ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการยังชีพกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ บ้านแม่ส้าน อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง

Main Article Content

กนิษฐ์กานต์ ปันแก้ว
เกษทิพย์ ศิริชัยศิลป์
เศรษฐวิชญ์ ชโนวรรณ
กิตติกา ลิมปริวัฒนา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการยังชีพกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ บ้านแม่ส้าน อำเภอ แม่เมาะ จังหวัดลำปาง ใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทชุมชนและ ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการยังชีพ 2) พัฒนาฐานข้อมูล 3) สร้างและหาประสิทธิภาพบทเรียนท้องถิ่น และ 4) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนที่เรียนด้วยบทเรียนท้องถิ่น กับเกณฑ์ร้อยละ 80 ประชากรที่ใช้ในการศึกษาผลการใช้บทเรียนท้องถิ่น ได้แก่ นักเรียนโรงเรียนบ้านแม่ส้าน จำนวน 30 คน และชุมชน จำนวน 30 คน  เครื่องมือ ประกอบด้วย  แบบสำรวจบริบทชุมชน  แบบสัมภาษณ์แบบเจาะลึก และบทเรียนท้องถิ่น (บทเรียนสำเร็จรูป) พบว่า 1) ชุมชนบ้านแม่ส้านทั้งหมดเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ นับถือศาสนาพุทธ 2)  ฐานข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการยังชีพจัดทำในรูปแบบเว็บไซต์ 3) บทเรียนท้องถิ่นมีคุณภาพในระดับมาก และมีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.79/83.35 และ 90.68/88.35 ของนักเรียนและชุมชนตามลำดับ และ 4) นักเรียนและชุมชนที่เรียนด้วยบทเรียนท้องถิ่น มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ร้อยละ 83.65 และ 89.85 ตามลำดับ เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับเกณฑ์ พบว่า นักเรียนร้อยละ 83.33  (25 คน) และชุมชนร้อยละ 100 (30 คน)  มีคะแนนสอบผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80           

Article Details

How to Cite
[1]
ปันแก้ว ก., ศิริชัยศิลป์ .เ., ชโนวรรณ เ. และ ลิมปริวัฒนา ก. 2019. ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการยังชีพกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ บ้านแม่ส้าน อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 7, 1 (ม.ค. 2019), 1–11.
บท
บทความวิจัย

References

กนิษฐ์กานต์ ปันแก้ว เบญจมาศ พุทธิมา ภาณุวัฒน์ รังสรรค์ และเจือจันทร์ วงศ์พลกานันท์. 2558. การศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพด้านศิลปวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ในชุมชนรอบวัดศิลปะพม่า อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง. วารสารการวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน. 8(2): 98-109.

จารุวรรณ ลิมป์ไพบูลย์. 2556. การสร้างระบบฐานข้อมูลเพื่อการพัฒนาชุมชนของหมู่บ้านทุ่งบ่อแป้น อ. ห้างฉัตร จ. ลำปาง. หน้า 117-126. ใน: รายงานสืบเนื่องจากการระชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ประจำปี 2556.
“The Wisdom for Social Development: พลังปัญญาพัฒนาสังคม” มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, อุตรดิตถ์.
ชวน เพชรแก้ว. 2547. การยกระดับและการปรับใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในสถานการณ์ปัจจุบัน. สารภาษาไทย 2(3): 14-23 (มกราคม-มีนาคม) 2547.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. 2556. การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย 5(1): 7-20.

พรพิมล วรรณะ. 2559. การสร้างบทเรียนสำเร็จรูป เรื่องสำนวนไทย สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) วิทยาลัยเทคนิคเพชรบูรณ์. วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 13(2): 107-116.
นันทสาร สีสลับ. 2558. สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.saranukromthai.or.th/sub/book/book.php?book=23&page=main (16 ธันวาคม 2558).

ประคอง นิมมานเหมินท์. 2554. ไขคำแก้วคำแพง พินิจวรรณกรรมไทย-ไท. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์, กรุงเทพฯมหาวิทยาลัย.

ประภาพรรณ เส็งวงค์. 2551. การพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ด้วยวิธีการวิจัยในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 2. ห้างหุ้นส่วนจำกัดภาพพิมพ์, กรุงเทพฯ.

วาโร เพ็งสวัสดิ์. 2551. การเขียนรายงานการพัฒนาผลงานทางวิชาการ: นวัตกรรมทางการศึกษา. โรงพิมพ์สมศักดิ์การพิมพ์, สกลนคร.

สุกัญญา สุพรรรณรัตน์. 2559. การพัฒนาบทเรียนสำเร็จรูป หน่วย พลังงานแสง กลุ่มสาระการ เรียนรู้วิทยาศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้การจัดการเรียนรู้ที่เน้นการเรียนเชิงรุก. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มศว. 10(2): 162-173.

สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์. (2547). ภูมิปัญญาชาวบ้านภาคใต้. โรงพิมพ์สงขลาการพิมพ์, สงขลา.
Edu Tech Wiki. 2008. Programmed instruction. (Online). Available: http://edutechwiki.unige.ch/en/Programmed_instruction (December 16, 2015).

Otto, Jason T. 2004. The use of computer-based programmed instruction as a supplemental tool to train behavior analysis concepts. Ph.D. Dissertation. Western Michigan University, Kalamazoo, MI.