การถ่ายทอดองค์ความรู้ภูมิสารสนเทศด้านการอนุรักษ์และจัดการทรัพยากรทางธรรมชาติ และทางวัฒนธรรม ลุ่มน้ำคลองสวนหมาก จังหวัดกำแพงเพชร

Main Article Content

สุภาษพงษ์ รู้ทำนอง

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) รวบรวมและจัดทำชั้นข้อมูลระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) เพื่อสนับสนุนแนวทางการอนุรักษ์และจัดการทรัพยากรทางธรรมชาติและทางวัฒนธรรม ลุ่มน้ำคลองสวนหมาก จังหวัดกำแพงเพชร (2) วิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงภัยธรรมชาติและพื้นที่เหมาะสมในการปลูกพืชเศรษฐกิจ โดยใช้ภูมิสารสนเทศ และ (3) ถ่ายทอดองค์ความรู้ที่ได้สู่ชุมชน โดยการฝึกอบรม GIS การจัดทำหนังสือเล่มเล็กและหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ผลการศึกษา พบว่า สามารถรวบรวมและสร้างชุดชั้นข้อมูล ได้ 4 กลุ่ม 38 ชั้นข้อมูล ที่สำคัญเช่น พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม พื้นที่เสี่ยงภัยแล้ง พื้นที่เหมาะสมในการปลูกพืช แหล่งท่องเที่ยว และภูมิปัญญา การวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม 5 ระดับ พบว่า มีพื้นที่เสี่ยงมากร้อยละ 3.92 และมากที่สุดร้อยละ 0.81 การวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงภัยแล้ง พบว่า มีพื้นที่เสี่ยงมากร้อยละ 59.00 และมากที่สุดร้อยละ 17.84 การวิเคราะห์พื้นที่เหมาะสมในการปลูกพืช พบว่า พืชที่เหมาะสมที่จะปลูกในพื้นที่มากที่สุดคือ มันสำปะหลังและอ้อย การประเมินผลการฝึกอบรม พบว่า โดยภาพรวมผู้อบรมมีความพึงพอใจระดับมากที่สุด ส่วนการประเมินหนังสือเล่มเล็กและหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ พบว่า ผู้ใช้สื่อมีความพึงพอใจระดับมากถึงมากที่สุด

Article Details

How to Cite
[1]
รู้ทำนอง ส. 2018. การถ่ายทอดองค์ความรู้ภูมิสารสนเทศด้านการอนุรักษ์และจัดการทรัพยากรทางธรรมชาติ และทางวัฒนธรรม ลุ่มน้ำคลองสวนหมาก จังหวัดกำแพงเพชร. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 6, 2 (พ.ค. 2018), 427–452.
บท
บทความวิจัย

References

ขวัญชัย ชัยอุดม. 2559. การประยุกต์ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อประเมินพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งจังหวัดลพบุรี. วารสารเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ มหาวิทยาลัยบูรพา 1(1): 59-70.

คณะทำงานโครงการการบริหารจัดการน้ำแบบบูรณาการในพื้นที่แนวตะวันตกของจังหวัดกำแพงเพชร. 2556. การบริหารจัดการน้ำแบบบูรณาการในพื้นที่แนวตะวันตกของจังหวัดกำแพงเพชร รายงานฉบับสมบรูณ์. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, กรุงเทพฯ.

มงคลกร ศรีวิชัย. 2556. ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อเตรียมพร้อมรับมือพิบัติภัย กรณีศึกษาชุมชนหลักหก อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิศวกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยรังสิต 16(2): 1-9.

วัลลภ ทองอ่อน และสุภาสพงษ์ รู้ทำนอง. 2557. สารสนเทศเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้อยู่เย็นเป็นสุขตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร. วารสารพิกุล 12(2): 129-147.

วัลลภ ทองอ่อน. 2559. การเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังโดยการสังเคราะห์องค์ความรู้จากการวิจัย สื่อสารชุมชน และการประยุกต์ใช้ระบบภูมิสารสนเทศในจังหวัดกำแพงเพชร. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 4(1): 129-143.

สำนักงานเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ. 2558. Thailand flood monitoring system. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http:// flood.gistda.or.th/ (28 มีนาคม 2558).

สุพรรณ กาญจนสุธรรม และวุฒิชัย แก้วแหวน. 2559. แผนบริหารจัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำแบบบูรณาการโดยใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ จังหวัดชลบุรี. วารสารเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ มหาวิทยาลัยบูรพา 1(1): 1-13.

สุภาสพงษ์ รู้ทำนอง และวัลลภ ทองอ่อน. 2558ก. ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจในการบริหารจัดการน้ำของท้องถิ่นแบบบูรณาการในพื้นที่แนวตะวันตกของจังหวัดกำแพงเพชร วารสารพิกุล 13(2): 1-24.

สุภาสพงษ์ รู้ทำนอง และวัลลภ ทองอ่อน. 2558ข. ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจในการปลูกอ้อยและมันสำปะหลัง พื้นที่จังหวัดกำแพงเพชร วารสารพิกุล 13(1): 65-93.

สุภาสพงษ์ รู้ทำนอง. 2560. ภูมิสารสนเทศสำหรับการวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมและเสี่ยงภัยแล้งลุ่มน้ำคลองสวนหมาก จังหวัดกำแพงเพชร. สักทองวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 23(2): 86-103.

Gu, Y., J. Brown, J. Verdin and B. Wardlow. 2007. A five-year analysis of MODIS NDVI and NDWI for grassland drought assessment over the central Great Plains of the United States. Geo-physical Research Letters 34(6): 1-6

Malczewski, J. 1999. GIS and Multicriteria Decision Analysis. John Wiley and Sons, New York: 392 pages.
Rinner, C. and J. Malczewski. 2002. Web-enabled spatial decision analysis using ordered weighted averaging. Journal of Geographical Systems 4(4): 385-403.

USGS. 2015. Landsat 8 download. (Online). Available: http://earthexplorer.usgs. gov (March 16, 2015).