การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารจากพืชสมุนไพรที่ใช้ประกอบอาหารในชุมชน ตำบลหนองลาน อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี

Main Article Content

แสงแข สพันธุพงศ์

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารวบรวมภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านอาหาร พืชสมุนไพรที่ใช้ประกอบอาหาร เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารจากพืชสมุนไพรที่พบในชุมชน และเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีการทำผลิตภัณฑ์อาหารจากพืชสมุนไพรที่ใช้ประกอบอาหาร ผลจากการศึกษาพบว่า ภูมิปัญญาด้านอาหารของชุมชนหนองลานได้รับการปลูกฝังตั้งแต่เด็กจากครอบครัวในการเลือกพืชสมุนไพรมาบริโภค เทคนิคการปรุงอาหาร การเรียนรู้ส่วนใหญ่เป็นการพูดคุย บอกเล่า ลงมือทำให้ดู ให้ช่วยทำ ลงมือทำด้วยตนเอง สำหรับพืชสมุนไพรที่ได้เลือกมาใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ 2 ชนิดคือ กล้วย พัฒนาเป็นกล้วยแก้วสมุนไพร และตะไคร้พัฒนาเป็นเมี่ยงตะไคร้ทรงเครื่อง โดยแปรปริมาณกล้วยและตะไคร้ เป็น 3 ระดับ คือร้อยละ 0 20 และ 40 และร้อยละ 0 10 และ 20 ตามลำดับ พบว่า ปริมาณกล้วยและตะไคร้ที่ได้รับการยอมรับคือร้อยละ 20 มีค่าคะแนนความชอบอยู่ในระดับชอบปานกลาง มีรสชาติกลมกล่อม กลิ่นหอมสมุนไพร สามารถเก็บไว้ในอุณหภูมิห้องได้นาน 30 วัน จากนั้นนำมาทดสอบการยอมรับของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตจำนวน 100 คน ผู้บริโภคให้การยอมรับทั้งสองผลิตภัณฑ์คิดเป็นร้อยละ 94 ชุมชนสามารถนำผลผลิตไปจัดจำหน่ายในงานตลาดคลองผดุงกรุงเกษม พม.ตลาดน้ำใจ วิถีไทยผดุง เป็นการสร้างรายได้ให้กับชุมชนต่อไป

Article Details

How to Cite
[1]
สพันธุพงศ์ แ. 2018. การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารจากพืชสมุนไพรที่ใช้ประกอบอาหารในชุมชน ตำบลหนองลาน อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 5, 2 (มิ.ย. 2018), 260–281.
บท
บทความวิจัย

References

กำจร ตติยกวี. 2558. งานวิจัยกับการพัฒนาประเทศ. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 3(1): 1-4.

ฐาปนี เลขาพันธ์ และจุฑารัตน์ ศราวณะวงศ์. 2558. การจัดการความรู้ด้านสมุนไพร กรณีศึกษา กลุ่มสมุนไพรบ้านดงบัง ตำบลดงขี้เหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี. วารสารบรรณศาสตร์ มศว. 8(1): 12-25.

ดวงเด่น บุญปก. 2558. บทบาทของครอบครัวในการสืบทอดภูมิปัญญาเกี่ยวกับอาหาร: กรณีศึกษาครอบครัวไทยภาคกลาง. วารสารปาริชาต มหาวิทยาลัยทักษิณ 29(1): 16-38.

ทศพร ศิริสัมพันธ์. 2556. ชุมชนเข้มแข็ง สังคมน่าอยู่ เศรษฐกิจยั่งยืน ด้วยงานวิจัย. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 1(2): 1-5.

นพรัตน์ วงศ์หิรัฐเดชา. 2554. การพัฒนาเมี่ยงคำสำเร็จรูปจากถั่วลิสงผสมข้าวพองและการยืดอายุการเก็บรักษา. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ 3(4): 104-117.
ศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว. 2545. Water Activity กับการควบคุมอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์อาหาร. วารสารจาร์พา 9(68): 1-3.

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. 2548. ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจัดทำแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2548. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.local.moi.go.th/law003.pdf. (28 ตุลาคม 2558).

สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน. 2548. มาตรฐานชุมชนของผลิตภัณฑ์สมุนไพรและธัญพืช 902/2548. กระทรวงอุตสาหกรรม, กรุงเทพฯ. 5 หน้า.

สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน. 2548. มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ไส้เมี่ยง 725/2548. กระทรวงอุตสาหกรรม, กรุงเทพฯ. 6 หน้า.

สำนักส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นและวิสาหกิจชุมชน. 2558. คู่มือการดำเนินงานผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP รายใหม่. กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย, กรุงเทพฯ. 122 หน้า.

Grandi Castro and Daniela de. 2005. Development and study of cereal bar stability of proteic and vitamic contents high. (online). Available: http://www.openthesis.org/documents/Development-study-cereal-bar-stability-466664.html.(Apirl 15, 2016).