การจัดการความรู้ทรัพยากรทางวัฒนธรรมและแนวทางการพัฒนา ของกลุ่มชาติพันธุ์ขมุในหมู่บ้านห้วยเอียน อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย

Main Article Content

ณัฐธิดา จุมปา
ศศิภา คําก่ำ
เลหล้า ตรีเอกานุกูล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมองค์ความรู้ จัดการความรู้และหาแนวทางเพื่อกำหนดทิศทางการพัฒนาทรัพยากรทางวัฒนธรรมของชาวขมุบ้านห้วยเอียน ตำบลหล่ายงาว อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพเก็บรวบรวมข้อมูลจากปราชญ์ผู้รู้ภูมิปัญญาด้านทรัพยากรทางวัฒนธรรม 5 ด้านๆ ละ 3 คน แกนนำชุมชน ครู รองนายกเทศมนตรี ตัวแทนเยาวชน และชาวบ้านรวม 27 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงโดยใช้ดุลยพินิจของผู้วิจัย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง การสนทนากลุ่มย่อยและการประชุมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ผลการวิจัยพบว่า องค์ความรู้ทรัพยากรทางวัฒนธรรมชาวขมุมี 5 ด้าน คือ ด้านสมุนไพร การแต่งกาย ภาษา เครื่องดนตรีและการขับร้อง และด้านประเพณี/พิธีกรรมอาหาร จากการจัดเวทีสนทนากลุ่มย่อยเพื่อประมวลและกลั่นกรองความรู้อันนำไปสู่การจัดการความรู้ให้เป็นระบบด้วยการจัดทำเป็นเอกสารเพื่อสามารถเผยแพร่ได้ แนวทางและทิศทางการพัฒนาองค์ความรู้ทรัพยากรทางวัฒนธรรม ครอบครัวควรปลูกจิตสำนึกบุตรหลานให้รักและหวงแหนในความเป็นตัวตน แกนนำชุมชนควรผลักดันการอนุรักษ์สืบทอด ค้นหาคุณค่า จุดเด่นและศักยภาพของชุมชน จัดกิจกรรมการผลิตซ้ำทางวัฒนธรรมอย่างต่อเนื่อง จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้เพื่ออนุรักษ์ สืบทอดวัฒนธรรม สามารถสร้างงานสร้างรายได้ให้กับชุมชนโดยความร่วมมือกับทุกภาคส่วน

Article Details

How to Cite
[1]
จุมปา ณ., คําก่ำ ศ. และ ตรีเอกานุกูล เ. 2019. การจัดการความรู้ทรัพยากรทางวัฒนธรรมและแนวทางการพัฒนา ของกลุ่มชาติพันธุ์ขมุในหมู่บ้านห้วยเอียน อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 7, 1 (ม.ค. 2019), 12–23.
บท
บทความวิจัย

References

คตนานต์ เรือนเทอม.ประธานด้านการอนุรักษ์วัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์ขมุบ้านห้วยเอียน ตำบลหล่ายงาว อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย. (25 กุมภาพันธ์ 2560). สัมภาษณ์.

งามนิจ กุลกัน. 2556.การจัดการองค์ความรู้ทางวัฒนธรรมท้องถิ่นของตำบลอ้อมเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี, วารสารกระแสวัฒนธรรม, 14(28): 18-30.

เดชชาติ นิลวิเศษ และมณีวรรณ ผิวนิ่ม. 2558. การจัดการทรัพยากรวัฒนธรรมเป็นแหล่งเรียนรู้ในวัดบวรนิเวศวิหาร, Veridian E-Journal, Silpakorn University, 8(3): 898-900.

นิพัทธเวช สืบแสง. 2535. รวมบทความวิชาการขมุ-แม้ว. สถาบันวิจัยชาวเขา. กรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงมหาดไทย, กรุงเทพฯ: 2-30.

ไพศาล สรรสรวิสุทธิ์ และคณะ. 2558. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมสัมมนาวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ (Proceeding), เครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 15, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์: 118-120.

สุวิไล เปรมศรีรัตน์. 2549. สถานการณ์ทางภาษาในสังคมไทยกับความหลากหลายทางชาติพันธุ์.วารสารภาษาและวัฒนธรรม สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล 25(26): 52-55.