กระบวนการสอนของพระพุทธเจ้า

ผู้แต่ง

  • พระครูปลัดณัฐพล จนฺทิโก

คำสำคัญ:

กระบวนการสอน, พระพุทธเจ้า

บทคัดย่อ

ศาสนาในโลกนี้มีจำนวนมาก แต่พระพุทธศาสนามีอัตลักษณ์ที่แตกต่างจากศาสนาอื่น เริ่มตั้งแต่ศาสดาอดีตชาติเป็นพระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมี 4 อสงไขย จนตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงอุบัติขึ้นในโลกเพื่อแก้ทุกข์แก้สรรพสัตว์ กระบวนการสอนของพระพุทธเจ้าทรงมี 2 ระดับ คือ  (1) ระดับอนุโลมสัจจกถา คือ สอนตามลำดับโดยคำถึงถึงผู้ฟัง หรือผู้เรียนเป็นจุดศูนย์กลาง เพื่อที่จะย้อมจิตก่อนด้วยทานกถา ศีลกถา สวรรคกถา กามาทีนวกถา เนกขัมมกถา อันเป็นระดับโลกิยะเพื่อเตรียมการไปสู่โลกุตตระ  2) ระดับสัจจกถา มุ่งสอนแก่ผู้มีปัญญาด้วยอริยสัจ 4 โดยตรง อริยสัจมี 4 ประเภท คือ (1) ทุกขอริยสัจ ความจริงที่พระอริยะเจ้ารู้ว่าเป็นทุกข์ คือ ขันธ์ 5  สรรพสัตว์ที่เนื่องด้วยขันธ์ 5 อยู่ในภพภูมิไหนก็ตามล้วนแล้วแต่เป็นทุกข์ทั้งสิ้น (2) สมุทยอริยสัจ ความจริงที่พระอริยะเจ้ารู้ว่า ตัณหาความเพลิดเพลินในทุกข์คือขันธ์ 5 นั่นแหละเป็นต้นเหตุแห่งทุกข์ (3) ทุกขนิโรธอริยสัจ ความจริงที่พระอริยะเจ้าเข้าไปรู้ภาวะแห่งการดับทุกข์มีจริงเรียกว่า นิโรธหรือนิพพาน (4) ทุกขนิโรธมรรคอริยสัจ ความจริงที่พระอริยะเจ้ารู้ว่าทางดับทุกข์มีอยู่ด้วยอริยมรรคองค์ 8 มีปัญญาเป็นหัวหน้าที่เกิดขึ้นพร้อมกันอย่างสมดุล  เข้าถึงความเป็นอิสรภาพภายในจิตใจที่เรียกว่านิพพาน กระบวนการสอนทั้ง 2 นี้เป็นเอกลักษณ์ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงเรียกว่า ศาสดาเอกของโลก

References

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2541). พุทธธรรม . พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2539). ลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิพุทธธรรม.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2544). พุทธวิธีในการสอน. กรุงเทพมหานคร:สกธรรมิกจำจัด.

พระพรหมโมลี (วิลาส ญาณวโร). (2539). วิมุตติรัตนมาลี. กรุงเทพมหานคร:มิตรสยาม.

พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต ). (2559). พระธรรมเทศนา 61 กัณฑ์. กรุงเทพมหานคร : หจก.สามลดา.

พระพุทธรักขิตเถระ. (2552). ชินาลังการ. พระคันธสาราภิวงศ์แปลและอธิบาย.กรุงเทพมหานคร: ประยูร การพิมพ์.

พระพุทธโฆสาจารย์. (2548). วิสุทธิมรรค. สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถร) แปลและเรียบเรียง. พิมพ์ครั้งที่ 6. Taiwan,R.O.C.

พระพุทธโฆสาจารย์. (2539). วิสุทฺธิมคฺคปกรณํ (ทุติโย ภาโค). มหาจุฬาลงฺกรณราชวิทฺยาลเยน ปกาสิตา. กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์วิญญาณ.

พระมหากัจจายนเถระ. (2558). เปฏโกปเทสปกรณ์. มูลนิธิภูมิพโลภิกขุ แปล. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิภูมิพโลภิกขุ.

พระมหากัจจายนะเถระ. (2550). เนตติปกรณ์. พระคันธสาราภิวงศ์ แปลและอธิบาย. กรุงเทพมหานคร: ไทยรายวันการพิมพ์.

พระโมคคัลลานเถระและพระสุภูติเถระ. (2535). อภิธานปฺปทีปิกาและอภิธานัปปทีปิกาสูจิ. กรุงเทพมหานคร: มหากุฏราชวิทยาลัย.

พระเรรุกาเน จันทวิมละ สังฆนายกมหาเถระ. (2554). อริยสัจ 4 . ดร.สุนทร พลามินทร์ แปล. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์จันทรเพ็ญ.

พระสัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ. (2535). ธัมมมสังคณีสรุปัตถนิสสยะ. กรุงเทพมหานคร : สนองการพิมพ์.

พุทธทาส. (2536). คริสธรรม พุทธธรรม. กรุงเทพมหานคร:ธรรมสภา.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2535). พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ 2550. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สุภีร์ ทุมทอง. (2557). อริยสัจ 4. กรุงเทพมหานคร : ภาพพิมพ์.

สุมงฺคลสามิเถโร. (2542). อภิธมฺมตฺถวิภาวินีฎีกา. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-07-06