Causal Structural Model of Readiness to ASEAN Citizens of Youth, Muang District, Chiang Mai Province ความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงสาเหตุของความพร้อมในการเข้าสู่ การเป็นพลเมืองอาเซียนของเยาวชน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

Authors

  • Veerawan Wongpinpech
  • Koongarnok Maneewong

Keywords:

ประชาคมอาเซียน การเข้าสู่การเป็นพลเมืองอาเซียน เยาวชนจังหวัดเชียงใหม่

Abstract

This study focused to (1) study the environment of institution, the knowledge of ASEAN community, the inquiry learning, the attitude towards being as the citizens of ASEAN and the  readiness to ASEAN citizens of youth in Muang District, Chiang Mai. and (2) investigate the causal structural model  of  readiness to ASEAN citizens of  youth.  The subjects were 1,200 students and were divided into 3 groups; the students who study in Mattayom 6, the students who study in third years at vocational certificate with the level of Por VO Sor,  and the first year students of universities who are currently studying in both of private and government institutions in Muang district, Chiang Mai. The multi-stage sampling was used to select the subjects.  The results were as follows: 1. The aspect of the environment of institutions in Chiang Mai had showed that they were conductive to learn about the access to the ASEAN community with the high level. Most of the students passed the criterion on the knowledge of ASEAN community. They had high level of the inquiry learning and had the moderate level with the attitude towards being as the citizens of Asean. Moreover, they rated the high level of all the readiness to ASEAN citizens of youth as the aspect of education, technology, career, society and culture except language which had the moderate level in preparation. 2. The casual analysis of the readiness to ASEAN citizens of youth in Muang District, Chiang Mai. After the model was adjusted, it was compatible with empirical data. It showed that path had statistically significant at .05 in all variables. The model’s overall fits were accepted; Chi-square statistics = 457.21, df = 119, p-value = .00; RMSEA = .05; SRMR= .05; GFI = .96; AGFI = .94;  CN = 405.87. In addition to, the results of the study confirmed that the environment of  institution had the most effected on the readiness to ASEAN citizens of  youth, inferior to the inquiry learning, the attitude towards being as  the citizen of ASEAN, and the knowledge of  ASEAN community.

 

Keywords: ASEAN community , being as the citizens of ASEAN,   youth in, Chiang Mai

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพแวดล้อมของสถานศึกษา ความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน ความใฝ่รู้ใฝ่เรียน เจตคติต่อการเข้าสู่การเป็นพลเมืองอาเซียนและความพร้อมในการเข้าสู่การเป็นพลเมืองอาเซียนของเยาวชน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ และ 2) ศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุของความพร้อมในการเข้าสู่การเป็นพลเมืองอาเซียนของเยาวชน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 นักศึกษาอาชีวศึกษา ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ชั้นปีที่ 3 และนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 ในสถาบันการศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 1,200 คน ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน พบผลการวิจัยที่สำคัญดังนี้สถานศึกษาในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ส่วนใหญ่มีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้เกี่ยวกับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในระดับมาก กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน ผ่านเกณฑ์ มีความใฝ่รู้ใฝ่เรียนในระดับมาก มีเจตคติต่อการเข้าสู่การเป็นพลเมืองอาเซียนในระดับปานกลาง และมีความพร้อมในการเข้าสู่การเป็นพลเมืองอาเซียนด้านต่างๆ ได้แก่ ด้านการศึกษา เทคโนโลยี การประกอบอาชีพและสังคม-วัฒนธรรมในระดับมากยกเว้นด้านภาษาพบว่า มีการเตรียมความพร้อมในระดับปานกลาง      โมเดลความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงสาเหตุของความพร้อมในการเข้าสู่การเป็นพลเมืองอาเซียนของเยาวชน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ หลังจากการปรับโมเดลแล้ว สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยเส้นอิทธิพลมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทุกตัวแปร และมีค่าการทดสอบความสอดคล้องอยู่ในเกณฑ์ยอมรับได้เกือบทุกค่า โดยโมเดลสุดท้ายมีค่าไค-สแควร์ (c2) = 457.21, df = 119, p-value = .00; RMSEA = .05; SRMR= .05; GFI = .96; AGFI = .94;และ CN = 405.87 และพบว่าตัวแปรที่ส่งผลมากที่สุดต่อความพร้อมในการเข้าสู่การเป็นพลเมืองอาเซียนของเยาวชน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ คือ สภาพแวดล้อมของสถานศึกษา รองลงมาคือ ความใฝ่รู้ใฝ่เรียน เจตคติต่อการเข้าสู่การเป็นพลเมืองอาเซียนและความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน

 

คำสำคัญ: ประชาคมอาเซียน การเข้าสู่การเป็นพลเมืองอาเซียน เยาวชนจังหวัดเชียงใหม่

Author Biographies

Veerawan Wongpinpech

Head of  Psychological Program ,  Payap University , E-mail: [email protected]

Koongarnok Maneewong

Lecturer in Psychological Program ,  Payap University

Downloads

Published

2013-01-04

How to Cite

Wongpinpech, V., & Maneewong, K. (2013). Causal Structural Model of Readiness to ASEAN Citizens of Youth, Muang District, Chiang Mai Province ความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงสาเหตุของความพร้อมในการเข้าสู่ การเป็นพลเมืองอาเซียนของเยาวชน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. Journal of Behavioral Science for Development, 5(1). Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBSD/article/view/4710