การพัฒนากระบวนการผลิตกระดาษจากโดยใช้วัสดุเหลือใช้จากการผลิตใบจากสูบเพื่อความยั่งยืนของชุมชนลุ่มน้ำปะเหลียน

Main Article Content

นพดล โพชกําเหนิด
สุปราณี วุ่นศรี
ธัญวลัย รัศธนันกิจจ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากระบวนการผลิตกระดาษจากเศษใบจากและทางจาก ซึ่งเป็นวัสดุเหลือใช้จากการผลิตใบจากสูบของชุมชนลุ่มน้ำปะเหลียน จังหวัดตรัง  จากการศึกษาองค์ประกอบของสารลิกโนเซลลูโลสของเศษใบและทางจาก พบว่าเศษใบจากมีเซลลูโลส เฮมิเซลลูโลส และลิกนิน ร้อยละ  39.91±4.07 49.59± 6.87 และ 10.50±2.80 ตามลำดับ ส่วนทางจากมีเซลลูโลส เฮมิเซลลูโลส และลิกนิน ร้อยละ 34.40±5.51 7.37±3.69 และ 58.23±9.20 ตามลำดับ ต่อจากนั้นทำการศึกษาการเตรียมเยื่อกระดาษโดยใช้สารละลาย NaOH พบว่าการใช้สารละลาย NaOH ร้อยละ 2  ได้เยื่อที่มีลักษณะเป็นเส้นใยที่ดี และให้ค่าผลผลิตเยื่อใยร้อยละ 56.52±1.82 เมื่อนำเยื่อที่ได้ไปผลิตเป็นกระดาษโดยใช้ชุดทดลอง 3 ชุด ได้แก่ 1) เศษใบจากสูบ 2) ทางจาก และ 3) เศษใบจากผสมทางจาก  และนำไปทดสอบคุณภาพของกระดาษ พบว่ากระดาษจากทางจากมีค่าความต้านทานแรงดึงต่อการฉีกขาดสูงสุดเท่ากับ 12.85±0.91 นิวตันต่อตารางมิลลิเมตร รองลงมาคือกระดาษเศษใบจากผสมทางจาก และกระดาษเศษใบจาก ซึ่งมีค่าความต้านทานแรงดึงเพียง 7.88±0.87 และ 3.45±0.37 นิวตันต่อตารางมิลลิเมตร ตามลำดับ โดยวัสดุเหลือใช้จากการลิตจากสูบ 1 ตัน สามารถนำไปผลิตเป็นกระดาษจากได้ประมาณ 1,900 ตารางเมตร ซึ่งผู้วิจัยได้นำเทคโนโลยีกระดาษจากจากผลงานวิจัยไปถ่ายทอดให้แก่วิสาหกิจชุมชนจักสานก้านจากบ้านนายอดทอง ตำบลวังวัน อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง และได้ร่วมออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เพื่อจำหน่ายออกสู่ท้องตลาด ได้แก่ กระดาษห่อของขวัญกระดาษจาก ซองใส่คีย์การ์ด กรอบรูปกระดาษจาก บรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์ชุมชนจากกระดาษจาก และโคมไฟกระดาษจาก เป็นต้น เพื่อจำหน่ายเป็นสินค้าชุมชนต่อไป

Article Details

How to Cite
[1]
โพชกําเหนิด น., วุ่นศรี ส. และ รัศธนันกิจจ์ ธ. 2019. การพัฒนากระบวนการผลิตกระดาษจากโดยใช้วัสดุเหลือใช้จากการผลิตใบจากสูบเพื่อความยั่งยืนของชุมชนลุ่มน้ำปะเหลียน. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 7, 3 (ก.ย. 2019), 271–282.
บท
บทความวิจัย

References

A.O.A.C. 2000. Official Method of Analysis. Association of Official Analysiscal Chemist. EUA Essig, F.B. 1973.
Pollution in some New Gunea palms. Principles. 17(2): 75-83.
Paijmans, M. 1980. “Ecological Notes on Sago in New Guinea” in Sago The Equatorial Same as a Natural
Resource, The Hague: Matinus Nijhoff Publishers.
Sluiter, A., Hames, B., Ruiz, R., Scarlata, C., Sluiter, J., Templeton, D. and Crocker D. 2012. Determination of
Structural Carbohydrates and Lignin in Biomass. Laboratory Analytical Procedure. 8, 1-15
Uhl, N.W. and Dransfield, J. 1987. Genera Palmarum. A classificatiom of palms based on the work of H.E. Jr L.H.
Bailey Hororium and international Palm Society, Allen Press, Kansas.
จิตรลดา ชูมี พลอยทราย โอฮาม่า และ ณัฐกมล พึ่งสาราญ. 2559. การผลิตกระดาษเปลือกมะพร้าวโดยใช้สารกระจายเยื่อจาก
เปลือกส้มโอ. รายงานการประชุมสวนสุนันทาวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 4 (Proceeding) ประจำปี 2559 วันที่ 26
สิงหาคม 2559 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา กรุงเทพฯ. หน้า 256-263.
ธานุวัฒน์ ลาภตันศุภผล ปฏิมา ทองขวัญ และ ศิริลักษณ์ สรงพรมทิพย์. 2556. การสกัดเพคตินจากเปลือกผักและผลไม้. วารสาร
วิทยาศาสตร์เกษตร 44(2) : 433-436.
นพดล โพชกำเหนิด และสมบูรณ์ ประสงค์จันทร์. 2556. การผลิตไวน์จากลูกจากโดยใช้การหมักด้วยยีสต์ทางการค้า. วารสารการ
พัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 1(2): 81-88.