การดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของชาวประมงหมึกสายด้วยเปลือกหอย จุกพราหมณ์ อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี

Main Article Content

จุฑารัตน์ ธาราทิศ
นินธนา เอี่ยมสะอาด
กัณฐาภรณ์ ชัยกิตติกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิถีการทำประมงหมึกสายด้วยเปลือกหอยจุกพราหมณ์ วิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทน วิเคราะห์ตลาดของการทำประมงหมึกสายด้วยเปลือกหอยจุกพราหมณ์และศึกษาการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรที่ทำประมงหมึกสายด้วยเปลือกหอยจุกพราหมณ์ โดยมีขนาดตัวอย่างเป็นชาวประมงที่ทำประมงหมึกสายด้วยเปลือกหอยจุกพราหมณ์จำนวน 34 ราย โดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในวิเคราะห์ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มีพื้นที่ศึกษาในอำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ผลการวิจัยพบว่า แบ่งตามขนาดเรือได้ 2 ขนาดดังนี้ ขนาดเรือน้อยกว่า 14 เมตร จำนวน 16 ราย และขนาดเรือเท่ากับหรือมากกว่า 14 เมตรจำนวน 18 ราย กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ มีเหตุผลที่เลือกทำประมง คิดว่ารายได้ดี ใช้เงินกู้ยืมนำมาลงทุนเป็นเจ้าของคนเดียวสามารถเลือกสถานที่จับจากการจับจองตามความสมัครใจ ประสบการณ์ทำประมงระหว่าง 1-5ปี สำหรับระยะเวลาการออกเรือต่อปี เรือขนาดไม่เกิน 14 เมตร มีออกเรือเฉลี่ย 214.31 เที่ยวต่อปี ส่วนเรือขนาดเท่ากับหรือมากกว่า 14 เมตร มีการออกเรือเฉลี่ย 206.28 เที่ยวต่อปี ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-เดือนพฤศจิกายน โดยมีระยะทางระหว่าง 1-5 กิโลเมตร เรือทั้งสองขนาดทำประมงที่ความลึกระหว่าง 10-15 เมตรใช้เชือกขนาด 5 มิลลิเมตร ความยาว 200 เมตร ต่อเส้น ใช้เปลือกหอยจุกพราหมณ์จำนวน 40 ตัว ซื้อเปลือกหอยจุกพราหมณ์จากจังหวัดเพชรบุรี นำหมึกสายออกจากเปลือกหอยจุกพราหมณ์ โดยแช่น้ำเปล่า ในแต่ละเที่ยวเรือขนาดน้อยกว่า 14 เมตร สามารถจับหมึกสายได้ระหว่าง 10-20 กิโลกรัม โดยเฉลี่ย 23.75 กิโลกรัมราคาจำหน่าย 85.63 บาทต่อกิโลกรัม ส่วนเรือขนาดเท่ากับหรือมากกว่า 14 เมตร สามารถจับหมึกสายได้ระหว่าง 31-40 กิโลกรัม มีปริมาณเฉลี่ย 38.06 กิโลกรัม ราคาจำหน่ายเฉลี่ย 86.03 บาทต่อกิโลกรัม การลงทุนในการทำประมงหมึกสายด้วยเปลือกหอยจุกพราหมณ์ ส่วนเรือขนาดน้อยกว่า 14 เมตรมีมูลค่าลงทุน252,765.14 บาท มีต้นทุนรวม 656.10 บาทต่อเที่ยว ผลตอบแทนมีรายได้ 2,033.71 บาทต่อเที่ยว กำไรสุทธิ 1,377.61 บาทต่อเที่ยว ส่วนเรือขนาดเท่ากับหรือมากกว่า 14 เมตร มีมูลค่าลงทุน 630,804.51 บาท มีต้นทุน 832.71 บาท มีรายได้ 3,302.69 บาทต่อเที่ยว กำไรสุทธิ 2,469.98 บาทต่อเที่ยว สำหรับการตลาดพบว่า ใช้วิธีการจำหน่ายแบบเหมา โดยจำหน่ายให้ผู้รับซื้อประจำทั้งหมด ได้รับเป็นเงินสด การกำหนดราคาขายจะตกลงราคาตามตลาด ขนส่งไปยังแพรับซื้อในท้องถิ่น ส่งไปยังผู้ค้าปลีกในตลาดภายในจังหวัด และ ผู้รับซื้อภายในจังหวัดและผู้รับซื้อในจังหวัดเพชรบุรี การดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของชาวประมงหมึกสายด้วยเปลือกหอยจุกพราหมณ์ ชาวประมงมีการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยในภาพรวมมีการปฏิบัติในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีการปฏิบัติในระดับมากทุกด้านเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการมีภูมิคุ้มกันที่ดี ด้านเงื่อนไขคุณธรรม ด้านการมีเหตุผลและด้านความพอประมาณ ตามลำดับ

