ปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุที่เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่มาใช้บริการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตำบลสระตะเคียน อำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

รินทร์หทัย กิตติ์ธนารุจน์
รัชนีกร ทบประดิษฐ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ  1)  ศึกษาระดับความซึมเศร้าของผู้สูงอายุที่เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่มาใช้บริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล  2)  ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล สุขภาพกายและสุขภาพสังคมกับภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุที่เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่มาใช้บริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล  3)  ศึกษาอำนาจการทำนายของปัจจัยส่วนบุคคล สุขภาพกายและสุขภาพสังคมกับภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุที่ไม่เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่มาใช้บริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล  กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้สูงอายุทั้งเพศชายและเพศหญิง จำนวน 275 คน สามารถพูดคุยสื่อสารได้ ไม่มีความบกพร่องทางด้านการรู้คิด และเป็นผู้ใช้บริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลสระตะเคียน อำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา ผู้วิจัยใช้แบบประเมินภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุและแบบวัดความซึมเศร้าในผู้สูงอายุของไทย (Thai Geriatric Depression Scale : TGDS) เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ทำการตรวจสอบความเชื่อมั่นของแบบสอบถามโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาช มีค่าเท่ากับ 0.679  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณ  ผลการวิจัยพบว่า  ผู้สูงอายุในตำบลสระตะเคียนมีผู้ซึมเศร้าร้อยละ 41.45 ไม่มีภาวะซึมเศร้าร้อยละ 58.5 แบ่งเป็นซึมเศร้าเล็กน้อยร้อยละ 29.8 ซึมเศร้าปานกลางร้อยละ 10.5 และซึมเศร้ามากร้อยละ 1.1  ปัจจัยส่วนบุคคลไม่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุ  ปัจจัยด้านสุขภาพที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  ได้แก่  โรคประจำตัวและการรับรู้ภาวะสุขภาพโดยมีความสัมพันธ์ทางบวกกับภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุ มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.198  นั่นคือหากผู้สูงอายุมีโรคประจำตัวและการรับรู้ภาวะสุขภาพในระดับสูงก็จะมีภาวะความซึมเศร้าในระดับสูงด้วย  ปัจจัยด้านสุขภาพสังคมที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  ได้แก่ สิทธิการรักษาโดยมีความสัมพันธ์ทางบวกกับภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุ มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.134   แสดงให้เห็นว่าหากผู้สูงมีปัญหาด้านสิทธิการรักษาก็จะทำให้เกิดปัญหาภาวะซึมเศร้า  โดยตัวแปรที่สามารถทำนายภาวะซึมเศร้า ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ปัจจัยด้านการเงิน สัมพันธภาพในครอบครัว โรคประจำตัวและสิทธิการดูแลรักษาซึ่งสามารถร่วมกันทำนายภาวะซึมเศร้า ได้ร้อยละ 35.0 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ 0.05  (gif.latex?R^{2}=  0.350, p< .05)

Article Details

How to Cite
[1]
กิตติ์ธนารุจน์ ร. และ ทบประดิษฐ์ ร. 2019. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุที่เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่มาใช้บริการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตำบลสระตะเคียน อำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 7, 1 (ม.ค. 2019), 69–80.
บท
บทความวิจัย

References

1. เกริกชัย พิชัย. 2546. ความชุกของภาวะซึมเศร้าและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในผู้สูงอายุแผนกผู้ป่วยนอกอายุรกรรมที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์. คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์, กรุงเทพฯ. 74 หน้า.
2. กัตติกา ธนะขว้าง. 2558. การวิจัยภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุโรคเบาหวานในประเทศไทย. นครราชสีมา : สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี, นครราชสีมา. 144 หน้า.
3. กาญจนา ไทยเจริญ. 2543. ปัจจัยที่เป็นตัวทำนายภาวะสุขภาพจิตของผู้สูงอายุในจังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต. สาขาวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี. 126 หน้า.
4.ชัดเจน จันทรพัฒน์. 2543. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรรกับภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุในโรงพยาบาล. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์, สงขลา. 131 หน้า.
5. ปราโมทย์ วังสะอาด. 2530. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อสุขภาพจิตของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต. สาขาวิชาประชากรศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยมหิดล, กรุงเทพฯ. 97 หน้า. ุ
6. สุจรรยา แสงเขียวงาม. 2560. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุที่เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่มาใช้บริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลบึงคำพร้อย หมู่ 11 อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี. คณะพยาบาลศาสตร์วัชรพล มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น, ปทุมธานี. 221 หน้า.
7. Archana Singh and Nishi Misra. 2009. Depression and Sociability in old age. Ind PsychiatryJ. Jan-Jun; 18(1): 51-55.
8. Fiske, A. Wetherell, JL. and Gatz, M. 2009. Depression in older adults. Annu Rev ClinPsychol. 5 : 363-89.
9. SangNam Ahn, Seonghoon Kim and Hongmei Zhang. 2017. Changes in Depressive Symptoms Older Adults with Multiple Chronic Condition : Role of Positive and Negative Social Support. Int J Environ Res Public Health. 14(1) : 16.