พลวัตการจัดการทรัพยากรธรรมชาติของชุมชนในจังหวัดน่าน

Main Article Content

เยาวเรศ เชาวนพูนผล
ธเนศ ศรีวิชัยลําพันธ์

บทคัดย่อ

จากการเร่งรัดพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยที่ผ่านมา ได้ส่งผลต่อความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติในหลายพื้นที่ โดยน่านเป็นอีกจังหวัดที่ได้รับผลกระทบดังกล่าว จากการเปลี่ยนระบบการผลิตทางการเกษตรเพื่อป้อนสู่ภาคอุตสาหกรรม การศึกษาครั้งนี้จึงมุ่งนำเสนอประเด็นการจัดการและการปรับตัวของชุมชนเพื่อฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติในจังหวัดน่าน (อำเภอภูเพียง ท่าวังผา และสันติสุข) วิเคราะห์ข้อมูลตามกรอบของเวลา โดยทำความเข้าใจปฏิสัมพันธ์ระหว่างการดำเนินกิจกรรมของชุมชน เพื่อให้เห็นความเชื่อมโยงของระหว่างระบบนิเวศน์มนุษย์กับนิเวศน์ทางกายภาพในพื้นที่แบบองค์รวม (holistic) รวมทั้งการปรับตัวของชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า การจัดการทรัพยากรของชุมชนจำแนกได้เป็น 3 ยุค คือ 1) ช่วงก่อตั้งถิ่นฐานหรือก่อนการเปิดสัมปทาน 2) ชุมชนช่วงขยายตัว และ3) ชุนชนยุคปัจจุบัน ซึ่งในภาพรวม 3 พื้นที่เป้าหมายมีการเปลี่ยนแปลงที่คล้ายคลึงกัน ส่วนประเด็นการปรับตัวเพื่อฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติพบว่า ทรัพยากรป่าไม้ เป็นทรัพยากรที่มีลักษณะความเป็นสาธารณะสูง แนวการปรับตัวของชุมชนจึงมีลักษณะที่เป็นพลวัตมากกว่าการฟื้นฟูทรัพยากรอื่น ๆ

Article Details

How to Cite
[1]
เชาวนพูนผล เ. และ ศรีวิชัยลําพันธ์ ธ. 2019. พลวัตการจัดการทรัพยากรธรรมชาติของชุมชนในจังหวัดน่าน. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 7, 1 (ม.ค. 2019), 24–34.
บท
บทความวิจัย

References

จำลอง บุญโพธิ์. 2550. การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม 3(1): 141-174.

นพวรรณ บุญธรรม สุรพล ดำรงกิตติกุล และไกรสีห์ พิสิษฐ์กุล. 2559. การพัฒนาระบบกลไกการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรและอุปโภคบริโภคชุมชนรอบพื้นที่โรงไฟฟ้าแม่เมาะ. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 4(1): 60-74.

ประสิทธิ์ ท่าช้าง กิติชัย รัตนะ และอภิชาต ภัทรธรรม. 2560. ความคิดเห็นของราษฎรที่มีต่อโครงการประชารัฐเพื่อการฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ในพื้นที่บ้านขึ่งใต้ ตำบลขึ่ง อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน. วารสารการจัดการป่าไม้ 11(21): 65-79
ภูมิพัฒน์ พลราช. 2556. บทวิจารณ์หนังสือ บวชป่า สืบชะตาแม่น้ำ การจัดการป่าและน้ำเชิงวัฒนธรรม. วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม 9(1): 107-123.

ยศ สันตสมบัติ. 2544. ความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน. นพบุรีการพิมพ์, เชียงใหม่. 235 หน้า.

สำนักงานเกษตรจังหวัดน่าน. 2553. ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.nan. doae.go.th/TPS%203/headindex.htm (2 พฤศจิกายน 2558)

สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดลำปาง. 2554. แนวพระราชดำริป่าเปียกป้องกันไฟป่า. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://region3.prd.go.th/pr-lampang/showarticle.php?id =141219133804 (1 กุมภาพันธ์ 2559)

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2557. สถิติการเกษตรของประเทศไทยปี 2557. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.oae.go.th/download/download_journal/ 2558/yearbook57.pdf (12 มกราคม 2559)

เสรี พงศ์พิศ. 2536. ภูมิปัญญาชาวบ้าน: กับการพัฒนาชนบท. มูลนิธิหมู่บ้านอัมรินทร์พริ้นติ้งกรุ๊ฟจำกัด, กรุงเทพฯ. 567 หน้า.

อุดมศักดิ์ สินธิพงษ์. 2558. ชุมชนท้องถิ่นกับการมีส่วนร่วมจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน. วารสารนักบริหาร 35(1): 104-113.

Sriwichailamphan, T., and Chaovanapoonphol, Y. 2017. The dynamism of the community based natural resource management in Nan province (Research report). Chiang Mai: Chiang Mai University.