โครงการพัฒนาของรัฐที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง การใช้ประโยชน์ที่ดิน ที่ไม่เป็นไปตามการกำหนด ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ กรณีศึกษาพื้นที่ลุ่มน้ำเพชรบุรี GOVERNMENT PROJECTS CAUSING LAND USE CHANGES IRRELEVANT TO WATERSHED CLASSIFICATION: PETCHBURI WATERSHED CASE STUDY

ผู้แต่ง

  • Wiroon Sumleeraj วิรุฬห์ สัมลีราช
  • Kittichai Duangmal กิตติชัย ดวงมาลย์ Corresponding Author
  • Kasem Chunkao เกษม จันทร์แก้ว

DOI:

https://doi.org/10.14456/jem.2019.12

คำสำคัญ:

ลุ่มน้ำเพชรบุรี, โครงการพัฒนาของรัฐ, มาตรการการใช้ประโยชน์ที่ดิน

บทคัดย่อ

ปัญหาในพื้นที่ลุ่มน้ำโดยเฉพาะเรื่องปริมาณน้ำที่มีปริมาณไม่เหมาะสม คือ ในช่วงฤดูแล้งมักขาดแคลนน้ำ และฤดูฝนมักเกิดปัญหาน้ำท่วม คุณภาพน้ำที่ไม่ได้มาตรฐาน และระยะเวลาการไหลไม่ต่อเนื่องตลอดปี

การใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ลุ่มน้ำเพชรบุรีที่ไม่เป็นไปตามกำหนดตามมติคณะรัฐมนตรีการกำหนดชั้นคุณภาพลุ่มน้ำภาคตะวันตก ภาคกลาง และลุ่มน้ำป่าสัก ตั้งแต่ พ.ศ. 2538 ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2530-2560) โดยการใช้ข้อมูลจากการแปลภาพถ่ายดาวเทียม พบว่า พื้นที่ป่าไม้ในลุ่มน้ำเพชรบุรีมีการลดลง ร้อยละ 9 พื้นที่เกษตรกรรม ชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง พื้นที่น้ำ ทุกประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินเพิ่มขึ้นร้อยละ 2 และพื้นที่เบ็ดเตล็ดเพิ่มขึ้นร้อยละ 3 ดังนั้น ส่วนโครงการพัฒนาของรัฐที่ไม่ปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเป็นสาเหตุหนึ่ง ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน จากจำนวนโครงการที่ต้องผ่านมติคณะรัฐมนตรี จำนวน 20 โครงการ มีมติคณะรัฐมนตรีที่ไม่ปฏิบัติตามมาตรการการใช้ประโยชน์ที่ดิน จำนวน 7 โครงการ ได้แก่ โครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำ โครงการนำพื้นที่นอกเขตป่าสงวนแห่งชาติเพื่อเป็นที่ทำกินราษฎร โครงการก่อสร้างทางหลวง โอนพื้นที่ให้วัด และโครงการเหมือง ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินและส่งผลต่อการทำหน้าที่ของพื้นที่ลุ่มน้ำ

References

Lu Zhang, Lei Cheng, Francis Chiew, Bojie FU. (2018). Understanding the impacts of climate and landuse change on water yield. Current Opinion in Environmental Sustainability, 33, 167– 174
Office of Natural Resources and Environmental Policy and Planning. (2013). The Project Increase Performance Management
of Area Watershed 1 (Watershed west and central). Bangkok: Mr. Copy (Thailand) Co., Ltd.
Office of Natural Resources and Environmental Policy and Planning. (2015). Cabinet Resolution Regarding Watershed Class Designation and Land Use in The Watershed Area. Bangkok: B.V. Offset Ltd.,Part.
Parvaiz A. Bhat , Mifta ul Shafiq , Abaas A. Mir , Pervez Ahmed. (2017). Urban sprawl and its impact on landuse/land cover dynamics of Dehradun City, India. International Journal of Sustainable Built Environment, 6, 513–521
Phetchaburi Agricultural Extension Office, Department of Agricultural Extension, Ministry of Agriculture and
Cooperatives. District Level Agricultural Information (District / Village Information). October 18, 2018 , from https://www.phetchaburi.doae.go.th/Data_For_Web/data.html
Pobporn Ratanasuwan. (2013). Study Land use Change on The Phetchaburi basin. Bangkok: Watershed Conservation and Managemrnt office, Department of National Parks, Wildlife and Plant Conservation.
Sananda Kundu, Deepak Khare, Arun Mondal. (2017). Past, present and future land use changes and their impact on water balance. Journal of Environmental Management, 197, 582-596
Srilert Chotpantarat. (2002). The effect of land use change on floods in Phetchaburi river basin. Bangkok: Chulalongkorn
University.
The Bureau of Registration Administration, Department of Provincial Administration. Population and House Statistics
Report. August 1, 2018, Registration statistics system from https://stat.bora.dopa.go.th/ stat/statnew/statTDD/
The Secretariat of The Cabinet. Search for Cabinet Resolution Data (1958 - present). March 5, 2018 , The Secretariat of
The Cabinet from https://www.cabinet.soc.go.th/soc/Program2-1.jsp?menu=1

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-23

How to Cite

วิรุฬห์ สัมลีราช W. S., กิตติชัย ดวงมาลย์ K. D., & เกษม จันทร์แก้ว K. C. (2019). โครงการพัฒนาของรัฐที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง การใช้ประโยชน์ที่ดิน ที่ไม่เป็นไปตามการกำหนด ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ กรณีศึกษาพื้นที่ลุ่มน้ำเพชรบุรี GOVERNMENT PROJECTS CAUSING LAND USE CHANGES IRRELEVANT TO WATERSHED CLASSIFICATION: PETCHBURI WATERSHED CASE STUDY. วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม, 15(2), 62–77. https://doi.org/10.14456/jem.2019.12

ฉบับ

บท

บทความวิจัย Research