การศึกษาโซ่อุปทานการจัดการขยะมูลฝอยขององค์การบริหารส่วนตำบลเพนียด อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี

Main Article Content

สุรยุทธ ทองคํา
สุธิษา เชญชาญ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ศึกษาเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยขององค์การบริหารส่วนตำบลเพนียด มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการขยะมูลฝอย, วิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นและเสนอแนวทางการจัดการขยะ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ กลุ่มชาวบ้านชุมชนเพนียด, เด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านเพนียดและโรงเรียนบ้านนกเขาเปล้า, นายกองค์การบริหารส่วนตำบล ผู้นำชุมชนและเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบล เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย การสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยพบว่าผู้สูงอายุและเยาวชนคือกลุ่มคนสำคัญในการจัดการขยะในครัวเรือนและชุมชน การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าการจัดการขยะมูลฝอยที่ได้ผลต้องหาสาเหตุและลดปริมาณขยะที่ต้นทาง , การสร้างแรงจูงใจในการแยกขยะให้กับครัวเรือนและการอำนวยความสะดวกในการนำขยะมาขายจะเป็นแนวทางเชิงรุกที่ดีกว่าการเพิ่มปริมาณรถขยะหรือการสร้างบ่อขยะเพิ่ม

Article Details

How to Cite
[1]
ทองคํา ส. และ เชญชาญ ส. 2019. การศึกษาโซ่อุปทานการจัดการขยะมูลฝอยขององค์การบริหารส่วนตำบลเพนียด อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 7, 1 (ม.ค. 2019), 105–114.
บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. 2561. แผนปฏิบัติการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน “จังหวัดสะอาด” ประจำปี พ.ศ. 2561.
กระทรวงมหาดไทย. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล:
http://www.dla.go.th/upload/document/type2/2018/1/19390_2_1516003578311.pdf?time=1516143862616(9 พฤษภาคม 2561).

ปิติพงษ์ วิริยปิยะ. 2559. การศึกษาแนวทางพัฒนาการจัดการขยะมูลฝอยของเทศบาลตำบลบ้านเป็ด อำเภอเมือง จังหวัด
ขอนแก่น. วารสารธรรมทรรศน์ 16(3): 63-75

พัชญทัฬห์ กิณเรศ และ นารถระพี นาคะวัจนะ. 2560. กระบวนการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะที่ต้นทางเพื่อลดปริมาณขยะของ
ชุมชนนาราชควาย จังหวัดนครพนม. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ 9(3): 191-205

มงคลกร ศรีวิชัย ชายแดน พิรุณเดช ธีระพงษ์ วงค์สอนและจาตุรนต์ กาศมณี. 2557. การจัดการขยะมูลฝอยของชุมชนในเขตพื้นที่
องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองพาน อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต
2(3): 245-254.

วลัยลักษณ์ อมรสิริพงศ์ ภรสรัญ แก่นทองและศานติกร พินยงค์. 2558. รูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยที่เหมาะสม: กรณีศึกษา
โรงเรียนกําแพงแสนวิทยาอําเภอกําแพงแสนจังหวัดนครปฐม. วารสารวิจัยสหวิทยาการไทย 10(2): 16-23

วิชัย โถสุวรรณจินดา. 2558. มาตรการทางกฎหมายในการจัดการขยะมูลฝอยของประเทศไทย. วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม
11(2): 77-89

สรรพสิทธิ์ แก้วเฮ้า. 2557. การมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยของชุมชนเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองโก อำเภอบรบือ
จังหวัดมหาสารคาม. วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม 10(1): 93-103