ปรัชญาการศึกษาของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

ผู้แต่ง

  • Phra Monechai Chantala

คำสำคัญ:

ปรัชญาการศึกษา, ส.ป.ป. ลาว

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปรัชญาการศึกษาตามแนวคิดของ ปรัชญาตะวันตกและพุทธปรัชญาการศึกษา 2) เพื่อศึกษาปรัชญาการศึกษาของสาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาว 3) เพื่อวิเคราะห์ปรัชญาการศึกษาของสาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว 

จากการศึกษาพบว่า ปรัชญาการศึกษาตะวันตกมีหลายลัทธิ ได้แก่ นิรันดรนิยม สารัตถนิยม พิพัฒนาการนิยม ปฏิรูปนิยม อัตถิภาวนิยม สามารถแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่ม อนุรักษ์นิยมและกลุ่มเสรีนิยม ส่วนพุทธปรัชญาการศึกษา พบว่า การศึกษาที่แท้จริง เป็นการ ศึกษาที่สามารถหลุดพ้นจากความทุกข์ได้ ใช้การศึกษา 3 วิธี ประกอบด้วย สุตมยปัญญา การ ฟัง จินตามยปัญญา การคิดวิเคราะห์ และ ภาวนามยปัญญา การลงมือปฏิบัติ เป็นต้น 

สาระสำคัญของการศึกษา ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวเริ่มขึ้น หลังจากได้รับเอกราชจากฝรั่งเศส การศึกษามีแบบแผนมากขึ้น รัฐบาลมีความเอาใจใส่ กับนโยบายด้านการศึกษามากพอสมควร หนึ่งในจุดมุ่งหมายที่สำคัญ คือ มุ่งให้ประชาชน สามารถอ่านและเขียนภาษาลาวได้ ทั้งนี้เพื่อการถ่ายทอดความรู้ แนวคิด และวัฒนธรรม ประเพณีของชาติให้สืบต่อไปในคนรุ่นหลัง การส่งเสริมการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยี สมัยใหม่ 

ต้องการธำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรมประเพณีของชาติ ดังนั้น จึงสอดคล้องกับแนวคิดปรัชญาการ ศึกษาสำนักสารัตถนิยม และปรัชญาการศึกษาสำนักนิรันดรนิยม นอกเหนือจากสองสำนักนี้ ลาวยังมีแนวคิดทางการศึกษาที่เป็นไปตามแนวคิดของพุทธปรัชญาการศึกษา ทั้งนี้เป็นเพราะ ระบบการศึกษาของลาวมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับวัดในพระพุทธศาสนามาอย่างยาวนาน 

ปรัชญาการศึกษาของลาวมีแนวคิดที่สอดคล้องกับแนวคิดของปรัชญาการศึกษา กลุ่มอนุรักษ์นิยมของตะวันตก เนื่องจากมีการเน้นเรื่องระเบียบวินัยเป็นสาระสำคัญ และ ต้องการธำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรมประเพณีของชาติ ดังนั้น จึงสอดคล้องกับแนวคิดปรัชญาการศึกษาสำนักสารัตถนิยม และปรัชญาการศึกษาสำนักนิรันดรนิยม นอกเหนือจากสองสำนักนี้ ลาวยังมีแนวคิดทางการศึกษาที่เป็นไปตามแนวคิดของพุทธปรัชญาการศึกษา ทั้งนี้เป็นเพราะระบบการศึกษาของลาวมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับวัดในพระพุทธศาสนามาอย่างยาวนาน

References

กาด วันแทง. (แปล ลัดสหมี วงค์สัก). (2002). การศึกษาคนอนาคตในศตวรรษที่ 21. สำนักพิมพ์ และ จำหน่ายแห่งรัฐ ส.ป.ป ลาว.

แกรนท์ อีแวนส์. (แปล ดุษฎี เฮย์มอนด์). (2549). ประวัติศาสตร์สังเขปประเทศลาว ประเทศกลางแผ่นดินเอเชียอาคเนย์. เชียงใหม่: ซิลค์เวอร์ม.

คำเพา พอนแก้ว. (2010). เมืองโขงในอดีต และ ปัจจุบัน. โครงการพัฒนาการท้องเที่ยวแบบยืนยง.

ธีระ รุญเจริญ. (2541). รายงานการปฏิรูปการศึกษาของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. (เอกสารรายงานต่อสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ) มปท.

นิพนธ์ ศศิธร. (2522). รัฐศาสตร์กับการศึกษา ใน สังคมศาสตร์กับการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

ปานตา ใช้เทียมวงศ์. (2543). การศึกษาปฐมวัยเปรียบเทียบ. สำนักงานคณะกรรมการวิจัย แห่งชาติ.

สำลิด บัวสีสะหวัด. (1995). ประวัติการศึกษาลาว. แผนกศึกษา-จิตวิทยา มะหาลัยสร้างครูเวียงจันทน์.

เอกวิทย์ ณ ถลาง. (2541). เพื่อความเข้าใจสาระและธรรมชาติของการศึกษา ใน วรรณไวทยากรฉบับการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.

พรรคประชาชนลาว. (2554). เอกสารกองประชุมใหญ่ครั้งที่ 9. นครหลวงเวียงจันทน์: อลุนใหม่ โรงพิมพ์แห่งรัฐ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-07-05