พฤติกรรมสร้างนวัตกรรมในการทำงาน: แนวคิด ปัจจัยเชิงสาเหตุ ความท้าทาย

Authors

  • ประเวช ชุ่มเกษรกูลกิจ 0654940598

Keywords:

พฤติกรรมสร้างนวัตกรรมในการทำงาน, พฤติกรรมนวัตกรรม, แนวคิดปัจจัยเชิงสาเหตุ ความท้าทาย, innovative work behavior, innovative behavior

Abstract

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับคำนิยาม มิติ และความท้าทายในการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมสร้างนวัตกรรมในองค์การ  โดยพฤติกรรมสร้างนวัตกรรมในการทำงาน หมายถึง พฤติกรรมทั้งหมดของพนักงานที่เกี่ยวข้องกับการสร้าง การสนับสนุน และหรือการประยุกต์ใช้ความคิด กระบวนการ ผลิตภัณฑ์หรือขั้นตอนการทำงานใหม่ในงานของตัวเอง ในกลุ่มงาน หรือองค์การ โดยสิ่งใหม่ดังกล่าวนี้มีแนวโน้มที่จะแก้ไขปัญหาขององค์การได้  นักวิจัยส่วนใหญ่มักจะให้คำนิยามเกี่ยวกับพฤติกรรมสร้างนวัตกรรม (Innovative Behavior) และพฤติกรรมสร้างนวัตกรรมในการทำงาน (Innovative Work Behavior) ไว้คล้ายคลึงกัน อย่างไรก็ตามคำว่าพฤติกรรมสร้างนวัตกรรมในการทำงานนั้นมีบริบทที่เฉพาะและชัดเจนกว่า ในด้านการแบ่งมิตินั้นพบว่านักวิจัยส่วนใหญ่มักแบ่งมิติตามแนวคิดเรื่องกระบวนการของนวัตกรรม โดยมักแบ่งออกเป็น 3 มิติ คือ การสร้างความคิด (Idea Generation) การสนับสนุนความคิด (Idea Promotion) และการทำให้ความคิดเป็นจริง (Idea Realization and Innovation) สำหรับปัจจัยเชิงสาเหตุของพฤติกรรมสร้างนวัตกรรมในการทำงานสามารถแบ่งออกได้เป็น ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านคุณลักษณะงาน ปัจจัยคุณลักษณะทางสังคมและปัจจัยด้านองค์การ การวิจัยเรื่องพฤติกรรมสร้างนวัตกรรมในองค์การยังมีความท้าทายหลายประการ โดยเฉพาะการนิยามความหมายและมิติของพฤติกรรมดังกล่าว

Downloads

Published

2018-01-31

How to Cite

ชุ่มเกษรกูลกิจ ป. (2018). พฤติกรรมสร้างนวัตกรรมในการทำงาน: แนวคิด ปัจจัยเชิงสาเหตุ ความท้าทาย. Journal of Behavioral Science for Development, 10(1), 25–41. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBSD/article/view/110682