การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการตลาดโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของ กลุ่มวิสาหกิจชุมชน กรณีศึกษา ผลิตภัณฑ์ตะเกียงน้ำมันแบบโบราณ ตำบล ปงยางคก อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง

Main Article Content

ขัตติยา ขัติยวรา
สัชฌุเศรษฐ์ เรืองเดชสุวรรณ
เอริชฎา มานพพงษ์

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ ดังนี้ คือ 1.เพื่อศึกษาความรู้ความเข้าใจเรื่องกลยุทธ์ทางการตลาด 2.เพื่อศึกษารูปแบบเดิมทางการส่งเสริมการตลาด และ 3.เพื่อพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการตลาดที่เหมาะสม โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ผลวิจัยสรุปได้ดังนี้ ข้อที่ 1 กลุ่มมีความรู้ความเข้าใจเรื่องกลยุทธ์การตลาด ครบทั้ง 4 ด้าน (กลยุทธ์ผลิตภัณฑ์ กลยุทธ์ราคา ช่องทางการจัดจำหน่าย และการส่งเสริมการตลาด) ข้อที่ 2  กลุ่มมีรูปแบบการส่งเสริมการตลาดหลายรูปแบบ อาทิ การพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง การใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์       ในส่วนของการใช้พนักงานขายนั้น ดำเนินการโดยประธานกลุ่มเป็นหลัก รวมไปถึง การส่งเสริมการขายผ่านกิจกรรมพิเศษซึ่งดำเนินงานภายใต้การสนับสนุนจากภาครัฐ ได้แก่ หน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่น นอกจากนี้ ยังมีการใช้การส่งเสริมการตลาดในรูปแบบการฝากขาย  การจำหน่ายผ่านพ่อค้าคนกลาง และการโฆษณาผ่านสิ่งพิมพ์อีกด้วย  ข้อที่ 3 รูปแบบการส่งเสริมการตลาดที่เหมาะสม คือ การพัฒนารูปแบบการจัดแสดงสินค้า ณ จุดขายให้มีความน่าสนใจ ช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ผลิตภัณฑ์ รวมถึงมีการพัฒนาผ่านสื่อดิจิตอลในการเข้าถึงลูกค้ากลุ่มใหม่ๆ

Article Details

How to Cite
[1]
ขัติยวรา ข., เรืองเดชสุวรรณ ส. และ มานพพงษ์ เ. 2018. การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการตลาดโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของ กลุ่มวิสาหกิจชุมชน กรณีศึกษา ผลิตภัณฑ์ตะเกียงน้ำมันแบบโบราณ ตำบล ปงยางคก อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 5, 2 (มิ.ย. 2018), 310–332.
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงอุตสาหกรรม. 2546. คู่มือเทคนิคการเพิ่มผลผลิตในชุมชนเข้มแข็ง เล่ม 1 การทำธุรกิจชุมชน. อินโนกราฟฟิคส์, กรุงเทพฯ. 204 หน้า.

กาญจนา แก้วเทพ. 2543. การพึ่งตนเอง ศักยภาพในการพัฒนาชนบท. รุ่งเรืองสาส์น, กรุงเทพฯ. 264 หน้า.

ธงพล พรหมสาขา ณ สกลนคร และอุทิศ สังขรัตน์. 2556. แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนในเขตลุ่มทะเลสาบสงขลา. รายงานวิจัย. ภาควิชาสารัตถศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 74 หน้า.

ธวัชชัย บุญมี เดชวิทย์ นิลวรรณ มานพ ชุ่มอุ่น จิรวรรณ บุญมี รัชนี เสาร์แก้ว ศุภฤกษ์ ธาราพิทักษ์วงศ์ และเบญจพร หน่อชาย. 2557. การวิจัยและพัฒนากลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านสันทรายต้นกอก ตำบลฟ้าฮ่าม อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 2(1): 63-72.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2544. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, กรุงเทพฯ. 136 หน้า.

สุกัญญา ดวงอุปมา. 2557. แนวทางการพัฒนาศักยภาพการจัดการที่ดีของวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 2(2): 133-139.

สุดเฉลิม ศัสตราพฤกษ์ และไพศาล บรรจุสุวรรณ์. 2558. ธรรมาภิบาลเพื่อการจัดการและการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 3(3): 271-283.

สุภางค์ จันทวานิช. 2540. วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ. 233 หน้า.

อารี วิบูลย์พงษ์. 2555. บทความสังเคราะห์ ความรู้จากงานวิจัยวิสาหกิจชุมชน. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ 4(6): 112 – 133.