บทบาทและการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมสุขภาพตามกฎบัตรออตตาวา ชาเตอร์ ของพระภิกษุและสามเณรที่พำนักในวัดพัฒนาตัวอย่างในจังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • Thawaree Khansamrong มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
  • สำราญ ขันสำโรง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • พรสุข หุ่นนิรันดร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
  • สุภาดา คำสุชาติ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
  • สุภกรรณ จันทวงษ์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
  • วัชรินทร์ พอสม มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น

คำสำคัญ:

บทบาท; การมีส่วนร่วม; การส่งเสริมสุขภาพตามกฎบัตรออตตาวา ชาเตอร์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทและการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมสุขภาพตามกฎบัตรออตตาวา ชาเตอร์ของพระภิกษุและสามเณรที่พำนักในวัดพัฒนาตัวอย่างในจังหวัดเชียงใหม่ และความสอดคล้องระหว่างเกณฑ์การประเมินวัดส่งเสริมสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุขและเกณฑ์การคัดเลือก        วัดพัฒนาตัวอย่างของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ กลุ่มตัวอย่างเป็นพระภิกษุและสามเณร จำนวน 405 รูป รวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม (ค่าความเชื่อมั่น: .871) การสนทนากลุ่ม และแบบประเมิน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงแบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และไควสแคว์

ผลการวิจัยพบว่า สถานภาพ ระดับการศึกษา ช่องทางและความถี่ในการรับรู้ข่าวสารด้านสุขภาพ การฉันท์อาหารครบ 5 หมู่ในแต่ละวัน การรักษาอารมณ์จิตใจให้เป็นปกติ และบทบาทของกลุ่มตัวอย่างมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมสุขภาพตามกฎบัตรออตตาวา ชาเตอร์ ที่ระดับ  .001 และระยะเวลาที่จำพรรษาในวัดปัจจุบันมีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมสุขภาพตามกฎบัตรออตตาวา ชาเตอร์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 ผลการวิจัยชี้ชัดว่า พระสงฆ์เป็นผู้นำชุมชนด้านการส่งเสริมสุขภาพที่ดีและเหมาะสมแก่ประชาชน เพียงถวายองค์ความรู้ด้านส่งเสริมสุขภาพตามกฎบัตรออตตาวา ชาเตอร์ที่สอดคล้องกับพระวินัยเพิ่มอย่างต่อเนื่องโดยบุคลากรสาธารณสุข นอกจากนี้ ข้อค้นพบใหม่คือ วัดพัฒนาตัวอย่างมีคุณลักษณะสอดคล้องกับเกณฑ์ประเมินวัดส่งเสริมสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุข ระดับพื้นฐาน ฉะนั้น วัดที่ผ่านเกณฑ์คัดเลือกให้เป็นวัดพัฒนาตัวอย่างพึงได้รับการเป็นวัดส่งเสริมสุขภาพ ระดับพื้นฐาน จากกระทรวงสาธารณสุขควบคู่ในคราวเดียว

References

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (10 กันยายน 2546). การสร้างเสริมสุขภาพคนทำงานในสถานประกอบการ. วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม. 8 (5). [อินเทอร์เน็ต]. สืบค้นเมื่อ 2 พฤษภาคม. 2560. แหล่งที่มา: https://www.advisor.anamai.moph.go.th/main.php?filename=factory1

กระทรวงสาธารณสุข. (10 มีนาคม 2559). แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 12. สืบค้นเมื่อ 8 ตุลาคม 2560, แหล่งที่มา: https://www.https://wops.moph.go.th/ops/oic/data/20161115144754_1_.pdf

บุญตา ไล้เลิศ. (2550). บทบาทของผู้บริหารในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหาร การศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

ประยูร ศรีประสาธน์. (2542). รายงานการวิจัย เรื่อง ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานของคณะกรรมการการศึกษาประจำโรงเรียนประถมศึกษา. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

พงษ์ชัย พรสุโรจน์. (2550). กิจวัตรของพระสงฆ์ในการพัฒนาชุมชน อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

พระเทพเวที. (2541). พระราชบัญญัติคณะสงฆ์และกฎมหาเถรสมาคม พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 (แก้ไขเพิ่มเติมพ.ศ. 2535). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สหธรรมมิก.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2536). สถานการณ์พระพุทธศาสนาพลิกหายนะเป็นพัฒนา.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์การศาสนา.
มาณพ พลไพรินทร์. (2531). คู่มือการบริหารกิจการคณะสงฆ์. กรุงเทพมหานคร: ชุติมาการพิมพ์.

ลิขิต ธีรเวคิน. (11 มีนาคม 2552). ความสำคัญของทรัพยากรมนุษย์. สืบค้นวันที่ 1 มีนาคม 256, แหล่งที่มา: https://www.mgronline.com/daily/detail/9520000027853.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (29 พฤษภาคม 2556). สถานการณ์ เร่งด่วนสุขภาวะพระสงฆ์. สืบค้นวันที่ 8 พฤศจิกายน 2560, แหล่งที่มา: https://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.spx?NewsID=9560000064131.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). ทิศทางของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ.2544-2548)-12 (พ.ศ.2560-2564). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (20 พฤศจิกาย 2558). ผลการคัดเลือกวัดพัฒนาตัวอย่างที่มีผลงานดีเด่น วัดพัฒนาตัวอย่าง และอุทยานการศึกษาในวัด ประจำปี 2558. สืบค้นวันที่ 6 พฤภาคม 2559, แหล่งที่มา: https://www.onab.go.th/service.

สำนักสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ. (19 ธันวาคม 2555). มติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 5 พระสงฆ์กับการพัฒนาสุขภาวะ ประชุมคณะอนุกรรมการดำเนินการประชุมคณะที่ 2. เข้าถึงวันที่ 8 พฤษภาคมค 2559, เข้าถึงเมื่อ: https://www.healthstation.in.th/action/viewvideo/2120/.

Katz, Danial and Robert L. Kahn. (1966). The Social Psychology of Organizations. New York: John Wiley.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (1996). Thai Tipitaka. Bangkok: MCU Press.

World Health Organization. (2009). Milestones in health promotion Statements from global conferences. Geneva: World Health Organization.

World Health Organization. (1986). Ottawa charter for health promotion. Geneva: World Health Organization.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-05-27