ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการคัดแยกขยะมูลฝอยของประชาชนชุมชนที่ 2 เทศบาลเมืองวังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว

Main Article Content

ศุภษร วิเศษชาติ
สมบัติ ศิลา
สุนิศา แสงจันทร์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์งานวิจัยนี้เพื่อศึกษาพฤติกรรมการคัดแยกขยะมูลฝอย ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการคัดแยกขยะมูลฝอย ความตระหนักในการคัดแยกขยะมูลฝอย การได้รับการส่งเสริมจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ความตระหนักและการได้รับการส่งเสริมกับพฤติกรรมการคัดแยกขยะมูลฝอยของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองวังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว ตัวอย่างที่ศึกษาคือตัวแทนหลังคาเรือนในชุมชนหมู่ที่ 2 จำนวน 157 หลังคาเรือน วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติพรรณนา ในรูปจำนวน ร้อยละ และใช้สถิติอ้างอิงในการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ในรูปสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการคัดแยกขยะมูลฝอยในระดับมาก (= 7.12, S.D. = 1.94) มีความตระหนักในการคัดแยกขยะมูลฝอยในระดับมาก (= 16.77, S.D. = 2.13) ได้รับการส่งเสริมจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในระดับน้อย (= 8.72, S.D. = 3.54) มีพฤติกรรมในการคัดแยกขยะมูลฝอยในระดับน้อย (= 12.39, S.D. = 8.14) จากการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรพบว่า ความรู้มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการคัดแยกขยะมูลฝอย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05, r = 0.174) ความตระหนักไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการคัดแยกขยะมูลฝอย (P < 0.05) และการได้รับการส่งเสริมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการคัดแยกขยะมูลฝอย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05, r = 0.243)

Article Details

How to Cite
[1]
วิเศษชาติ ศ., ศิลา ส. และ แสงจันทร์ ส. 2018. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการคัดแยกขยะมูลฝอยของประชาชนชุมชนที่ 2 เทศบาลเมืองวังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 5, 2 (มิ.ย. 2018), 422–445.
บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมมลพิษ. 2551. คู่มือแนวทางการลด คัดแยก และใช้ประโยชน์ขยะมูลฝอยสำหรับอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน. รุ่งศิลป์การพิมพ์, กรุงเทพฯ. 144 หน้า

กรมควบคุมมลพิษ. (2558). Road Map การจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย. (ระบบออนไลน์).แหล่งข้อมูล: http://uttaradit.mnre.go.th/
main.php?filename=WasteManagement (21 กรกฎาคม 2559)

กองส่งเสริมบำรุงความรู้ กรมยุทธศึกษาทหารบก. 2556. การจัดการและการคัดแยกขยะ. ยุทธโกษ 121: 66 – 70.

จำลอง โพธิ์บุญ. 2551. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดี: กรณีศึกษาเทศบาลนครพิษณุโลก. วารสารร่มพฤกษ์ 26(3): 1 - 39.

เทศบาลเมืองวังน้ำเย็น. 2553. หวั่นขยะล้นเมือง เทศบาลตำบลวังน้ำเย็นผุด "โรงกำจัดขยะ". (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.wangnamyen.net/index.php?lay=show&ac=article&Id=5363706&Ntype=2 (19 พฤศจิกายน 2558).

เทศบาลเมืองวังน้ำเย็น. 2554. บัญชีสรุปโครงการพัฒนา แผนพัฒนา 3 ปี (พ.ศ. 2554 - 2556) เทศบาลเมืองวังน้ำเย็น. เอกสารราชการ. เทศบาลเมืองวังน้ำเย็น, สระแก้ว. 9 หน้า.

เทศบาลเมืองวังน้ำเย็น. 2557. โครงการธนาคารขยะ เทศบาลเมืองวังน้ำเย็น. เอกสารรายงานผลการดำเนินงาน. เทศบาลเมืองวังน้ำเย็น, สระแก้ว. 34 หน้า.

บรรจง วิทยถาวรวงศ์ และอิทธิกร ขําเดช. 2554. ปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจในการแยกขยะครัวเรือนของประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร. การเงิน การลงทุน การตลาด และการบริหารธุรกิจ 1(2): 85 – 112.

บุญจง ขาวสิทธิวงษ์. 2554. ปัจจัยการมีส่วนร่วมของประชาชนในการคัดแยกขยะมูลฝอยชุมชนในเขตยานนาวา. วารสารสมาคมนักวิจัย 16(3): 152 – 161.

ปราณิสา นาคสุข. 2556. การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการจัดการขยะมูลฝอย: กรณีศึกษาเทศบาลนครสมุทรปราการ ตำบลปากน้ำ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยศรีปทุม 1(9): 525 – 538.

มงคลกร ศรีวิชัย ชายแดน พิรุณเดช ธีระพงษ์ วงค์สอน และจาตุรนต์ กาศมณี. 2557. การจัดการขยะมูลฝอยของชุมชนในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองพาน อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 2(3): 245 – 254.

Yamane, T. 1973. Statistics: an introductory analysis. Harper & Raw, New York. 1130 p.