Family Communication Patterns Affecting Sexual Risk Behaviors amongst Undergraduate Female Students in Bangkok Metropolitan

Authors

  • นภัสชญา โพประยูร นักศึกษาระดับมหาบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
  • พัชราภรณ์ เกษะประกร อาจารย์ประจำ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
  • มัลลิกา ผลอนันต์ อาจารย์ประจำ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

Abstract

รูปแบบการสื่อสารภายในครอบครัวที่มีต่อพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของนักศึกษาหญิงในเขตกรุงเทพมหานคร

 

Abstract

 

This research aims to examine the demographic characteristics and family background of female students in Bangkok Metropolitan and their family communication patterns (RFCP), to explore the differences in family communication pattern and its implications on their sexual risk behaviors (SRB), and to explore the relationship between their induced sexual risk behaviors and their unsafe sexual behaviors amongst female students in Bangkok Metropolitan. Four hundred questionnaires were being responded by female students who are currently studying in universities at Bangkok Metropolitan and were tabulated statistically with programs, by analyzing the means, standard deviation, Chi-Square, Multivariate Analysis of Variance (MANOVA), and Pearson Correlation.  The results are as follows: 1) Demographic characteristics and family background of female students in Bangkok Metropolitan-including geographic origin, personal income, education of mother, occupation of father, occupation of mother, and family income-are significantly correlated with their family communication patterns. 2) Female students Bangkok Metropolitan socialized in the laissez-faire family will have significant induced sexual risk behaviors and unsafe sexual behaviors than those students socialized in protective family, pluralistic family, and consensual family. 3) Female students’ induced sexual risk behaviors are significantly correlated with their unsafe sexual behaviors.

 

Keywords: family communication patterns, sexual risk behaviors,  sexual relations, Undergraduate Female Students 

 

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางประชากรและภูมิหลังของครอบครัว กับรูปแบบการสื่อสารภายในครอบครัวของนักศึกษาหญิงในเขตกรุงเทพมหานคร เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างรูปแบบการสื่อสารภายในครอบครัว กับพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของนักศึกษาหญิงในเขตกรุงเทพมหานคร และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมที่ชักนำไปสู่การมีเพศสัมพันธ์ กับพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัยของนักศึกษาหญิงในเขตกรุงเทพมหานคร  โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักศึกษาหญิงในเขตกรุงเทพมหานคร  จำนวน 400 คน จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ทางสถิติด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่  สถิติไคกำลังสอง การวิเคราะห์ความแปรปรวนตัวแปรพหุนาม การวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยรายคู่ และการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1) ลักษณะทางประชากรและภูมิหลังของครอบครัวของนักศึกษาหญิงในเขตกรุงเทพมหานคร ได้แก่ ภูมิลำเนา รายได้ต่อเดือน สถานภาพสมรสของบิดามารดา ระดับการศึกษาของบิดา ระดับการศึกษาของมารดา อาชีพของบิดา อาชีพของมารดา และรายได้ของครอบครัว เป็นตัวแปรที่มีความเกี่ยวข้องกับรูปแบบการสื่อสารภายในครอบครัวอย่างมีนัยสำคัญ 2) นักศึกษาหญิงที่มีรูปแบบการสื่อสารภายในครอบครัวแบบปล่อยปละ จะมีพฤติกรรมที่ชักนำไปสู่การมีเพศสัมพันธ์ และพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัยแตกต่างจากครอบครัวแบบปกป้อง เปิดเสรีทางความคิด และเห็นพ้องต้องกันอย่างมีนัยสำคัญ และ 3) นักศึกษาหญิงที่มีพฤติกรรมที่ชักนำไปสู่การมีเพศสัมพันธ์ จะมีความเกี่ยวข้องในทางบวกกับพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัยอย่างมีนัยสำคัญ

 

คำสำคัญ: รูปแบบการสื่อสารภายในครอบครัว พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ เพศสัมพันธ์ นักศึกษาหญิง

Downloads

How to Cite

โพประยูร น., เกษะประกร พ., & ผลอนันต์ ม. (2014). Family Communication Patterns Affecting Sexual Risk Behaviors amongst Undergraduate Female Students in Bangkok Metropolitan. Journal of Behavioral Science for Development, 6(1). Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBSD/article/view/16001