การศึกษาองค์ความรู้ด้านคติชนของกลุ่มชาติพันธุ์พื้นเมืองที่ส่งผลต่อกระบวนการพัฒนาจิตสำนึกการเป็นพลเมืองดีในชุมชน กรณีศึกษาจังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

อานนท์ - ตั้งพิทักษ์ไกร
รพีภัทร ศรีไกรภักดิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ ได้รับทุนจาก สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาองค์ความรู้ และคติชน ของกลุ่มชาติพันธุ์พื้นเมือง ในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ และ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการเสริมสร้างจิตสำนึกความเป็นพลเมืองดี ผ่านองค์ความรู้และคติชนของกลุ่มชาติพันธุ์พื้นเมือง ในพื้นที่จังหวัด ศรีสะเกษ ผลการวิจัยพบว่า องค์ความรู้ และคติชน ของกลุ่มชาติพันธุ์พื้นเมือง ในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ ได้แก่ กลุ่มชาติพันธุ์เขมร ลาว กูย (ส่วย) และเยอ มีความคล้ายคลึงกัน อาทิ เซ่นไหว้วิญญาณบรรพบุรุษ การนับถือผี และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ สิ่งที่อยู่เหนือธรรมชาติ   ไสยศาสตร์ โชคลาง และยึดมั่นในคำสอนของศาสนาพุทธ ส่วนแนวทางการเสริมสร้างจิตสำนึกความเป็นพลเมืองดี ผ่านองค์ความรู้และคติชนของกลุ่มชาติพันธุ์พื้นเมือง ในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ นั้นพบว่า มีแนวทางการเสริมสร้างจิตสำนึกการเป็นพลเมืองที่ดี ผ่านการบอกกล่าว คำพังเพย สุภาษิต การละเล่นนิทานและบทเพลงพื้นบ้าน การปลูกฝังความเชื่อ ประเพณี และพิธีกรรมที่สำคัญๆต่างๆ ของแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ ยกตัวอย่างเช่น การไหว้วิญญาณบรรพบุรุษ การทำบุญหมู่บ้านหรือบุญประจำปี หลักปฏิบัติฮีตสิบสอง คองสิบสี่ เป็นต้น คติชนก่อให้เกิดแนวคิดการปฏิบัติดีของกลุ่มชน และเป็นเสมือนกระจกส่องสะท้อนวิถีชีวิตกลุ่มชน คือ เมื่อคิดดี กระทำดี และผลที่ตามมาคือเกิดแต่สิ่งดีๆ  

Article Details

How to Cite
[1]
ตั้งพิทักษ์ไกร อ. -. และ ศรีไกรภักดิ์ ร. 2019. การศึกษาองค์ความรู้ด้านคติชนของกลุ่มชาติพันธุ์พื้นเมืองที่ส่งผลต่อกระบวนการพัฒนาจิตสำนึกการเป็นพลเมืองดีในชุมชน กรณีศึกษาจังหวัดศรีสะเกษ. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 7, 2 (พ.ค. 2019), 115–122.
บท
บทความวิจัย

References

กฤษณา แดนสีแก้ว. (2559). การศึกษานิทานพื้นบ้านอำเภอโกสุมพิสัย การศึกษาเชิงคติชน.
วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาชาวิชาภาษาไทยและวรรณกรรมไทย. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
นาวิน พรมใจสา. (2551). มิติทางวัฒนธรรมในการเสริมสร้างความเป็นอยู่เย็นเป็นสุขของกลุ่ม
ชาติพันธุ์ไทลื้อระหว่างแนวชายแดนไทย-ลาว. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขา
ยุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
ประหยัด โพธิ์ทอง. (2561, มกราคม 10). ปราชญ์ชุมชน. สัมภาษณ์.
ร่มธารธรรม บุญมี. (2558). “การวิเคราะห์พิธีกรรมพื้นบ้านของกลุ่มชาติพันธุ์ในชุมชนสบเปิง
อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่” ใน รายงานการประชุมสัมมนาวิชาการเครือข่าย บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือครั้งที่ 15. 23 กรกฎาคม 2558 . 71. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
สุทธิวรรณ ตันติรจนาวงศ์ และศศิกาญจน์ ทวิสุวรรณ. (2552). การส่งเสริมคุณธรรมที่มี ประสิทธิภาพ กรณีศึกษากลุ่มเด็ก/เยาวชนและข้าราชการภาครัฐ. กรุงเทพฯ: กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม.
อนุรักษ์ บุญพยนต์. (2558) . พิธีทำขวัญนาค : การสืบทอดความรู้ทางคติชนวิทยาผ่านพิธีกรรม
แห่งวิถีชุมชนชาวอำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎี บัณฑิต สาขาวิชาไทยศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.
Sakhiyeva, F et all. (2013). Ethnic Identity as an Ethnic Identity Aggregate Value Orientations. Peer-review under responsibility of Academic World Education and Research Center. Elsevier Ltd.
William R. Bascom. (1965 ) “Four Functions of Folklore,” in The Study of Folklore. ed. Alan Dundes ( Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice Hall, Inc., , pp. 279 - 298.