การออกแบบและเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น: ผ้าถุงพิมพ์ลายผ้าซิ่นอีสาน

Main Article Content

จิตต์โสภา เฉลียวศักดิ์
ชัยยุทธ กลีบบัว
อังคณา รุ่งอุทัย
ทิพย์สุดา ธิอูป

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ออกแบบและเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ผ้าถุงพิมพ์ลายผ้าซิ่นอีสาน 2) วิเคราะห์แนวทางการขยายกลุ่มผู้บริโภคผลิตภัณฑ์ และ 3) พัฒนากลยุทธ์ทางการตลาดของผลิตภัณฑ์ โดยออกแบบและเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ด้วยการบูรณาการแนวคิดผู้บริโภคเป็นศูนย์กลางในการออกแบบ กับการวิเคราะห์แนวโน้มแฟชั่น Spring/Summer 2018 ผู้วิจัยเก็บข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญด้านแฟชั่นและผู้บริโภคกลุ่มนักศึกษาและวัยทำงานตอนต้น สร้างร่างผลิตภัณฑ์ต้นแบบเพื่อทดสอบความพึงพอใจของผู้บริโภคต่อผลิตภัณฑ์ พร้อมทั้งวิเคราะห์แนวทางการตลาด ผลการวิจัยพบว่า ชุดลำลองมีศักยภาพในการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์และมีแนวโน้มขยายฐานผู้บริโภคสู่กลุ่มนักศึกษาและวัยทำงานตอนต้น กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่สนใจผ้าซิ่นลายนาคต้นสน (39%) การแทรกแถบลายเล็กน้อย (68%) การออกแบบในเฉดสีเข้มและสีโทนอบอุ่น และเมื่อทดสอบความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างต่อผลิตภัณฑ์พบว่า เพศหญิง 56.4% พึงพอใจแบบที่ 4 ขณะที่เพศชาย 59.4% พึงพอใจแบบที่ 8 ส่วนแนวทางการตลาด ผู้ประกอบการควรจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในช่องทางออนไลน์ และควรกำหนดช่วงราคาจำหน่ายไม่เกิน 500 บาทต่อชุด เพื่อให้สัมพันธ์กับกำลังซื้อ และกลุ่มเป้าหมาย

Article Details

How to Cite
[1]
เฉลียวศักดิ์ จ., กลีบบัว ช., รุ่งอุทัย อ. และ ธิอูป ท. 2019. การออกแบบและเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น: ผ้าถุงพิมพ์ลายผ้าซิ่นอีสาน. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 7, 3 (ก.ย. 2019), 226–238.
บท
บทความวิจัย

References

กิตติกรณ์ นพอุดมพันธุ์. 2559. การสร้างสรรค์เสื้อผ้าเครื่องแต่งกายจากทฤษฎีการรื้อสร้าง (Deconstruction) : กรณีศึกษาผ้าไหมมัดหมี่พื้นบ้าน อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ 17(2): 81-94.
Nopudomphan, K. 2016. Designing fashion from deconstruction process: case study Ikat silk in Pakthongchai, Nakhonratchasima province. Institute of Culture and Arts Journal 17(2): 81-94.
วัฒนะ จูฑะวิภาต. 2555. ผ้าทอกับชีวิตคนไทย. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี 6(2): 103-126.
Juthawiphat, W. 2012. Textile: Reflection of Thai Life. DRU Journal 6(2): 103-126.
ณัฐชยา เหล็กอิ่ม. 2557. โครงการออกแบบเครื่องประดับสไตล์ Gypset จากการวิเคราะห์เจาะเทรนด์โลกปี 2015. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
Lekim, N. 2014. Jewelry design project for gypset style from the trend analysis world in 2015. Banngkok: Silpakorn University.
ดาริน ลือนาม. 2551. การออกแบบเครื่องแต่งกายเพื่อช่วยอำพรางรูปร่าง. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
Luenam, D. 2008. Costume design for illustration to solve figure's problem. Bangkok: Silpakorn University.
เมธ์วดี พยัฆประโคน พฤทธิ์ ศุภเศรษฐศิริ นพดล อินทร์จันทร และกิตติกรณ์ นพอุดมพันธ. 2560. ผ้าไหมทอมือพื้นบ้านในเขตพื้นที่จังหวัดสุรินทร์. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ 18(1): 94-105.
Phayakphakhon, M., Supasetsiri, P., Inchan, N. and Nopudomphan, K. 2017. Folk handweaving silk in Surin province. Institute of Culture and Arts Journal 18(1): 94-105.
Srinakharinwirot University.