ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริโภคอาหารพร้อมรับประทานตราสินค้าซีพีของประชาชนในพื้นที่เขตบางกะปิ

Main Article Content

พิชศาล พันธุ์วัฒนา

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์ศึกษา (1) สภาพทั่วไปของการบริโภคอาหารพร้อมรับประทานตราสินค้าซีพีของประชาชนในพื้นที่เขตบางกะปิ และ (2) อิทธิพลของสถานที่จำหน่าย การส่งเสริมการตลาด การจัดจำหน่าย และราคาที่มีต่อการบริโภคอาหารพร้อมรับประทานตราสินค้าซีพี ใช้แนวทางเชิงปริมาณเป็นหลัก โดยใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลจากประชาชนอายุตั้งแต่ 20 ปี ขึ้นไป ที่ซื้ออาหารพร้อมรับประทานตราสินค้าซีพีที่ร้านซีพีเฟรชมาร์ทในพื้นที่เขตบางกะปิจำนวน 300 ราย ใช้สูตร     คอแครนกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่ายด้วยการสำรวจกลุ่มตัวอย่างที่ร้านซีพีเฟรชมาร์ทในพื้นที่เขต    บางกะปิที่มีทั้งสิ้น 6 สาขา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และเทคนิคการวิเคราะห์เส้นทาง ผลการศึกษาพบว่า (1) ผู้ บริโภคอาหารพร้อมรับประทานส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 41 – 60 ปี สถานภาพสมรส สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพในหน่วยงานเอกชน รายได้ต่อเดือนเฉลี่ย 35,001 – 45,000 บาท มีความพอใจต่อการซื้ออาหารพร้อมรับ ประทานตราสินค้าซีพีเพื่อบริโภคในระดับค่อนข้างสูง และเหตุผลที่สำคัญมากที่สุดในการเลือกบริโภคอาหารพร้อมรับประทานตราสินค้าซีพีคือ ความหลากหลายของอาหาร และ (2) ราคามีอิทธิพลทางตรงต่อการบริโภคอาหารพร้อมรับประทานมากที่สุด ขณะที่สถานที่จำหน่ายมีอิทธิพลทางอ้อมและอิทธิพลรวมต่อการบริโภคอาหารพร้อมรับประทานมากที่สุด ข้อค้นพบชี้ชัดว่าราคาและสถานที่เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลสูงต่อผู้บริโภคอาหารพร้อมรับประทานตราสินค้าซีพี จึงมีข้อเสนอแนะต่อเจ้าของกิจการซีพีเฟรชมาร์ททั้ง 6 สาขาในพื้นที่เขตบางกะปิ (1)จัดทำป้ายราคาสินค้าให้ผู้บริโภคเห็นตัวเลขของราคาได้ชัดเจน เลือกใช้ตัว เลขที่อ่านออกได้ง่ายและเป็นที่นิยมใช้แพร่หลายทั่วกัน และ (2) จัดวางสินค้าให้เป็นระเบียบแบ่งตามประเภทสินค้า เลือกวางสินค้าในตำแหน่งที่เหมาะสมโดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าที่ยอดขายดีและสินค้าโปรโมชั่นที่จำต้องไว้ในจุดที่ผู้บริโภคสามารถเห็นได้ชัดในระยะสายตาพร้อมกับเข้าถึงสินค้าดังกล่าวได้อย่างสะดวก  

Article Details

How to Cite
[1]
พันธุ์วัฒนา พ. 2019. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริโภคอาหารพร้อมรับประทานตราสินค้าซีพีของประชาชนในพื้นที่เขตบางกะปิ. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 7, 2 (พ.ค. 2019), 215–225.
บท
บทความวิจัย
Author Biography

พิชศาล พันธุ์วัฒนา, คณะตํารวจศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตํารวจ

thailand royal thai police

References

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. ม.ป.ป.. คู่มือบริหารจัดการร้านค้าปลีก. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล http://www.dbd.go.th/do wnload/project_retail/guidebookdevelop.pdf (25 กันยายน 2561)
ซีพี เฟรชมาร์ท. 2561. เกี่ยวกับเรา: ประวัติความเป็นมาของธุรกิจซีพีเฟรชมาร์ท บริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหารจำกัดมหาชน. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล https://www.cpfreshmartshop.com/th/เกี่ยวกับเรา/ (25 กันยายน 2561)
ดวงสมร มะโนวรรณ. 2560. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารกล่องสำเร็จรูปแช่แข็งของชนชั้นกลางในกรุงเทพ มหานคร. เศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจปริทัศน์ 13(2): 68-83.
พิมพิกา ศรีจุมปา และสุธีรา อะทะวงษา. 2560. ปัจจัยที่มีผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อสินค้าจากร้านค้าปลีกชุมชนของผู้ บริโภคในเขตเทศบาลตําบลท่าสาย อําเภอเมือง จังหวัดเชียงราย. วารสารการจัดการมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 6(3): 64-71.
ศูนย์ผู้บริโภคซีพีเอฟ. 2561. ผลิตภัณฑ์ซีพี: อาหารพร้อมรับประทาน. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล https://www.cpbrand site.com/อาหารพร้อมรับประทาน (25 กันยายน 2561)
สัณห์จุฑา จํารูญวัฒน์. 2559. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกใช้บริการร้านอาหารประเภทฟูดทรัก (Food Truck) ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาโทคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. 2558. การสร้างมาตรวัดที่ถูกต้องและได้มาตรฐานสากล. กรุงเทพฯ: สามลดา.
สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์. 2561. พฤติกรรมการซื้ออาหารสำเร็จรูปแช่แข็งพร้อมรับประทานจากร้านสะดวกซื้อกรณี ศึกษาอำเภอเมืองจังหวัดนครสวรรค์. การประชุมวิชาการปัญญาภิวัฒน์ระดับชาติครั้งที่ 8 และระดับนานาชาติครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Benedict E.M., De Jong M.G., and H. Baumgartner. 2010. Socially desirable response tendencies in survey research. Journal of Marketing Research 47(2): 199-214.
Cochran, W.G. 1977. Sampling techniques. (Online). Available: https://hwbdocuments.env.nm.gov/Los%20 Alamos%20Nation al%20Labs/General/14447.pdf (September 26, 2018)
Resch, J. et al. 2013. Impact test-retest reliability: Reliably unreliable?. Journal of Athletic Training 48(4): 506-511.
Ryu, E. 2013. Factorial invariance in multilevel confirmatory factor analysis. British Journal of Mathematical & Statistical Psychology 67(1): 172-194.
Van Loo, D.J. et al. 2010. Consumer food safety perceptions of ready-to-eat deli foods in Northwest Arkansas. Food Protection Trends 30(11): 635–643.
WHO. 2017. Thailand national strategy on STIs prevention and control, 2017-2021. (Online). Available: http://www.searo.who.int/thailand/areas/thailand-national-strategy-sti-prevention-2017-2021-en g.pdf. (September 27, 2018)