A Study of Factors Affecting Emotional Quotient: Meta – Analysis with Hierarchical Linear Model

Authors

  • ถิราภา สีหะมงคล นิสิตระดับมหาบัณฑิต สาขาการวิจัยและสถิติทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • สุวิมล กฤชคฤหาสน์ อาจารย์ประจำคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • อิทธิฤทธิ์ พงษ์ปิยะรัตน์ ศึกษานิเทศก์ ประจำสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสิงห์บุรี

Abstract

การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความฉลาดทางอารมณ์: การวิเคราะห์อภิมานด้วยโมเดลเชิงเส้นระดับลดหลั่น

 

Abstract

This research was synthesized report that related various factors affected emotion quotient via Meta - Analysis  using  Hierarchical  Linear  Model. The purposes were 1) to study the variation of correlation coefficient both within group and between groups. 2) to describe the variation of correlation coefficient by characteristics of research. The population for this research were research reports related with the factors affected emotion quotient, completed for time ranging from A.D. 2000-2010. In addition, 40 reports. The research results were: 1) the variation of correlation coefficient of factors affecting emotion quotient within group equal 0.207 and the variation between groups equal 0.793 and had found that the variation of correlation coefficient factors affecting emotion quotient decreased. 2) characteristics of research had positive affecting on correlation coefficient of factors affecting emotion quotient with statistical significance at the level of .01 such as number of sample size. For thesis for master degree had positive affecting on correlation coefficient of factors affecting emotion quotient with statistical significance at the level of .05 and number of question that measured the dependent variable had negative affecting on correlation coefficient of factors affecting emotion quotient with statistical significance at the level of .05. When considered family factors which had correlation coefficient of factors affecting emotion quotient as dependent variable found that characteristics of research had positive affecting on correlation coefficient of factors affecting emotion quotient with statistical significance  at the level of .01 such as sample size from school and number of sample size while number of question for measured the dependent variable had negative affecting on correlation coefficient of factors affecting emotion quotient with statistical significance at the level of .05.  Characteristics of research were used to describe the variation of correlation coefficient of factors affecting emotion quotient together and obtain 27.40%.

 

Keywords: Factors affecting emotion quotient, Meta-Analysis, Hierarchical linear model.

 

บทคัดย่อ

การสังเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยที่ส่งผลต่อความฉลาดทางอารมณ์ โดยการวิเคราะห์อภิมาน ด้วยโมเดลเชิงเส้นระดับลดหลั่น มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความแปรปรวนของค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ภายในเล่มวิจัยและระหว่างเล่มวิจัย 2) เพื่ออธิบายความแปรปรวนของค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ด้วยตัวแปรคุณลักษณะงานวิจัย ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ รายงานการวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อความฉลาดทางอารมณ์  ซึ่งทำเสร็จในช่วงปี พ.ศ.2543 – 2553 จำนวน 40 เรื่อง ผลการวิจัยพบว่า 1) ความแปรปรวนของค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ภายในเล่มวิจัย เท่ากับ 0.207 ความแปรปรวนระหว่างเล่มวิจัย เท่ากับ 0.793 2) ตัวแปรคุณลักษณะงานวิจัยที่ส่งผลทางบวกต่อสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของปัจจัยที่ส่งผลต่อความฉลาดทางอารมณ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ได้แก่ จำนวนหน่วยตัวอย่าง ส่วนความเป็นปริญญานิพนธ์/ วิทยานิพนธ์ ระดับปริญญาโท ส่งผลทางบวกต่อค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของปัจจัยที่ส่งผลต่อความฉลาดทางอารมณ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และจำนวนข้อคำถามใช้วัดตัวแปรตามส่งผลทางลบต่อค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของปัจจัยที่ส่งผลต่อความฉลาดทางอารมณ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาปัจจัยด้านครอบครัว มีค่าเฉลี่ยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของปัจจัยด้านครอบครัวที่ส่งผลต่อความฉลาดทางอารมณ์เป็นตัวแปรตาม พบว่า ตัวแปรคุณลักษณะงานวิจัยที่ส่งผลทางบวกต่อค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของปัจจัยด้านครอบครัวที่ส่งผลต่อความฉลาดทางอารมณ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ได้แก่ ความเป็นกลุ่มตัวอย่างจากโรงเรียน และจำนวนหน่วยตัวอย่าง ส่วนจำนวนข้อคำถามใช้วัดตัวแปรตามส่งผลทางลบต่อค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของปัจจัยที่ส่งผลต่อความฉลาดทางอารมณ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และตัวแปรคุณลักษณะงานวิจัยร่วมกันอธิบายความผันแปรของค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของปัจจัยที่ส่งผลต่อความฉลาดทางอารมณ์ ได้ร้อยละ 27.40

 

คำสำคัญ: ปัจจัยที่ส่งผลต่อความฉลาดทางอารมณ์ การวิเคราะห์อภิมาน โมเดลเชิงเส้นระดับลดหลั่น

Downloads

How to Cite

สีหะมงคล ถ., กฤชคฤหาสน์ ส., & พงษ์ปิยะรัตน์ อ. (2014). A Study of Factors Affecting Emotional Quotient: Meta – Analysis with Hierarchical Linear Model. Journal of Behavioral Science for Development, 6(1). Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBSD/article/view/15969