Article Details

How to Cite
[1]
ธาราทิศ จ., เอี่ยมสะอาด น. และ ชัยกิตติกุล ก. 2019. การดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของชาวประมงหมึกสายด้วยเปลือกหอย จุกพราหมณ์ อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 7, 2 (พ.ค. 2019), 123–133.
บท
บทความวิจัย

References

คณะกรรมการภาคีความร่วมมือจังหวัดชัยภูมิ .2557. โครงการผลิตอาหารปลอดภัยตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงจังหวัดชัยภูมิ. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
ฆริกา คันธาและณพงศ์ นพเกต.2561.การบริหารจัดการขยะชุมชนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสำ หรับชุมชนในอำเภอพระสมุทรเจดีย์จังหวัดสมุทรปราการ.วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 6(3): 497 - 508
จรวย สุขแสงจันทร์ จอห์น โบเวอร์ และยาสุโนริ ซากุไร. (2551). เครื่องมือประมงสำหรับจับหมึกสายในจังหวัดอาโอโมริประเทศญี่ปุ่น. (ระบบ ออนไลน์).แหล่งข้อมูล: http://kucon.lib.ku.ac.th/Fulltext/KC5004016.pdf. (20 สิงหาคม 2558)
จินดา เพชรกําเนิด และ ฐิติพร ศุภนิรันดร์. 2557. ผลกระทบของการประมงลอบหมึกสายบริเวณ
อาวไทยตอนกลาง. ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงทะเลอ่าวไทยตอนกลาง จังหวัดชุมพร (ระบบ ออนไลน์). แหล่งข้อมูล:
http://www.fisheries.go.th/marine/KnowladgeCenter/12-57
(20 สิงหาคม 2558)
เชาวณีย์ ศิริสาคร.2556.วิถีชีวิตเกษตรกรตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชนบ้านนาโดน อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม.การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา มสธ. ครั้งที่ 3 (ระบบ ออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.stou.ac.th/thai/grad_stdy/Masters/research/3nd/Abstract/ST/oral/O-ST.pdf
ดวงตา สราญรมย์. 2556. การดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงชุมชนบึงบัว ตำบลลำผักกูด อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี. การประชุมวิชาการระดับชาติ.มหาวิทยาลัยราชภัฏ กลุ่มศรีอยุธยา ครั้งที่ 3 หน้า 381
ธีรยุทธ ศรีคุ้มและหัสพงศ์ สมชนะกิจ. 2554. การประมงหมึกสายโดยเปลือกหอยจุกพราหมณ์ ในอ่าวไทย.เอกสารวิชาการฉบับที่ 14/2554 สำนักวิจัยและพัฒนาประมงทะเล กรมประมง. กรุงเทพฯ.
ธีรวุฒิ เอกะกุล. 2543. ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. สถาบันราชภัฎอุบลราชธานี
ณรัฐวรรณ มุสิก.2557.ความสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิภาพการบันทึกบัญชีครัวเรือนและ คุณภาพการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของเกษตรกรจังหวัดมหาสารคาม.วารสารวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์บูรพาปริทัศน์ : 9(1): 45-58.
นคเรศ ยะสุขและคณะ. 2558. การทำประมงลอบหมึกสาย(กุ๊งกิ๊ง)และผลการจับบริเวณชายฝั่งแหลมผักเบี้ย จังหวัดเพชรบุรี. การประชุมวิชาการ. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 54 : 671-678.
บุญชม ศรีสะอาด.2535. การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สุวิริยาสาส์น.
ประภาศิริ กลางพอน.2558. ภูมิปัญญา. (ระบบ ออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.ipesp.ac.th/learning/thaistory/index.html. (20 สิงหาคม 2558)
เอี่ยม ทองดี.2542. ภูมิปัญญาพื้นบ้านกับการปลูกฝังพฤติกรรมทางจริยธรรม, ดรรชนีวารสาร. 15 : 59-73