การประยุกต์หลักพุทธธรรมในการใช้สื่อสังคมออนไลน์สำหรับพระนิสิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • Phrakrusamumanit Yanadharo Sitha มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • พระครูสมุห์ธนโชติ จิรธมฺโม มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา
  • พระครูสมุห์วัลลภ ฐิตสํวโร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • ประไพศิริ สันติทฤษฎีกร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • ฟองจันทร์ สุขสวัสดิ์ ณ อยุธยา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่

คำสำคัญ:

มัชฌิมาปฏิปทา, สื่อสังคมออนไลน์, พุทธธรรม, การประยุกต์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีในการสื่อสารและสื่อสังคมออนไลน์ 2) เพื่อศึกษาบริบทการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของพระนิสิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขต เชียงใหม่. 3) เพื่อเสนอแนวทางประยุกต์หลักพุทธธรรมในการใช้สื่อสังคมออนไลน์สำหรับนิสิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขต เชียงใหม่

ผลการวิจัยพบว่า การบริโภคสื่อสังคมออนไลน์โดยขาดการควบคุมเอาใจใส่ดูแล ย่อมส่งผลต่อภาวะจิตใจ ทั้งยังมีผลกระทบระยะยาวต่อตัวผู้บริโภคนั้นไม่ว่าจะอยู่ในช่วงวัยใด จิตแพทย์เผย สื่อสังคมออนไลน์ส่งผลต่อสุขภาพจิตผู้บริโภคทุกเพศทุกวัย เช่น เว็บไซท์ที่มีความรุนแรง (Violent), โป้ –เปลือย (Sex), การพนัน (Glambling), เกมส์ (Games),ฯลฯ  ซึ่งก่อให้เกิดพฤติกรรมเลียนแบบ ทำให้เกิดผลกระทบทางลบ โดยตรงและทางอ้อมแก่สังคม พระนิสิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขต เชียงใหม่ ผู้เป็นส่วนหนึ่งของสังคมย่อมได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน

การวิจัยครั้งนี้เพื่อให้เกิดภาพที่ชัดเจนในประเด็นการประยุกต์พุทธธรรม มัชฌิมาปฏิปทา ในการใช้เทคโนโลยีสื่อสังคมออนไลน์สำหรับพระนิสิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่ ในเรื่อง เป็นการศึกษาว่าเทคโนโลยีสื่อสังคมออนไลน์ได้มีบทบาทเกี่ยวข้องกับพระนิสิตฯ ทั้งในด้านการศึกษาและการประกาศพระธรรมคำสอนมากน้อยเพียงใด มีความจำเป็นมากน้อยเท่าใดในการนำพุทธธรรมมาประยุกต์ ในการใช้เทคโนโลยีสื่อสังคมออนไลน์สำหรับพระนิสิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขต เชียงใหม่. อีกทั้งมีทัศนคติต่อเทคโนโลยีสื่อสังคมออนไลน์ในการศึกษาและประกาศหลักธรรมคำสอนอย่างไร

References

ชญานิษฐ์ อรรถบดี. (30 มิถุนายน 2556). บทบาทและความสำคัญของเทคโนโลยี สารสนเทศ. สืบค้นเมื่อ 29 พฤษภาคม 2556, สืบค้นวันที่ https://www.gotoknow.org/posts/32049.

แทนพันธ์ เสนะพันธุ์ บัวใหม่. (2555). พฤติกรรมที่เหมาะสมของพระสงฆ์และรูปแบบการใช้ประโยชน์ อินเตอร์เน็ตเพื่อกิจการพระพุทธศาสนา. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ธีรวัส บำเพ็ญบุญบารมี. (2550). หลักธรรมในมิลินทปัญหา. โครงการธรรมศึกษาวิจัย. มูลนิธิเบญจนนิกาย : มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระเทพวิสุทธิกวี. (20 พฤศจิกายน 2556). ความเห็นของพระ เรื่อง สงฆ์ใช้ไฮเทค ประโยชน์ ที่มีปัญหา?. สืบค้นวันที่ 10 สิงหาคม 2556, แหล่งที่มา: https://www.baanmaha.com/community/thread10110.Html.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2538). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรรราชวิทยาลัย.

พระราชธรรมนิเทศ. (2540). พระวินัยปิฎกย่อ เล่ม 1. กรุงเทพมหานคร: มหามกุฏราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรรราชวิทยาลัยกรุงเทพมหานคร : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหามกุฎราชวิทยาลัย. (2508). ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล ภาค 1. กรุงเทพมหานคร: มหามกุฏราชวิทยาลัย.

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช. (2540). หลักพระพุทธศาสนา. กรุงเทพมหานคร: มหามกุฏราชวิทยาลัย.

สุชีพ ปัญญานุภาพ. (2541). พจนานุกรมศัพท์พระพุทธศาสนา. กรุงเทพมหานคร: มหามกุฏราชวิทยาลัย.

สุเชาวน์ พลอยชุม. (2539). ผู้รวบรวม. สารานุกรมพระพุทธศาสนา ประมวลพระนิพนธ์ สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส. กรุงเทพมหานคร: มหามกุฎราชวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-29