A Study of Factors Associated with Self-Protective Behavior of Pregnant Factory Workers from Occupational Hazard in Nakhonratchasima Province การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการสัมผัสสิ่งคุกคามจากการทำงานของพนักงานหญิงตั้งครรภ์ที่ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม จังหวัดนคร

Authors

  • Supaporn Sansae Graduate Student, Master of Science Program in Occupational Medicine Faculty of Medicine Srinakharinwirot University, E-mail: [email protected] , Tel. 668-9286-8990
  • Suthee Rattanamongkolgul Lecturer in Faculty of Medicine Srinakharinwirot University
  • Thasuk Junprasert Lecturer in Behavioral Science Research Institute, Srinakharinwirot University

Keywords:

pregnant women, self-protective behavior, occupational hazard

Abstract

This study was aimed to describe factors associated with self-protective behaviors from occupational hazard among pregnant employees working in factories. Data were collected from 11 pregnant employees who visited Maharatch Nakhon Ratchasima Hospital during October 2010 to March 2011 using in-depth interview technique. Key informants were purposively selected. The findings show that pregnant employees have been working in risk environment with occupational hazards. Pregnant women have varied self-protection measures depending on personal factors and factory factors. Individually, pregnant women were unaware of using personal protective equipment and of reporting pregnancy status due to income levels, previous experiences, familiarity of routine work of pregnant women. At the factory level, factor associated with protective behavior were having guidelines for using personal protective equipment, for reporting pregnancy and for taking care health and safety of pregnant women.

 

Key words: pregnant women,  self-protective behavior, occupational  hazard

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาปัจจัยของการปฏิบัติพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการสัมผัสสิ่งคุกคามจากการทำงานของพนักงานหญิงตั้งครรภ์ที่ทำงานโรงงานอุตสาหกรรม เก็บข้อมูลจากพนักงานหญิงตั้งครรภ์ทุกอายุครรภ์ ที่เข้ารับการฝากครรภ์ในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา เดือนตุลาคม 2553 ถึง มีนาคม 2554 ใช้การสัมภาษณ์แบบเจาะลึกกับตัวแทนหญิงตั้งครรภ์ 11 คน เลือกตัวอย่างแบบเจาะจง ผลการศึกษาพบว่า พนักงานหญิงตั้งครรภ์ ทำงานในสภาพงานที่มีความเสี่ยงต่อการสัมผัสสิ่งคุกคามจากงาน และพนักงานหญิงตั้งครรภ์มีการปฏิบัติพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากสิ่งคุกคามแตกต่างกันไปโดยขึ้นอยู่กับ ปัจจัยระดับบุคคล คือ ความตระหนักของพนักงานหญิงตั้งครรภ์ โดยแยกเป็น พฤติกรรมการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล และพฤติกรรมการแจ้งการตั้งครรภ์ ซึ่งมีปัจจัยมาจากรายได้ ประสบการณ์เดิม ความคุ้นชินในหน้างาน ของหญิงตั้งครรภ์เอง ส่วนปัจจัยระดับโรงงานประกอบด้วย แนวทางการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล แนวทางการแจ้งการตั้งครรภ์ของโรงงาน และแนวทางการดูแลด้านสุขภาพและความปลอดภัยพนักงานหญิงตั้งครรภ์

 

คำสำคัญ: พนักงานหญิงตั้งครรภ์ พฤติกรรมการป้องกันตนเอง  การสัมผัสสิ่งคุกคาม

Downloads

Published

2013-01-04

How to Cite

Sansae, S., Rattanamongkolgul, S., & Junprasert, T. (2013). A Study of Factors Associated with Self-Protective Behavior of Pregnant Factory Workers from Occupational Hazard in Nakhonratchasima Province การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการสัมผัสสิ่งคุกคามจากการทำงานของพนักงานหญิงตั้งครรภ์ที่ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม จังหวัดนคร. Journal of Behavioral Science for Development, 5(1). Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBSD/article/view/4698