รูปแบบบูรณาการความร่วมมือเพื่อการส่งเสริมการใช้ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพของเกษตรกร ตำบลหนองฮี อำเภอหนองฮี จังหวัดร้อยเอ็ด

Main Article Content

สรรพสิทธ แก้วเฮ้า

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้เกี่ยวกับปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพในครัวเรือน นำไปสู่การพัฒนารูปแบบการบูรณาการความร่วมมือเพื่อการส่งเสริมการใช้ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพในครัวเรือนตำบลหนองฮี อำเภอหนองฮี จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นการวิจัยแบบผสมผสานทั้งวิธีเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างคือ หัวหน้าครัวเรือนหรือตัวแทนของครัวเรือนละ 1 คน จำนวน 325 คน ผลการวิจัย พบว่า  เกษตรกรมีความรู้เรื่องการทำปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพเพิ่มขึ้น จากการพัฒนารูปแบบการบูรณาการความร่วมมือเพื่อการส่งเสริมการใช้ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพในครัวเรือน ตำบลหนองฮี อำเภอหนองฮี จังหวัดร้อยเอ็ด เกษตรกรมีทัศนคติที่ดีขึ้นต่อเจ้าหน้าที่ส่งเสริมในการให้ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับการทำปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพในครัวเรือนเพิ่มขึ้น  ทำให้เกษตรกรเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของการทำการเกษตรจากที่ใช้แต่สารเคมีหันมาสนใจทำปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพในครัวเรือนมากขึ้น องค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัย พบว่า ทัศนะคติที่เปลี่ยนไปทำให้เกิดการยอมรับและนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของเกษตรกรในชุมชนหลังจากได้รับความรู้ แนวคิด และนวัตกรรมใหม่ ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพิ่มขึ้น

Article Details

How to Cite
[1]
แก้วเฮ้า ส. 2020. รูปแบบบูรณาการความร่วมมือเพื่อการส่งเสริมการใช้ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพของเกษตรกร ตำบลหนองฮี อำเภอหนองฮี จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 8, 1 (ม.ค. 2020), 93–106.
บท
บทความวิจัย

References

งานสวัสดิการสังคม เทศบาลตำบลหนองฮี. 2560. ข้อมูลด้านโครงสร้างทางเศรษฐกิจ/รายได้ประชากร. ร้อยเอ็ด : เทศบาลตำบลหนองฮี,
งานวิชาการและแผนงาน เทศบาลตำบลหนองฮี. 2560. แผนพัฒนาสี่ (พ.ศ. 2561-2564) เทศบาลตำบลหนองฮี. ร้อยเอ็ด : เทศบาลตำบลหนองฮี,
จุไรรัตน์ คุรุโคตร. 2554. การผลิตปุ๋ยน้ำชีวภาพจากมูลสัตว์เพื่อใช้ในการเกษตร. กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
ชนวน รัตนวราหะ. 2550. เกษตรอินทรีย์. กรุงเทพมหานคร : กรมวิชาการเกษตร, สำนักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ.
สมเกียรติ สุวรรณคีรี. 2547. ปุ๋ยน้ำชีวภาพหรือน้ำสกัดชีวภาพและการประยุกต์ใช้ในกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ (อีเอ็ม) (ด้านการเกษตรและสิ่งแวดล้อม). สถานีวิจัยเกษตรเขตชลประทาน ศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
เสาวคนธ์ ศรีบริกิจ. 2553. สถานการณ์เกษตรอินทรีย์. สืบค้นจาก http://www.oae.go.th/ ewtadmin/ewt/ oae_baer/download/article/article_ 20111013102515.pdf เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2561
อรรถพล วงศ์สวัสดิ์. 2555. การสํารวจการผลิตปุ๋ยหมักชีวภาพของเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดพัทลุง. การประชุมวิชาการแห่งชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ครั้งที่ 9: วิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม.
Academic and Planning Nong He District. 2017. Four Development Plans (2018-2021) Nong He District. Roi Et : Nong He District.
Atthapon Wongsawad. 2012. Survey of bio-fertilizer production by agriculturists in Phatthalung province. Proceedings of the 9th Kasetsart University Kamphaeng Saen Campus Conference: Engineering, Science Technology and Environment
Canun Rattatavaracha. 2007. Organic farming. Bangkok : Department of Agriculture, Biotechnology Research and Development Office.
Chinnagrid Suwanakeree. 2004. Bio fertilizer or Bio extract and Using Application on Effective Microorganism (EM) (Agricultural & Environmental). Center for Agricoltoral Resource Systems Research.
Jurairat Kurukodt. 2011. Production of bio-fertilizer from animal dung for use in agriculture. Ministry of Science and Technology.
Social welfare Nong He District. 2017. Economic structure/Population income. Roi Et : Nong He District.
Sowakon Cheborbkej. 2010. Organic Farming Situation. http://www.oae.go.th/ ewtadmin/ewt/ oae_baer/ download/article/article_ 20111013102515.pdf