานี : อุทยานประวัติศาสตร์ภู
พระบาท สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 7 ขอนแก่น.
วิบูลย์ ลี้สวรรณ. 2553. ศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน : เอกลักษณ์เฉพาะถิ่น. สืบค้นเมื่อ 20 พฤษภาค 2560, จาก
https://www.journal.su.ac.th
วัชรินทร์ จรุงจิตสุนมร. 2548. หลักการออกแบบแนวคิดออกแบบผลิตภัณฑ์. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ แอ๊ปป้า พริ้นท์ติ้ง กรุ๊ป
จำกัด.
ศุภลักษณ์ เป็นมงคล. 2558. การออกแบบที่นั่งภายในแหล่งศึกษาและท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์โฮจิมินห์ จังหวัดอุดรธานี. ปริญญา
นิพนธ์. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.