การประเมินผลกระทบทางสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเกษตรกรผู้ปลูกหอมแดงตำบลชัยจุมพล อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์

Main Article Content

พงษ์ศักดิ์ อ้นมอย
พีรญา อึ้งอุดรภักดี

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลกระทบทางสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเกษตรกรผู้ปลูกหอมแดงตำบลชัยจุมพล อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ ประชากร คือ เกษตรกรผู้ปลูกหอมแดงจำนวน 304 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์และแบบสัมภาษณ์เชิงลึก เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนมิถุนายน – ตุลาคม 2558 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิตเชิงพรรณนาหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่าเกษตรกรมีระดับในการป้องกันตนเองโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีพฤติกรรมการป้องกันตนเองก่อนการใช้  ระหว่างการใช้  และหลังการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอยู่ในระดับปานกลาง สำหรับผลกระทบทางสุขภาพพบว่าเกษตรกรมีอาการผลกระทบสุขภาพทางกายส่วนใหญ่มีอาการตาแดง  แสบตา  คัน  เจ็บคอ  ไอ  ปวดหัว  วิงเวียน  และเหนื่อยง่าย ผลกระทบทางสุขภาพจิต  คือ  รู้สึกกังวลจากการที่สารเคมีกำจัดศัตรูพืชมีราคาแพงทำให้ต้นทุนการผลิตสูง ผลกระทบทางสุขภาพสังคมคือการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชทำให้เกิดหนี้สินนำไปสู่การมีปัญหาครอบครัวและผลกระทบทางสุขภาพจิตวิญญาณคือรู้สึกว่าภูมิปัญญาท้องถิ่นลดลงหรือหายไป

Article Details

How to Cite
[1]
อ้นมอย พ. และ อึ้งอุดรภักดี พ. 2018. การประเมินผลกระทบทางสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเกษตรกรผู้ปลูกหอมแดงตำบลชัยจุมพล อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 4, 3 (มิ.ย. 2018), 416–428.
บท
บทความวิจัย

References

จารุวรรณ ไตรทิพย์สมบัติ เพลินพิศ จับกลางสุวิมล บุญเกิด และอัญชลี อาบสุวรรณ์. 2557. การศึกษาความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรบ้านห้วยสามขา ตำบลทัพรั้ง อำเภอพระทองคำ จังหวัดนครราชสีมา. ศรีนครินทร์เวชสาร 29(5): 429-434.

นิตยา สามปาละ. 2554. การประเมินผลกระทบสุขภาพเบื้องต้นจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรสวนลำไยและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องตำบลชมภู อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่. วารสารบัณฑิตวิจัย 1(2): 5-12.

นิภาพร ศรีวงษ์ และอุไรวรรณ อินทร์ม่วง. 2556. ผลกระทบต่อสุขภาพของเกษตรกรจากการทำไร่อ้อย ตำบลหนองกุงแก้ว อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 6(2): 14-22.

บังอร ศิริสัญลักษณ์. 2558. รูปแบบการทำการเกษตรกับการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 3 (3): 319-330.

ประชุมพร เลาห์ประเสริฐ วีระศักดิ์ สืบเสาะ และคมศร เลาห์ประเสริฐ. 2551. การใช้สารเคมีและพฤติกรรมการป้องกันตนเองต่อสารเคมีกำจัดศัตรูพืช อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม. วารสารสุขศึกษา 31(110): 91-106.

ยุวยงค์ จันทรวิจิตร อนนท์ วิสุทธิ์ธนานนท์ ธนพรรณ จรรยาศิริ ชลอศรี แดงเปี่ยม นงเยาว์ อุดมวงศ์ สุชาดา เหลืองอาภาพงศ์ และธานี แก้วธรรมานุกูล. 2550. ปัญหาและความต้องการเกี่ยวกับการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร. พยาบาลสาร 34(1): 154 - 163.

วรเชษฐ์ ขอบใจ อารักษ์ ดำรงสัตย์ พิทักษ์พงศ์ ปันต๊ะ และเดช ดอกพวง. 2553. พฤติกรรมการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชและระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือดของกลุ่มเกษตรกรต้นน้ำ: กรณีศึกษาชาวเขาเผ่าม้ง จังหวัดพะเยา. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 4 (2): 36-45.

สำนักงานเกษตรจังหวัดอุตรดิตถ์. 2556. รายงานประจำปี 2555. สำนักงานเกษตรจังหวัดอุตรดิตถ์, อุตรดิตถ์. 115 หน้า.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2556. สถิติการเกษตรของประเทศไทยปี 2556. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด, นนทบุรี. 237 หน้า.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุตรดิตถ์. 2557. รายงานผลการดำเนินงานอาชีวอนามัยภาคเกษตร ปี 2556. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุตรดิตถ์, อุตรดิตถ์. 64 หน้า.

สำนักระบาดวิทยา. 2554. รายงานการเฝ้าระวังโรคประจำปี พ.ศ.2554. สำนักระบาดวิทยา, นนทบุรี. 431 หน้า.

สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. 2557. รายงานประจำปี 2557 สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. กระทรวงสาธารณสุข, นนทบุรี. 104 หน้า.

สุนิสา ชายเกลี้ยง และสายชล แปรงกระโทก. (2556). การประเมินทางชีวภาพด้านความเสี่ยงต่อการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในกลุ่มเกษตรกรผู้ทำนา: กรณีศึกษาตำบลแก้งสนามนาง อำเภอแก้งสนามนาง จังหวัดนครราชสีมา. ศรีนครินทร์เวชสาร 28(3): 238-389.

อิสราภรณ์ หงส์ทอง และอุไรวรรณ อินทร์ม่วง. 2552. ผลกระทบของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชต่อสุขภาพเกษตรกรกลุ่มปลูกหอมแดงตำบลบึงบอน อำเภอยางชุมน้อย จังหวัดศรีษะเกษ. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2(2): 63-70.

Kachaiyaphum, P., N.Howteerakul, D.Sujirarat, S.Siri and N.Suwannapong. 2010. Serum cholinesterase levels of Thai chilli-farm workers exposed to chemical pesticides: prevalence estimates and associated factors. Journal of Occupational Health 5(1): 89-98.

Sapbamrer, R., A. Damrongsat and P. Kongtan. 2011. Health impact assessment of pesticide use in northern thai farmers. Journal of Environment Research 33(1): 1-11.