โครงสร้างนิเวศภูมิทัศน์พื้นที่เกษตรชานเมืองกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

อลิษา สหวัชรินทร์
ฟ้า ลิขิตสวัสดิ์

บทคัดย่อ

กรุงเทพมหานครเป็นเมืองโตเดี่ยวที่มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะพื้นที่เขตชานเมืองรอยต่อจังหวัดปริมณฑล จากพื้นที่เกษตรกรรมที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาที่อุดมสมบูรณ์ด้วยการเกษตร ถูกเปลี่ยนแปลงสภาพทางกายภาพและการใช้ประโยชน์ที่ดินให้เป็น “เมือง” ในรูปแบบการขยายตัวของเมืองแบบกระจัดกระจาย (Urban sprawl) มีผลทำให้พื้นที่สีเขียวและพื้นที่เกษตรลดลง การศึกษาโครงสร้างนิเวศภูมิทัศน์พื้นที่เกษตรชานเมืองกรุงเทพมหานคร จากการแปลภาพถ่ายดาวเทียม 2560 ร่วมกับการสำรวจพื้นที่ พบว่าพื้นที่เกษตรชานเมืองกรุงเทพมหานครในพื้นที่ศึกษา 8 พื้นที่ มีโครงสร้างรูปแบบเกษตร 7 รูปแบบ ได้แก่ นาข้าวเชิงเดี่ยว นาข้าว-คันสวน นาบัว สวนยกร่อง บ่อน้ำ นาเกลือ และสวนยกแปลง (ปลูกพืชในโรงเรือน) การเปลี่ยนแปลงพื้นที่เกษตรทุกพื้นที่มีแนวโน้มลดลง โดยพื้นที่ศึกษามีสัดส่วนพื้นที่สีเขียวคงเหลือ 20%-70% ซึ่งแนวโน้มนี้จะส่งผลต่อคุณภาพภูมิทัศน์ของพื้นที่เกษตร และพื้นที่เมืองด้านการบริการทางนิเวศ (Ecosystem services)

Article Details

How to Cite
[1]
สหวัชรินทร์ อ. และ ลิขิตสวัสดิ์ ฟ. 2019. โครงสร้างนิเวศภูมิทัศน์พื้นที่เกษตรชานเมืองกรุงเทพมหานคร. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 7, 2 (พ.ค. 2019), 180–191.
บท
บทความวิจัย

References

กมลศักดิ์ วงศ์ศรีแก้ว จิระพงค์ เรืองกุน และสายใจ ชุนประเสริฐ. 2560. การพัฒนาชุมชนเข้มแข็ง: กรณีศึกษาชุมชนพูนบำเพ็ญ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 5(1): 46 – 57
บังอร ศิริสัญลักษณ์. 2558. รูปแบบการทำการเกษตรกับการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 3(3): 319-330.
ปาณิสรา จรัสวิญญู และฉัตรชนก จรัสวิญญู. 2561. แบบจำลองสภาพปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาของเกษตรกรในประเทศไทย. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 6(1): 153-162.
วันวิสาข์ เรืองสนาม. 2550. แนวทางการอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่เกษตรกรรม เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ศรีศักร วัลลิโภดม. 2559. สังคมลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา: พัฒนาการและการเปลี่ยนแปลง. มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์. เข้าถึงจาก https://lek-prapai.org/home/view.php?id=808 เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2561
วิริยะ คล้ายแดง. 2560. เขตเกษตรเศรษฐกิจ (Zoning) เพื่อการปฏิรูปภาคเกษตร. เข้าถึงจาก https://library2.parliament.go.th/ebook/content-issue/2558/hi2558-012.pdf เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2561
สำนักงานเกษตรเศรษฐกิจ. 2561. Zoning by Agri-Map ช่วยเกษตรกรให้ผลตอบแทนดีกว่า หลังปรับเปลี่ยนการผลิตให้เหมาะสมกับพื้นที่. เข้าถึงจาก https://www.oae.go.th/view/ เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2561
อำนาจ จํารัสจรุงผล และ เอกรินทร์ อนุกูลยุทธธน. 2558. ผลกระทบของการพัฒนาเมือง ต่อการอนุรักษ์พื้นที่สีเขียวภาคการเกษตร กรณีศึกษาคลองอ้อมนนท์ จังหวัดนนทบุรี. หน้าจั่ว: ว่าด้วยสถาปัตยกรรม การออกแบบ และสภาพแวดล้อม วารสารวิชาการ ประจําคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับที่ 29 (มกราคม-ธันวาคม 2558)